รีวิว ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ - How To Ting
สำหรับแฟน ๆ ประจำของ GDH ที่คาดหวังหนังอารมณ์ฟีลกู๊ดจากค่ายนี้ หรือคนที่เคยประทับใจผลงานของเต๋อ นวพล จาก “ฟรีแลนซ์…ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” แล้วคาดหวังความฮาในระดับนั้น ก็ต้องเตือนกันก่อนเลยว่า ห้ามคาดหวังความฟีลกู๊ด หรือความฮาใด ๆ จากเรื่องนี้ ซึ่งถ้าใครได้ชมตัวอย่างหนังกันมาแล้ว ก็พอจะคาดเดาอารมณ์ของ “ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ” กันได้อยู่บ้างนะ ตลอดเวลา 1 ชั่วโมง 53 นาที ของหนัง แทบไม่มีเสียงหัวเราะให้ได้ยินเลย หรือถ้ามีสอง-สามมุก ก็เป็นหัวเราะแบบหึ ๆ เท่านั้น แต่ถ้าเทียบกับฉากที่ตัวละครน้ำตาไหลพราก นี่อัดแน่นกันมาหลายฉากเลย ดราม่า สาระ มาเต็ม รีวิว ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอเรื่องย่อ
จีน เป็นนักเรียนนอกจากสวีเดนที่กลับมาอยู่กับครอบครัว ที่มี “เจ” พี่ชาย และแม่ที่ยังอยู่บ้านเดิมที่เคยเป็นโรงเรียนสอนดนตรีและรับซ่อมเครื่องดนตรี ที่พ่อเป็นผู้ริเริ่มกิจการแล้วก็จากไปมีครอบครัวใหม่นานมากแล้ว จีนจึงตั้งใจจะรีโนเวตชั้นล่างของบ้านเป็นออฟฟิศ ซึ่งสเต็ปแรกก็คือการโละข้าวของต่าง ๆ ทิ้ง ข้าวของแต่ละอย่างที่จีนและเจ พบในกองของเก่าเก็บก็ล้วนแต่มีอดีต และหนึ่งในนั้นก็คือกล้องและฟิล์มของเอ็ม อดีตแฟนของจีน ที่เธอเลิกกับเขาตอนที่ไปเรียนต่อสวีเดน จีนตัดสินใจเอากล้องไปคืนแต่ที่จริงนั้นเธอต้องการไปขอโทษเอ็ม เพื่อลบล้างความรู้สึกผิดในใจที่เคยทิ้งเอ็มไปอย่างไม่มีเยื่อใย และนี่คือจุดเริ่มต้นที่จีนกลับไปมีบทบาทในความคิดตัดสินใจครั้งใหญ่ของเอ็มถ้ามองตามชื่อดูหนังฟรีและตัวอย่างหนังที่ปล่อยออกมา ก็จะสื่อให้เข้าใจว่านี่คือ “หนังรัก” ที่พูดถึงเยื่อใยต่อคนรักเก่า แต่เอาเข้าจริงแล้วเรื่องราวของเอ็มเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะ “ฮาวทูทิ้ง” ยังพูดถึงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจีนอีกมากผ่าน “ของเก่า” ที่ทำหน้าที่ตัวแทนเรื่องราวในอดีตมากมาย ทั้งเรื่องของพ่อที่ทิ้งไป ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเพื่อนอีกหลาย ๆ คน แต่ละเรื่องก็ทำหน้าที่ประหนึ่งจิ๊กซอว์ที่ต่อกันเป็นภาพที่เด่นชัดของจีน ให้เรารู้จักตัวตนของเธอมากขึ้น ซึ่งจีนเองก็ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นเช่นกัน จากคำตอบโต้ของเอ็มและเพื่อนหลาย ๆ คน ที่ตำหนิเธอกลับมา ทำให้ “จีน” เป็นนางเอกหนังที่มีความเป็นปุถุชนมากสุดคนหนึ่งบนจอหนังไทย ที่ไม่ได้มีความสมบูรณ์พร้อม มีจุดที่แข็งขณะเดียวกันก็มีจุดที่อ่อนไหวอีกมาก ที่ทำให้เธอไม่สามารถตัดขาดความทรงจำเก่า ๆ ไปได้อย่างที่ตัวเองพูด แล้วทำให้การจัดบ้านของเธอต้องพัวพันไปกับอีกหลาย ๆ ชีวิตถ้ามองว่า “ฟรีแลนซ์” เป็นหนังที่เต๋อ ปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าหาความเป็น GDH มากขึ้น แล้วก็ได้ผลตอบรับอย่างดี
พอมาถึง “ฮาวทูทิ้ง” เต๋อ ก็ขอหันกลับไปเป็นตัวเองมากขึ้น เอาใจตลาดน้อยลง รอบนี้ไม่มีมุกฮา ไม่มีฉากกุ๊กกิ๊กระหว่างคู่พระนางให้คอยจิ้นเอาใจช่วย แม้กระทั่งรอยยิ้มของตัวละครยังแทบไม่เห็นเลย ก็เชื่อว่า GDH ก็คงไม่คาดหวังรายได้ระดับร้อยล้านหรอกนะ เพราะการที่ GDH ปล่อยหนังสองเรื่องติดกันแบบนี้ ก็มองเกมการตลาดมาเรียบร้อยแล้วล่ะ ไปหวังกำไรเอาจาก “ตุ๊ดซี่ส์” ส่วน “ฮาวทูทิ้ง”
ก็ไปแนวหนังรางวัล ซึ่งตัวหนังเองใช้นักแสดงไม่กี่คน ส่วนใหญ่ก็เป็นนักแสดงโนเนม ก็ไม่น่าจะใช้ทุนสร้างมากมายนัก อย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนแน่นอนล่ะ
ซึ่งรอบนี้เต๋อก็ขอตามใจตัวเองอย่างเห็นได้ชัด ในทุกแง่มุมการนำเสนอ ทั้งการนำเสนอภาพในฟอร์แมต 2:3 ที่มีภาพกระจุกอยู่ตรงกลางจอ พื้นที่ซ้ายขวาของจอปล่อยดำมืดไปเลย สีสันทั้งเรื่องจืดซีด ไม่มีสีฉูดฉาด แดง เหลือง เขียวให้เห็น เน้นหนักแต่ขาว เทา ดำ โดยเฉพาะตัวจีนนั้นเธอจะใส่เสื้อขาวกางเกงดำตลอดทั้งเรื่อง เรียกได้ว่าเต๋อต้องการปูอารมณ์หม่นซึมให้คนดูตั้งแต่นาทีแรกของหนังเลย ดนตรีประกอบของหนังก็แทบไม่ได้ยิน
หลาย ๆ ฉากใช้เสียงเชลโลต่ำ ๆ “ตึ่ม ตึ่ม” เข้ามาประกอบฉากสนทนาแค่นั้น ทำให้ “ฮาวทูทิ้ง” เป็นหนังที่เดินหน้าไปแต่ละนาทีด้วยความรู้สึกที่ “หนัก” แล้วเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ บนประเด็นที่ค่อนข้างเบา เพราะว่าด้วยปฏิบัติการทิ้งของเก่าของจีน ซึ่งผ่านไปเกือบชั่วโมงกว่า “เอ็ม” จะโผล่เข้ามาในเรื่อง ก็เพิ่มประเด็นหนักหน่วงเข้ามาอีก เพราะจีนเข้าไปในฐานะคนเก่าของเอ็ม ในวันที่เอ็มใช้ชีวิตคู่กับมี่แล้ว
ด้วยความที่หนังเล่าเรื่องผ่าน “จีน” ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง แล้วแทรกประเด็นยิบย่อยรอบตัวจีนเข้ามา ทำให้หนังไม่สามารถลงลึกในแต่ละประเด็นได้ครบถ้วน บางประเด็นก็ถูกทิ้งค้างให้เป็นข้อสงสัย อย่างเรื่องการจากไปของพ่อ ความบาดหมางของจีนกับเพื่อนสาวที่เธอเอาดับเบิ้ลเบสไปคืน แต่เท่าที่เห็นนี่ก็นับว่าหนักพอดูแล้ว ที่เหลือก็เลยถูกทิ้งไว้เป็นที่ว่างในจินตนาการของคนดูให้เลือกเติมเต็มกันเอาเอง
คนที่ควรได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดใน “ฮาวทูทิ้ง” ก็คือ ออกแบบ ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง ในบท “จีน” ที่เห็นได้ชัดถึงการก้าวกระโดดของฝีมือการแสดง เป็นบทที่น่าเครียดมาก ไม่มีฉากไหนที่จะดูสบาย ๆ เลย เพราะเต๋อก็เลือกเล่นยาก เพราะหลาย ๆ ฉากเต๋อก็เลือกที่จะให้นักแสดงสื่ออารมณ์ความรู้สึกผ่านสายตาและสีหน้ามากกว่าคำพูด ฉากดราม่าเยอะมาก
มีทั้งที่ต้องระเบิดอารมณ์ใส่กัน และแบบที่ยืนจ้องหน้ากันเงียบ ๆ แต่ต้องสื่ออารมณ์ให้ถึงคนดูให้ได้ ซึ่งออกแบบก็เอาอยู่ในทุกฉาก แล้วเล่นแบบไม่ห่วงสวยเลย ซันนี่ ในบท”เอ็ม” ออกมาไม่กี่นาทีเลย มาในมาดขรึม ๆ พูดน้อย แต่รู้สึกขัดตากับเคราของเอ็มมาก ดูหรอมแหรมไงไม่รู้
ชอบการแคสติ้งที่ใส่ใจในการเลือกคนมาเล่นเป็นพ่อแม่พี่น้องที่ดูมีความละม้ายเป็นไปได้ กับการเลือก อาภาศิริ นิติพน มาเป็นแม่ของจีน และ ถิรวัฒน์ โงสว่าง รับบท เจย์ มาเป็นพี่ชายของจีน ทั้งสามคนมีโครงหน้าเหลี่ยม กรามชัดเจนมาก ดูแล้วเชื่อว่าเนี่ย
“แม่ลูก” กัน อาภาศิริ โผล่มาแค่สองฉาก แต่ทั้งสองฉากที่เธอโผล่มานี่ จัดหนัก จัดเต็ม ได้อย่างน่าชื่นชม โชว์ศักดิ์ศรีนักแสดงรุ่นเก่า แม้หนังจะไม่มีฉากกิมมิคอย่าง “ไปค่ะ พี่สุชาติ” ให้ถูกพูดถึงอย่าง “ฟรีแลนซ์” แต่ฉากโชว์ฝีมือของอาภาศิริก็สมควรได้รับการจดจำจากเรื่องนี้
ถิรวัฒน์ โงสว่าง และ ษริกา สารทศิลป์ศุภา ในบท “มี่” สองรายนี้ผมไม่คุ้นหน้ามาก่อน แต่ก็อยากชื่นชมว่าแสดงได้ดีมากดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็ต้องย้อนไปชื่นชมที่ตัวผู้กำกับ “เต๋อ” ที่รักษาลายเซ็นตรงนี้ไว้ได้ชัดเจน ผมมักจะทึ่งกับการถ่ายทอดการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติจากบรรดานักแสดงในหนังของเต๋อ บทสนทนา การแสดงออก ที่ไร้ซึ่งการประดิดประดอย ให้ความรู้สึกเหมือนได้ดูสารคดีชีวิตคนจริง ๆ ไม่เหมือนว่ากำลังดูหนังที่สื่อผ่านการแสดงอยู่เลย หนังออนไลน์อีกเรื่องที่อยากพูดถึง คือการรีโนเวตบ้านที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราว ไม่ใช่แค่หยิบเรื่องการทิ้งของเก่า แล้ว Move On มาเป็นประเด็นตั้งต้นเฉย ๆ แต่รีโนเวตให้ดูจริง จากบ้านเก่า ๆ โทรม ๆ ทำออกมาแล้วสวย โล่ง สว่าง น่าอยู่จริง
ความรู้สึก
สุดท้ายก็อยากจะชมเต๋ออีกในเรื่องการหยิบแง่มุมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตมาขยายความได้น่าสนใจ อย่างเรื่องนี้ก็คือ “ของเก่า” ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวมนุษย์เราทุกคน ที่หลายคนมักจะผูกพันแล้วเก็บรักษามันไว้ จะด้วยเหตุผลมากมายทั้งความเสียดาย เป็นตัวแทนความทรงจำดี ๆ แค่จุดเล็ก ๆ เนี่ย เต๋อสามารถหยิบแง่มุมต่าง ๆ ของ “ของเก่า” มาขยายได้มากมาย มันอาจจะเป็นของไร้ค่าสำหรับบางคน แต่ขณะเดียวกันกลับเป็นของมีค่าที่ประเมินค่าไม่ได้กับอีกคนหรือมองในอีกมุมที่จีนตีความว่าของเก่าเปรียบเสมือนโซ่ตรวนที่เหนี่ยวรั้งชีวิต ถ้าปล่อยวางตัดทิ้งได้ ชีวิตก็จะ “Move On” ไปข้างหน้าได้ เช่นเดียวกับที่เธอทำกับเอ็ม ซึ่งการตัดทิ้ง หรือปล่อยวาง บางครั้งก็มีเส้นบาง ๆ คั่นไว้กับ “ความเห็นแก่ตัว” อย่างที่เพื่อน ๆ และเอ็มต่างก็ใช้คำนี้มาตำหนิจีน
อีกจุดที่ชอบคือการตีความ “คำขอโทษ” ที่เต๋อนิยามมันผ่านมุมมองที่แตกต่างไว้ในเรื่องนี้ ว่าบางครั้งการกล่าวคำขอโทษ ไม่ใช่เพื่อให้คนฟังรู้สึกดีแล้วยกโทษให้ แต่บางครั้งคำขอโทษก็ถูกใช้เพื่อประโยชน์ของผู้กล่าว ที่อยากจะใช้ “คำขอโทษ” เพื่อปลดปล่อยความรู้สึกผิดของตัวเองซะ แล้วก้าวต่อไป เปรียบเหมือนกับการโยนความรู้สึก ความทรงจำ กลับไปที่คู่กรณีให้แบกรับมันเพียงลำพังต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น