รีวิว On the Basis of Sex - สตรีพลิกโลก
เป็นหนังที่มีส่วนผสมหลากหลายแนวรวมอยู่ในเรื่องนี้ เป็นทั้งหนังชีวประวัติบุคคลสำคัญของสหรัฐ , หนังคอร์ตรูมดราม่า , หนังให้กำลังใจคนสู้ชีวิต และ หนังเฟมินิสต์ หรือหนังแนวคิดสตรีนิยม ที่ว่าด้วยวีรกรรมของรูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก หญิงแกร่งสู้ชีวิตในยุค 50s ที่เอาชนะศาลสูงสหรัฐจนสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญกว่า 100 ปี ให้ปรับเปลี่ยนเพื่อความเสมอภาคแก่สิทธิสตรี และปัจจุบันเธอยังคงมีชีวิตอยู่กับวัย 85 ปี และตำแหน่งสุดท้ายของเธอคือ หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาประจำศาลสูงของสหรัฐ รีวิว On the Basis of Sex - สตรีพลิกโลกเนื้อเรื่อง
ด้วยเรื่องราวที่ว่าด้วยหญิงแกร่ง หนังก็ยังเพียบพร้อมไปด้วยทีมงานหญิงแกร่งทั้งหน้ากล้องและหลังกล้อง เบื้องหน้าคือ เฟลิซิตี้ โจนส์ ดาราสาวฝีมือดีที่มีงานให้เราเห็นกันมาหลายเรื่องแล้วอย่าง Rogue One , Inferno และ A Monster Call และเธอยังเคยเข้าชิงออสการ์มาแล้วจาก The Theory of Everything ในเรื่องนี้เธอเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หลังจากที่นาตาลี พอร์ตแมน บอกผ่านไปเพราะหนังชะงักอยู่ในช่วงเตรียมการสร้างอยู่นานแล้วยังได้ มิมี ลีเดอร์ ผู้กำกับหญิงมากประสบการณ์ที่ห่างหายจากวงการไปนาน แต่หลายคนก็น่าจะจำ The Peacemaker และ Deep Impact ผลงานโดดเด่นในอดีตของเธอได้ และอีกหนึ่งเบื้องหลังคนสำคัญแต่ไม่ได้เป็นผู้หญิงก็คือ แดเนียล สตีเปิลแมน
ผู้เขียนบทภาพยนตร์ เหตุเพราะเขาเป็นหลานชายแท้ ๆ ของรูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าเรื่องราวไม่น่าจะผิดเพี้ยนไปจากความจริงมากนัก นอกเหนือจากดูหนังสดการถ่ายทอดเรื่องราว แดเนียล ก็มีทีเด็ดซุกซ่อนไว้ในบทสนทนา ที่ออกจากปากของรูธแล้วสร้างเสียงหัวเราะได้บนถ้อยคำจิกกัดประชดประชัน
หนังย้อนไปเล่าเรื่องราวในยุค 50s ในวันที่เธอเพิ่งสอบเข้าเรียนกฏหมายที่ฮาร์วาร์ดได้สำเร็จ ซึ่งอยู่ในช่วงที่เพิ่งเปิดรับนักศึกษาหญิง แต่ก็โดนสบประมาทตั้งแต่แรกเข้าเรียน ด้วยเหตุที่เธอเข้าเรียนตาม มาร์ติน สามีของเธอซึ่งเรียนอยู่ปี 2 แต่รูธ ก็แสดงให้เห็นว่าเธอทำหน้าที่ได้เปอร์เฟ็คทั้งการเป็นภรรยา แม่ และนักเรียนที่ขยันตั้งใจ รูธ สามารถทำคะแนนได้เป็นที่หนึ่งของชั้น
ก่อนจะย้ายไปเรียนจนจบที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย หนังปูความให้เห็นความกดดันของรูธ ที่ต้องเติบโตมาท่ามกลางสังคมยุคที่สตรีแทบไม่มีบทบาทในสังคม ยังไม่มีสิทธิ์แม้จะออกเสียงเลือกตั้ง ที่มีฐานันดรเหนือกว่าชนผิวสีมาหน่อยเดียวแค่นั้น แม้ว่าเธอจะเรียนจบด้วยคะแนนสูงสุด
รูธใฝ่ฝันอยากเป็นทนาย เธอเดินสมัครงาน 10 กว่าที่แต่ก็ไม่มีสำนักงานกฏหมายสักแห่งยอมรับเธอเข้าทำงาน สุดท้ายรูธก็ลงเอยด้วยการเป็นอาจารย์ ที่ต้องกล้ำกลืนสอนลูกศิษย์ด้วยการยกอ้างคดีสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่สตรีต้องถูกตัดสินให้แพ้คดีมากมาย เพราะกฏหมายขีดเส้นข้อจำกัดให้สตรีไว้ 100 กว่าตัวบทกฏหมาย และเมื่อมาร์ติน สามีของเธอได้รับว่าความให้คดีหนึ่งที่ผู้ฟ้องร้องเป็นชาย
แต่ถูกตัวบทกฏหมายขีดข้อจำกัดไว้เช่นกัน รูธ มองเห็นว่านี่คือโอกาสทองของเธอ ที่จะใช้คดีเป็นใบเบิกทางให้บรรดาผู้พิพากษาได้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในกฏหมายของอเมริกาที่สืบทอดมากว่า 100 ปีและถึงเวลาที่สมควรจะต้องปรับเปลี่ยนเสียที จากนาทีที่รูธลุกขึ้นมาขอทำคดี ก็ทำให้ดีกรีของหนังเร่งร้อนขึ้นอย่างรู้สึกได้ชัด
ด้วยความที่หน้าหนังเป็นทั้งหนังย้อนยุคไปถึง 60 ปีที่แล้ว และยังเป็นหนังที่ว่าด้วยวงการกฏหมาย มีทั้งอัยการ ทนาย และบรรยากาศในศาล จึงไม่ใช่หนังที่เรียกความสนใจจากผู้ชมในวงกว้างได้มากนัก แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบหนังแนวคนตัวเล็กล้มยักษ์ด้วยข้อกฏหมายอย่าง A Civil Action (1998), Erin Brockovich (2000), Spotlight (2015) ก็น่าจะสนุกไปกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน หนังเล่าเรื่องให้ดูง่ายกว่า Spotlight
แต่ก็ไม่ถึงกับเอาใจตลาดแบบ Erin Brockovich เหตุเพราะเป็นหนังในแวดวงกฏหมายอย่างลึกซึ้งจริงจัง จึงทำให้หนังอัดแน่นไปด้วยบทสนทนา เรียกได้ว่าแทบไม่มีสักนาทีที่ซับไตเติ้ลจะห่างหายไปจากจอหนัง เป็น 2 ชั่วโมงที่ต้องอ่านซับไตเติ้ลหนักมาก และทุกถ้อยคำก็เต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะทางกฏหมายยาก ๆ และหลาย ๆ ฉากที่บทสนทนาจะอ้างอิงคดีนั้น คดีนี้ มีชื่อบุคคลจากคดีต่าง ๆ ซึ่งว่าตามตรงก็ตามเนื้อหาไม่ทันได้ครบถ้วนหรอก แต่กระนั้นประเด็นของคดีหลักที่รูธหมายมั่นปั้นมือจะต่อกรกับศาลสูง ก็ยังน่าติดตาม เว็บสตรีมหนังและจับความสนใจคนดูไว้ได้ตลอดรอดฝั่ง
หนังปูให้เราเห็นถึงความยากลำบากของรูธ ที่จะดันคดีนี้ให้ไปถึงศาลสูง ทั้งการฝึกซ้อม ศึกษาคดีในอดีต หาแนวร่วม และเมื่อหนังเปิดเผยว่าคู่ต่อสู้ของเธอในคดีนี้ล้วนเป็นอดีตอาจารย์จากฮาร์วาร์ดของเธอ ยิ่งทำให้เห็นว่านี่เป็นคู่มวยที่ต่างชั้นกันเหลือเกิน แล้วหนังก็ขับเคี่ยวอารมณ์จนพาเรามาถึง 15 นาทีสุดท้าย ที่ทำได้ตึงเครียด กดดัน
แต่ก็ชวนลุ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่าสุดท้ายจะลงเอยอย่างไร เน้นย้ำว่ายกสุดท้ายที่เธอได้แถลงกับศาลสูงนั้น คม เฉียบ ลึกซึ้ง และได้ใจความ เห็นพ้องจริงที่ทำให้ศาลหยุดและตั้งใจฟัง ส่วนนี้ต้องชื่นชมกับคุณ เจไดยุทธ ที่แปลซับไตเติ้ลจากกฏหมายยาก ๆ ออกมาได้ความหมายภาษาไทย เชื่อว่าทำการบ้านมาพอสมควรล่ะ
และตัวหลักที่จับให้คนดูจดจ่ออยู่กับหนังได้ก็คือการแสดงของเฟลิซิตี้ โจนส์ ที่ถ่ายทอดความรู้สึกมากมายที่เธอเก็บไว้มาถึงผู้ชมได้ครบถ้วน และเห็นได้ชัดถึงความเป็นนักสู้ผ่านสายตาของเธอในหลาย ๆ ตอน และการที่เธอต้องประกบกับ อาร์มี่ แฮมเมอร์ ผู้มารับบทมาร์ติน สามีของเธอนั้น ยิ่งทำให้เฟลิซิตี้ ที่สูง 1.60 เมตร ก็เป็นมาตรฐานปกติของผู้หญิง
แต่อาร์มี่ แฮมเมอร์ นั้นเป็นนักแสดงชายตัวโคตรสูง 1.96 เมตร ก็เลยทำให้ภาพลักษณ์”รูธ”ของเธอนั้นเป็นสาวน้อยตัวเล็ก ดูช่างอ่อนแอบอบบางมากขึ้นไปอีก แต่ขณะเดียวกันเธอก็ทำให้เราเชื่อได้ว่าหญิงตัวเล็กคนนี้เป็นนักสู้ มีความภูมิฐาน และมีสติปัญญาที่จะต่อกรกับศาลสูงได้แม้จะเป็นมือใหม่ ที่ผู้คนรอบข้างต่างชี้ชัดว่าเธอไม่มีทางเอาชนะได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น