รีวิว American Vandal Season 2 - สารคดีอาชญากรรม
ใครที่คุ้นเคยกับ American Vandal ก็คงไม่แปลกใจกับพล็อตประหลาด ๆ แบบนี้ เพราะในซีซั่นแรกก็เล่นเรื่อง 'ใครวาดรูปจู๋' มาก่อน ครั้งนี้ซีรีส์ mockumentary อันเลื่องชื่อของเน็ตฟลิกซ์ได้กลับมาอีกครั้งพร้อมคดีใหม่ที่ยิ่งใหญ่และเหม็นโฉ่กว่าเดิม รีวิว American Vandal Season 2
เรื่องย่อ
หลังจากเนื้อเรื่องในภาคที่แล้วPeterและZamก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีหลังจากseasonแรก ทั้งสองจึงตัดสินใจทำอีกseasonเป็นโปรเจคจบของพวกเขา โดยพวกเขาได้เลือกเอาเหตุการณ์ของโรงเรียนเซนต์เบอร์นาดีนมาสืบสวนและทำสารคดี ซึ่งมีบุคคลนิรนามที่ใช้นามแฝงว่าTurd Burglarปนเปื้อนน้ำมะนาวซึ่งเป็นเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนด้วยยาถ่าย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่นักเรียนต่างให้ชื่อว่า "วันขี้แตก"
ใครที่คุ้นเคยกับ American Vandal ก็คงไม่แปลกใจกับพล็อตประหลาด ๆ แบบนี้ เพราะในซีซั่นแรกก็เล่นเรื่อง 'ใครวาดรูปจู๋' มาก่อน ครั้งนี้ซีรีส์ mockumentary อันเลื่องชื่อของเน็ตฟลิกซ์ได้กลับมาอีกครั้งพร้อมคดีใหม่ที่ยิ่งใหญ่และเหม็นโฉ่กว่าเดิม
American Vandal ใช้วิธีนำเสนอแบบ Mockumentary หรือสารคดีปลอม (สารคดีที่เป็นการจัดฉากขึ้นมา) โดยรูปแบบการนำเสนอในเรื่องดู ๆ ไปคล้ายจะกำลังล้อเลียนกับรูปแบบ Documentary แบบ True-crime อยู่ ที่มีการเล่าเรื่องโดยการหยิบคดีที่เคยถูกพูดถึงกันเป็นวงกว้างในอดีตมาทำเป็นสารคดี
มีการสัมภาษณ์คนใกล้ชิดหรือผู้เกี่ยวข้องกับตัวอาชญากรพร้อมกับเล่าเรื่องราวความเป็นไปของเหตุการณ์ ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่องของสารคดีเรื่องนี้ก็ทำออกมาได้น่าเชื่อจริง ๆ ทั้งฟุตเทจของตัว Subject ในวัยเด็ก หรือวิดีโอประกอบเหตุการณ์ที่ถ่ายมาให้อารมณ์เหมือนถ่ายมาจากเหตุการณ์จริง เช่น ฟุตเทจจากมือถือ หรือกล้องวงจรปิด
ทั้ง 2 ซีซั่นนี้จะแยกจากกันเป็นคนละคดี โดยมี ปีเตอร์ และแซมเป็นผู้ถ่ายทำและคอยดำเนินเรื่อง ส่วนในด้านอารมณ์ของเรื่องก็เหมือนกับสารคดีอาชญากรรม มีการหาหลักฐาน หาแรงจูงใจ การสัมภาษณ์ การโยงเหตุการณ์ โดยทั้ง 2 ซีซั่นก็จะมีประเด็นที่เน้นแตกต่างกัน
เนื้อหาซีซั่นแรก
“ลองคิดดูว่า คนประเภทไหนจะไปพ่นสีรูปไอ้จู๋ใส่รถกลางลานจอดรถครู คนแบบนี้จะมีหน้าตาอย่างไร คบหากับคนแบบไหน นั่งอยู่มุมไหนของโรงอาหาร สอบได้เกรดเท่าไร” คือคำโปรยของสารคดีที่เล่าถึงคดีทำลายทรัพย์สินของ Hanover High School โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า รถของครูทั้งหมด 27 คันถูกพ่นสเปรย์สีแดงรูปจู๋ขนาดใหญ่
ซึ่งเหตุการณ์ดูหนังฟรีดังกล่าวไม่มีหลักฐานชี้ไปที่ใครเนื่องจากกล้องวงจรปิดซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่บันทึกแหตุการณ์ทั้งหมดไว้ถูกลบออก แต่ทางโรงเรียนก็ได้ไล่ ‘ดีแลน แม็กซ์เวลล์’ เด็กนักเรียนคนหนึ่งออกจากโรงเรียนเนื่องจากมีเด็กนักเรียนอีกคนที่อ้างว่าได้เห็นเหตุการณ์ ประกอบกับบุคลิกของดีแลนที่เป็นเด็กที่ชอบเล่นอะไรไร้สาระก่อกวนคนอื่น
และขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียนที่ชอบวาดรูปจู๋เป็นประจำอยู่แล้ว ทางโรงเรียนจึงได้ไล่เขาออกทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ไปกระตุ้นให้ ‘ปีเตอร์’ และ ‘แซม’ เกิดความต้องการที่จะหาความจริงของเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ผ่านการถ่ายทำสารคดี
เนื้อเรื่องซีซั่นสอง
หลังจากที่ตัวภาพยนตร์สารคดี American Vandal ถูกปล่อยออกไปสู่สายตาสาธารณะ ก็ทำให้เกิดเป็นกระแสและถูกพูดถึงมากมาย ปีเตอร์และแซมก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นผ่านการสัมภาษณ์ในรายการต่าง ๆ จนวันหนึ่งก็มีอีเมล์จากเด็กนักเรียนคนหนึ่งของโรงเรียนเอกชนชื่อดังอย่าง เซนต์เบอร์นาดีน
โดยมีใจความว่าโรงเรียนของเธอเกิดเหตุการณ์ที่ว่านักเรียนขี้แตกกันทั้งโรงเรียนพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะความบังเอิญแน่นอนเพราะหลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็มีบุคคลปริศนาที่อ้างตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนี้โดยใช้นามแฝงว่า ‘The Turd Burglar’
ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้ตามสืบหาต้นตอของเหตุการณ์ทั้งหมดและไปจบตรงที่โรงเรียนได้ไล่เด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถูกเชื่อว่าเป็นผู้ก่อเหตุในครั้งนี้ แต่ทั้งความจริง หลักฐานและแรงจูงใจไม่ได้ถูกบอกให้กระจ่าง ปีเตอร์และแซมจึงได้เริ่มถ่ายสารคดีหนังออนไลน์อีกครั้งเพื่อตามหาความจริงและเปิดโปงตัวตนของ The Turd Burglar
การดำเนินเรื่องในซีซั่นนี้
ในครั้งนี้ตัวซีรีส์จะพาเราไปสำรวจเหตุการณ์ต่าง ๆ เหมือนซีซั่นที่แล้ว ทั้งการสัมภาษณ์ การผูกโยงเรื่องราว หรือการหาแรงจูงใจ แต่ประเด็นหลัก ๆ ที่ซีซั่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงคือเรื่องของสังคมบนโลกออนไลน์ ทั้งการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (Cyber bullying) การสร้างตัวตน การหลอกลวงบนโลกออนไลน์ (Catfish) และการแบล็คเมล์ รวมไปถึงเรื่องการทำงานของกระบวนการยุติธรรม และธุรกิจการศึกษา
การตัดสินลงโทษเด็กนักเรียนโดยไม่มีหลักฐานของซีรีส์ซีซั่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจการศึกษาได้ดี ทั้งการมองนักเรียนเหมือนเป็นสินค้าชิ้นหนึ่งที่มีทั้งสิ้นค้าราคาถูกและราคาแพง แน่นอนว่านักเรียนที่มีความประหลาดหรือแปลกแยกมักเป็นเหมือนเนื้อร้ายที่โรงเรียนตัดทิ้งได้อย่างง่าย ๆ เหมือนกับเด็กนักเรียนที่เป็นแพะของเหตุการณ์นี้รวมกับกระบวนการยุติธรรมที่มีวิธีการจับคนร้ายที่ชวนให้ตั้งคำถามถึงความหมายของคำว่าความยุติธรรมกันใหม่เลยทีเดียว
การเล่าเรื่อง
เทคนิคการเล่าของ American Vandal ยังคงรูปแบบสารคดีเสียดสีโดยดำเนินเรื่องผ่าน 'ปีเตอร์' และ 'แซม' สองคู่หูที่จะพาเราไปค้นหาความจริงของคดีใหม่นี้ ซีซั่นนี้อาจตลกน้อยลงแต่ไม่ได้ทำให้น่าผิดหวังแม้แต่น้อย ด้วยความดาร์กที่มากขึ้นและส่วนผสมของเนื้อเรื่องที่เข้มข้นขึ้น ปริศนาการเชื่อมโยงผ่านตัวละครและการใช้โซเชียลมีเดียยังคงเป็นตัวช่วยในการดำเนินเรื่องได้ดี แม้จะเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นจากซีซั่นแรกเพราะคนดูรู้แนวกันไปบ้างแล้ว
ตัวละคร
ตัวละครซีซั่นนี้ก็มีดาวรุ่งน่าจับตามองไม่แพ้กัน แม้ดีแลนจะไม่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของซีซั่นนี้ แต่ตัวละครใหม่แต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น 'เควิน แมคเคลน' เด็กที่ชอบทำตัวประหลาด ๆ ในโรงเรียน หรือ 'เดอร์มาคัส ทิลแมน' นักกีฬาบาสเก็ตบอลดาวรุ่งล้วนสร้างสีสันและทำให้เรื่องราวน่าสนใจไปจนจบ
ตัวละครแต่ละตัวมีความสมจริงและเป็นตัวแทนของสังคมไฮสคูลได้ค่อนข้างตรง ดูแล้วจะรู้สึกคุ้นเคยกับแต่ละคนเพราะเมื่อมองย้อนกลับมายังโลกความจริง แต่ละโรงเรียนย่อมมีคนประเภทนั้นอยู่เสมอ นอกจากนั้นเรายังได้เห็นความลุ่มลึกของการสร้างตัวละครที่มีมิติและความเป็นคนสูง
ทำให้เข้าใจมุมมองและเรื่องราวที่แต่ละคนแบกรับเอาไว้ภายใต้หน้ากากที่สร้างมาเพื่อปกป้องตัวเอง American Vandal จึงเป็นซีรีส์ที่สะท้อนสังคมไฮสคูลที่สมจริงมากกว่าซีรีส์อื่นในแนวเดียวกันอีกหลายเรื่อง
สังคม High School
ตัวซีรีส์ยังคงเรื่องของสังคม High School เอาไว้อยู่ โดยเราจะเห็นเด็กนักเรียนหลายประเภททั้งนักกีฬา คนดัง เด็กบ้านรวย รวมไปถึงเด็กประหลาด ซึ่งก็เข้ากันได้ดีกับประเด็นเรื่องการสร้างตัวตนของเด็กนักเรียน เช่น การสร้างชีวิตที่ดูดีบนโลกออนไลน์ การทำตัวให้เป็นที่นิยมในหมู่นักเรียนด้วยกัน
หรือก็คือการทำตัวเพื่อให้รู้สึกว่าถูกยอมรับจากคนรอบข้าง ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นทั้งในโลกของความเป็นจริงและบนโลกออนไลน์จนชวนให้ตั้งคำถามว่าโลกไหนกันแน่ที่เราได้เป็นตัวของตัวเองจริง ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นโลกไหนเราก็นำเสนอแต่ในด้านที่ทำให้ตัวตนของเราออกมาดูดีและถูกยอมรับในสายตาคนอื่นเท่านั้น
ซึ่งโดยปกติแล้วเราอาจจะมองการกระทำแบบนี้ว่ามันเป็นการโกหกหรือเป็นเพียงการสร้างตัวตนหลอก ๆ แต่ตัวซีรีส์เองก็ไม่ได้ฟันธงว่าพฤติกรรมแบบนี้มันคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดีแต่มันเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ทำให้เราได้สำรวจและทดลองกับตัวเองว่าเรามีความสุขกับตัวเราในแบบไหนมากกว่า
โดยรวม
ปัจจุบันตัวซีรีส์ถูกตัดจบที่ซีซั่น 2 โดยแต่ละซีซั่นมีความยาวรวมซีซั่นละ 8 ตอน ตอนละประมาณ 30 นาที จากทั้งไอเดียและเรื่องราวของตัวซีรีส์ซึ่งมีความน่าสนใจจนทำให้รู้สึกเสียดายที่ตัวซีรีส์ไม่ได้ถูกทำต่อ แม้ความที่ตัวคดีในแต่ละซีซั่นอาจชวนให้เราคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ประหลาด ๆ หรือดูไม่มีสาระ แต่ก็ขอแนะนำให้ลองดูสักครั้งแล้วจะพบว่าตัวซีรีส์มีอะไรให้ชวนคิดตามอีกหลายอย่างและความประหลาด ๆ นี้เองที่จะชวนให้เราดูมันไปจนจบ
สรุป
ครั้งนี้ American Vandal สะท้อนเรื่องความรู้สึกแปลกแยก ความแตกต่างจากคนอื่น (alienation) บางคนที่ดูเหมือนเข้ากันได้กับทุกคน มีทุกอย่างที่คนอื่นหวังอยากมี ทว่าภายในกลับรู้สึกโดดเดี่ยว บางคนพยายามทำตัวโดดเด่นหรือทำให้ดูมีเอกลักษณ์เพื่อให้คนอื่นยอมรับ
แต่สุดท้ายก็ยังรู้สึกตัวคนเดียวอยู่ดี มันเป็นความรู้สึกที่ใคร ๆ ต่างมี ไม่เว้นแต่คนดูอย่างพวกเรา ซีรีส์นี้สะท้อนการค้นหาตัวเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างของเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งผ่านยุคของการใช้โซเชียลมีเดีย พวกเราทิ้งร่องรอยไว้ในโซเชียลมีเดียมากแค่ไหน เราแสดงตัวตนผ่านหน้าจอดิจิตอลอย่างไร
นำมาสู่บทสรุปที่ว่าเราทุกคนอยู่ในยุคที่สามารถมีชีวิตได้ 'สองชีวิต' และนั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมันคือส่วนหนึ่งของการเติบโตและการทำความรู้จักตัวเอง มันคือส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเป็นเราในวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น