รีวิว Captive State - สงครามปฏิวัติทวงโลก
ต้องบอกก่อนว่า Captive State ไม่ใช่หนังเอเลี่ยนถล่มโลก ตู้มต้าม อย่าง ID4 หรือ War of the World ที่จะมีฉากหนีตายการไล่ล่าเอเลี่ยน หรือการถล่มอะไรต่างๆ แต่ในเรื่องนี้มันเกิดหลังจากเหตุการณ์ที่เอเลี่ยนบุกและยึดโลกไปแล้ว ครอบครองโลกมาเป็นเวลานานและไม่มีทีท่าว่าจะยอมลงจากอำนาจนี้แต่อย่างใด (คุ้นๆ ไหม?) จึงทำให้มีกลุ่มคณะปฏิวัติ Phoenix พยายามต่อต้าน และทำลายอำนาจทวงคืนเสรีภาพจากเหล่าเอเลี่ยนนั้นซะ รีวิว Captive State**หนังเรื่องนี้นั้นจะมาในแนวไซไฟ การเมืองเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ จากมันสมองของ ผู้กำกับที่เคยปลุกตำนาน พิภพวานร มาแล้วเมื่อปี 2011 ซึ่งเขาได้มาสร้างหนังเรื่องนี้ และน่าจะเป็นหลักฐานถึงความน่าสนใจ ของเรื่องของการเมืองได้เป็นอย่างดี แต่เอาเข้าจริงแล้วกะคิดเหตุการณ์ ของเรื่องมาเป็นเอเลี่ยนยึดและปกครองโลก ก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่เลยทีเดียว มันเคยบอกเล่าผ่านหนังดังต่างๆ มากมายมาแล้วนั่นเอง
เรื่องย่อ
หลังเอเลี่ยนในนามคณะปกครองโลกได้เถลิงอำนาจและถลุงทรัพยากรจนเกือบเกลี้ยง ได้ก่อให้เกิดกลุ่มปฏิวัตินาม ฟีนิกซ์ นำโดย ราฟ (โจนาธาน เมเยอร์ส) แต่หลังเหตุจลาจลที่วิคเกอร์พาร์ค ชื่อของราฟก็กลายเป็นเพียงตำนาน มีเพียง วิลเลียม มัลลิแกน (จอห์น กู๊ดแมน) ตำรวจสันติบาลชิคาโกเท่านั้นที่ตามแกะรอยหวังโค่นกลุ่มฟีนิกซ์ที่กำลังวางแผนวินาศกรรมครั้งใหญ่ โดยกุญแจสำคัญอยู่ที่ เก๊บ (แอชตัน แซนเดอร์ส) น้องชายของราฟที่หวังจะหนีออกจากเมืองอันสิ้นหวังโดยไม่รู้เลยว่า เขาอาจเป็นกลไกสำคัญในการทวงเสรีภาพจากเผด็จการต่างดาวCaptive State มาในแนวทางหนังไซไฟการเมือง จากมันสมองของ รูเพิร์ต ไวแอต ผู้กำกับที่เคยปลุกตำนานพิภพวานรอีกครั้งจาก Rise of the planet of the apes เมื่อปี 2011 ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานถึงความสนใจในเรื่องการเมืองได้เป็นอย่างดี แต่เอาเข้าจริงแล้วการคิดเหตุการณ์แบ็คกราวด์ของเรื่อง
เป็นเอเลี่ยนยึดและปกครองโลกก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่เสียทีเดียว มันเคยถูกบอกเล่าจนเฝือทั้งในหนังดังอย่าง District 9 (2009) หรือ ซีรีส์ดังทั้ง V (2009-2011) หรือ Colony (2016-2018) กระนั้นการที่ Captive State เลือกเล่าเรื่องราวโดยมีศูนย์กลางเป็นครอบครัวนักปฏิวัติ
ที่มีแนวคิดขัดแย้งกัน คนนึงคิดสู้จนตัวตาย อีกคนกลับอยากหนีไปให้ไกล ก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์เฉพาะตัวให้หนังได้อย่างประหลาด แต่การที่หนังไม่ได้มีฉากแอ็คชั่นไซไฟบึ้มบั้มและไปเน้นบรรยากาศวิพากษ์การเมืองแบบเผด็จการเข้มๆเครียดๆก็อาจเข้าข่ายหนังที่ไม่รักก็เกลียดเลยไปโดยปริยาย
กระนั้นต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าบทหนังเองมีช่องโหว่ในหลายด้านทีเดียว ทั้งปมประเด็นการเมืองที่หนังเองก็ปูไม่แน่นทั้งอุดมการณ์ที่ตัวละครยึดถือ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่หนังเลือกข้ามไปจนคนดูไม่ได้อินกับเบื้องหลังการปฏิวัติของราฟ หรือปมพี่น้องระหว่างเขากับเก๊บเท่าที่ควร
แม้แต่ตัวละครตำรวจอย่าง วิลเลียม มัลลิแกน ที่ทั้งเรื่องเราแทบไม่เข้าใจเลยว่าทำไมต้องมุ่งมั่นกับการตามทะลายแก๊งฟีนิกซ์โดยที่ไม่ได้ปูสายสัมพันธ์หรือความศรัทธาของวิลเลียมที่มีต่อคณะปกครองจากต่างดาวชัดเจนนัก (ก่อนที่จุดหักมุมจะมาอธิบายในส่วนนี้แต่ก็ยังไม่สมเหตุสมผลเพียงพอนัก) ซึ่งหากมองในเชิงตรรกะของเรื่องก็สังเกตความพังได้ไม่ยาก แต่อะไรล่ะที่จะทำให้คนดูอินได้
ประการแรกเลยคงหนีไม่พ้นการเล่าเรื่องเปรียบเปรย (Allegory) เรื่องแต่งมาวิพากษ์สังคมการเมืองของหนังเนี่ยแหละที่น่าจะโดนใจคนไทยมิใช่น้อย หลายช่วงตอนของหนังดูไปสะอึกไปแบบไม่ต้ั้งใจทั้งบทบรรยายที่ผู้นำฝ่ายมนุษย์พูดถึงคณะปกครองว่าทำให้สังคมที่เคยแตกแยกกลับมารวมตัวกันได้
หรือนัยหนึ่งก็คือการบังคับให้คนยอมรับในอำนาจเบ็ดเสร็จนั่นเอง หรือแม้แต่โปรโมช้ั่น “คืนความสุข” ต่างๆนานาทั้งเศรษฐกิจ ตัวเลขคนว่างงานที่ลดลง ก็ทำให้เราได้ระลึกถึงความดีงามที่เรามักได้ยินกันทุกวันศุกร์มิใช่น้อยเลยแหละ และยิ่งหนังมาฉายก่อนวันเลือกตั้งแบบหายใจรดต้นคอนี่ก็ยิ่งท้าทายสมองให้เราได้คิดตีความไปจนถึงหวาดหวั่นกับผลลัพธ์ที่ภาวนาขออย่าให้เหล่าเอเลี่ยนกลับมา ‘คืนความสุข’ กันอีกเลย
ประการต่อมาการได้เห็นทางเลือกอันแตกต่างระหว่าง ราฟ และ เก๊บ นี่แหละที่สะท้อนทางเลือกของประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการได้อย่างชัดเจน แม้เราอยากจะสุดขั้วแบบราฟถึงขั้นวางแผนวินาศกรรมเพื่อปลดแอกประชาชนสู่เสรีภาพ แต่ความจริงแล้วเรากลับเลือกที่จะปฏิบัติตนแบบ เก๊บ ก้มหน้าทำงานและพอเหตุการณ์จะรุนแรงคงไม่มีทางเลือกใดดีกว่าการหนี ให้ตัวเองปลอดภัยอีกแล้ว
ซึ่งการที่หนังทำให้เห็นมุมมองสองด้านของประชาชนที่มีต่อการกดขี่ของอำนาจเผด็จการก็ทำให้เราย้อนกลับไปสัมผัสกับความจริงอันแสนขมขื่นตลอด 5 ปีได้ชัดเจนขึ้น จนอยากรณรงค์ให้คนไปดูหนังเรื่องนี้ในวันแรกๆที่มันเข้าฉายก่อนไปเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคมนี้เป็นอย่างยิ่งเลยทีเดีย
วิจาร์ณ
เรื่องของเอเลี่ยนบุกโลกอาจจะไม่แปลกใหม่ แต่มันแปลกใหม่ตรงที่เหตุการณ์หลังจากนั้นแหละ นี่คือหนังขายไอเดียล้วนๆ ถ้าใครคาดหวังจะมาเจอเอเลี่ยนยิงกันตู้มต้ามแบบหนังเอเลี่ยนอื่นๆ คงจะผิดหวังกันสักหน่อย เรื่องนี้เอเลี่ยนโผล่มาไม่กี่ฉากเท่านั้น (น้อยแบบนับฉากได้) และไม่มีฉากถล่มโลกแน่นอน เพราะหนังเรื่องนี้จะโฟกัสที่เหล่ากลุ่มปฏิวัติ ที่ฉาบไปด้วยการเมืองล้วนๆเนื้อเรื่อง
หนังจะเล่าเรื่อง โดยมีศูนย์กลางเป็นการครอบครัว ของนักปฏิวัติที่มีแนวคิดขัดแย้ง คนหนึ่งที่คิดจะสู้จนตัวตาย อีกคนกลับอยากหนีไปให้ไกล ก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์เฉพาะตัวในหนังได้ อย่างประหลาดใจเลยก็ว่าได้ แต่การที่หนังไม่มีฉากแอ็คชั่นไซไฟ แบบระเบิดภูเขา เผากระท่อม แต่เน้นไปบรรยากาศของวิพากษ์วิจารณ์ ทางการเมือง แบบเผด็จการเข้มเข้มๆ คิดๆ ก็อาจจะเข้าข่ายหนังที่ไม่รักก็เกลียดไปเลยได้โดยปริยายนั่นเองหนังดำเนินเรื่องแบบน้ำซะส่วนใหญ่ มีเนื้อนิดเดียว แถมยังปูประเด็นไว้มากมายที่เต็มไปด้วยช่องโหว่ และคำถามเกือบตลอดทั้งเรื่อง เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์อดีตในหนังที่ถูกพูดถึง มันช่างดูยิ่งใหญ่แต่หนังกลับไม่ได้ให้ความสำคัญหรือเน้นให้คนดูเข้าใจในจุดนั้นเลย แถมตัวละครแต่ละตัวก็เป็นใครก็ไม่รู้ โผล่ๆ มาๆ ไปๆ เป็นใครมาจากไหนก็ไม่ได้ถูกพูดถึง โดยเฉพาะตัวเอกที่ปูมาแบบอ่อนๆ ทำให้คนดูผูกพันธ์ แตะต้องตัวละครไหนไม่ได้เลย มันจึงทำให้ทั้งเรื่องมันกลายเป็นน่าเบื่อและไม่น่าเอาใจช่วยตัวละครไหนเลย
บทหนังที่มีความช่องโหว่ อยู่หลายด้านเลยทีเดียว ทั้งปมของประเด็นเรื่องการเมือง เองก็ปูได้ไม่แน่นพอ ทางอุดมการณ์และตัวละคร ที่ยึดถือกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ดูหนังเรื่องข้ามไปจนคนดูไม่อินกับเบื้องหลังของการปฏิวัติของตัวเอง หรือปมพี่น้องระหว่างกับ กับสิ่งที่ควร
แม้แต่ตัวละครตำรวจที่ทั้งเรื่องเราแทบไม่เข้าใจเลยว่า เขากำลังทำอะไรหรือทำไมต้องมุ่งมั่นกับการทลายแก๊ง โดยที่ไม่ได้ปูสายสัมพันธ์หรือความศรัทธาของตำรวจ ที่มีต่อคณะการปกครองจากต่างดาว อย่างชัดเจนเท่าไหร่อีกด้วย ซึ่งหากมองในเชิงตรรกะแล้วนั้น เรื่องนี้ไม่ค่อยจะสมเหตุผลแต่ถ้าดูเอาสนุก และโปรแกรมหนังรับประกันเลยว่าสนุกสนานอย่างแน่นอน
แต่มีเพียงตัวละครเดียวเท่านั้นในเรื่องที่น่าสนใจคือตัวละครอย่าง William Mulligan สายสืบจอมโหดที่รับบทโดย John Goodman ที่พอช่วยพยุงให้หนังดูน่าสนใจได้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ยังเป็นจุดบกพร่องถึงเจตนาและแรงจูงใจของตัวละครตัวนี้อยู่ดี
แต่อีกประเด็นนึงที่มันช่างเหมาะเจาะกับบ้านเมืองเราในช่วงนี้เสียเหลือเกิน และมันดั๊นบังเอิ๊ญบังเอิญ เหตุการณ์ในหนังมันการเมืองเต็มๆ แถมยังเข้าฉายก่อนการเลือกตั้งอีก มันเลยทำให้หนังเรื่องนี้ช่างเหมาะเจาะเสียยิ่งกระไร และน่าจะทำให้คนดูบางกลุ่มอินได้ไม่ยาก
หนังสะท้อนการเมืองออกมาแบบไม่แอบแฝงใดๆ บอกให้เห็นถึงทั้งฝ่ายปกครองและประชาชนอย่างชัดเจน ทั้งฝ่ายที่ยอมรับ ฝ่ายที่ไม่ยอมรับแต่ก็ยังนิ่งเฉย และฝ่ายที่ไม่ยอมรับโดยเลือกจะปฏิวัติอะไรบางอย่าง แต่ถึงมันจะมีประเด็นการเมืองเข้ามาเยอะแยะมากมายเพียงไหน แต่มันก็ยังไม่เข้มข้นพอที่จะทำให้หนังเรื่องนี้สนุกได้อยู่ดี
แม้จะน่าเสียดายที่เหล่านักแสดงนำทั้ง โจนาธาน เมเยอร์ส และ แอชตัน แซนเดอร์ส ไม่อาจนำพาให้คนดูรัก เห็นใจและเอาใจช่วยพี่น้องนักปฏิวัติได้มากนัก แต่กระนั้นการที่หนังนำ ป๋า จอห์น กู๊ดแมน มารับบท วิลเลียม มัลลิแกน ตำรวจสันติบาลผู้น่าเกรงขามที่พยายามทำลายกลุ่มปฏิวัติฟีนิกซ์ก็ช่วยให้หนังมีไดนามิกที่น่าสนใจ และทุกครั้งที่ตัวละครของกู๊ดแมนปรากฎตัวก็ทำให้เราไม่อาจนั่งติดเก้าอี้ได้จริง อีกคนที่ปรากฎตัวน้อยแต่สร้างแรงสั่นสะเทือนได้ดีทีเดียวคือ เวรา ฟามิกา ที่มาในบทโสเภณีไร้ชื่อก็เปล่งประกายจนเราไม่อาจละสายตาได้จริงๆ
สรุป
Captive State มีไอเดียที่ค่อนข้างดี กับหนังเอเลี่ยนการเมือง ที่พอให้สนุกได้บ้างในช่วงท้าย นอกเหนือจากนั้นก็ค่อนข้างน่าเบื่อ กับการดำเนินเรื่องและบทสนทนาที่เต็มไปด้วยคำถาม แน่นอนว่ามันไม่ใช่หนังเอเลี่ยนทั่วๆ ไป มันไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน บางคนอาจจะชอบมากๆก็ได้ หนังหักลบกลบหนี้ทั้งข้อดีข้อเสียแล้วก็คงต้องขอโหวดเชียร์ให้คนไทยทุกคนไปดูหนังเรื่องนี้อยู่ดีเพราะแม้หนังจะห่างไกลความสนุกแบบหนังบล็อคบัสเตอร์ที่คุ้นเคย แต่ก็ไม่ได้เล่าเรื่องน่าเบื่อสักนิด งานวิช่วลยังคงทำงานกับคนดูได้ดีแถมให้ภาพสมจริงและสร้างบรรยากาศขมุกขมัวเปรียบเปรยถึงฝันร้ายในยุคสมัยของเผด็จการได้เป็นอย่างดี ก็น่าจะช่วยให้เราตัดสินใจกันง่ายขึ้นว่าควรใช้สิทธิของตนกำหนดทิศทางการปกครองของประเทศอย่างไรในวันที่ 24 มีนาคมนี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น