รีวิว Mindhunter
ฆาตกรต่อเนื่องและอาชญากรที่โหดเกินมนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจ เป็นวัตถุดิบอันน่าหลงใหลของนักสร้างหนังมานาน บรรณานุกรมแห่งความโหดร้ายไร้สำนึก การทารุณ ฆาตกรรม ข่มขืน ทรมาน ไม่เว้นเด็ก สตรีและคนชรา กระทำต่อเนื่องซ้ำซากและทวีความเหี้ยมมากขึ้นเรื่อยๆ หนังหลายเรื่องตั้งคำถามว่าเราสามารถเข้าใจคนที่กระทำการวิปริตเหล่านี้ได้โดยไม่กะพริบตาได้หรือไม่ รีวิว Mindhunter
เรื่องย่อ
เรื่องราวในยุคประมาณ 70’s เมื่อเจ้าหน้าที่ FBI โฮลเดน ฟอร์ด และ บิล เทนซ์ ได้ร่วมกันจัดตั้งแผนกใหม่ของ FBI ที่ชื่อว่า หน่วยพฤติกรรมศาตร์ หน้าที่ของพวกเขาคือ เดินทางสัมภาษณ์เหล่านักโทษฆาตกรโรคจิตทั่วสหรัฐฯ ที่ถูกขังอยู่ในคุก เพื่อเก็บข้อมูล เข้าถึงจิตใจและวิธีคิดเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ในด้านอื่นๆ ไขคดีที่เกิดขึ้น โดยทั้งสองตัวละครนี้ อ้างอิงมาจากนักสืบจริงๆในยุค 1960s เพราะตอนนั้นทางสหรัฐฯ ได้ใช้หลักจิตวิทยาในการไขคดีอาชญากรรม โดยเฉพาะคดีฆาตกรรมที่อุกฉกรรจ์ โหดร้ายผิดมนุษย์ ทางเจ้าหน้าที่ต้องปรับตัว เรียนรู้ที่จะใช้สมองเพื่อวิเคราะห์บุคลิก ดักทางฆาตกร เพื่อให้เข้าใจว่าในหัวของปีศาจในร่างมนุษย์พวกนี้มีกลไก ความคิด หรือสัญชาติญาณแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างไร
จิตใจของฆาตกรหรืออาชญากรเป็นอีกโลกหนึ่งที่หนังและซีรีส์ฮอลลีวูดชอบเข้าไปสำรวจ นัยหนึ่งเพราะเป็นโลกที่รังสรรค์ตัวละครคาแรกเตอร์โรคจิตสุดหลอน (ลองนึกถึงโจ๊กเกอร์หรือทูเฟซ มนุษย์สองหน้า ตัวละครจากคอมิก Batman) จากเหตุการณ์จริงที่ทำให้เรื่องราวตัวละครสมจริง
ทั้งที่เกิดจากกจิตที่ผิดเพี้ยนก่อให้เกิดเหตุฆาจกรรมของคนเหล่านี้ต่อเหยื่อมากมาย และอีกนัยหนึ่งก็เป็นโลกที่ผู้ชมทั่วไปสงสัยใคร่รู้ว่า เหตุใดอาชญากรเหล่านั้นถึงได้ก่อคดีหฤโหดขึ้นมาได้ ที่มาที่ไปของพวกเขาก่อนจะมาเป็นอาชญากรนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
ในบรรดาซีรีส์ภาคต่อมากมายของ Netflix ผู้เขียนจดจ้องรอซีซั่นใหม่ของ Mindhunter มากที่สุด (ลงสถิตจอวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา) ผู้สร้างโชว์ชุดนี้คือ เดวิด ฟินเชอร์ ผู้กำกับฮอลลีวูดขึ้นชื่อเรื่องสไตล์หนังอันเยือกเย็นและแหลมคม เป็นผู้กำกับที่เคยโคจรเข้าใกล้ฆาตกรต่อเนื่องมาหลายครั้ง
ตั้งแต่ Seven ถึง Zodiac ทุกครั้งเราจะเห็นนักสืบหนุ่มดูหนังฟรีผู้หมกมุ่นในการอ่านใจฆาตกร ลุ่มหลงในความพยายามเลียนแบบความคิดนักฆ่าหรือนักข่มขืน จนตัวเองหลุดเข้าไปในหลุมดำของมโนสำนึกเสียเอง
เนื้อเรื่อง
เรื่องราวดัดแปลงจากหนังสือ “Mind Hunter: Inside FBI’s Elite Serial Crime Unit” ของ John E. Douglas และ Mark Olshake ซึ่งในชีวิตจริงเคยเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์พฤติกรรมคนร้ายของ FBI ที่ช่วยจับฆาตกรและคนร้ายในคดีสำคัญมากมาย หนังมี Producer หรือผู้ควบคุมการสร้างระดับเจ้าพ่อหนังอาชญากรรมระทึกขวัญอย่าง David Fincher (Gone Girl, Zodiac, SE7EN)
และนางเอกออสการ์ Charlize Theron (บทที่ทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์นำหญิงคือ บทอาชญากรหญิงที่มีตัวตนจริงอย่าง Aileen ในหนัง Monster (2003)) ผู้สร้างอย่าง Joe Penhall ผู้เขียนบทหนังโลกหลังวันล่มสลายชวนหดหู่อย่าง The Road (2009) และเหล่าผู้กำกับหนังและซีรีส์ชั้นนำที่ชวนเครียดและชวนลุ้นมากมายตามรายนามข้างต้น
นี่คือหนังตามล่าเหล่าอาชญากรที่มีความคิดยากเกินหยั่งถึง ต้องใช้สมองมากกว่ากำลังไปตามจับ ถ้าเป็นคอหนังสืบสวนและหนังอาชญากรที่มีตัวละครอย่าง Hannibal Lector ในนิยายของ Thomas Harris เป็นตัวหลักของเรื่องแล้วละก็ ย่อมจะชื่นชอบซีรีส์นี้ได้ไม่ยาก
Mindhunter ในซีซั่นแรก ตามนักสืบ FBI สองคน โฮลเด้น ฟอร์ด (แสดงโดย โจนาธาน กรอฟ) และ บิล เทนช์ (โฮลท์ แมคคอลลานี) ทั้งสองตัวละครอ้างอิงจากนักสืบจริงๆ ในยุค 1960s เมื่อทางการสหรัฐฯ เริ่มใช้หลักจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ในการไขคดีอาชญากรรม
โดยเฉพาะกรณีอุกฉกรรจ์ที่โหดร้ายผิดมนุษย์มนา แทนที่ตำรวจจะใช้กำลังกายในการตามจับผู้ร้าย กลายเป็นต้องเรียนรู้ที่จะใช้สมอง การวิเคราะห์บุคลิก และทำตัวเป็นหมอโรคจิตเพื่อดักทางฆาตกร ฟอร์ดกับเทนช์ในซีรีส์ เดินทางไปทั่วอเมริกาเพื่อสัมภาษณ์ฆาตกรต่อเนื่องสุดอื้อฉาวที่ถูกจับได้แล้ว โดยหวังจะเข้าใจว่าพวกเขามีกลไกความคิดหรือสัญชาตญาณที่แตกต่างจะคนทั่วไปอย่างไร
ทีมงานทั้งหมดที่เป็นระดับตัวท็อปของวงการร่วมกันผลิตซีรีส์ที่บอกเล่า เรื่องราวของหน่วย BAU (Behavioral Analysis Unit) หน่วยงานที่ถือกำเนิดคำว่า “ฆาตกรต่อเนื่อง” (Serial Killer) ขึ้นจริงในแวดวงสืบสวนสอบสวนของโลกใบนี้ หน่วยวิเคราะห์พฤติกรรมอาชญากรใน FBI (มีบทบาทโดยตรงในซีรีส์ Criminal Minds (2005-ปัจจุบัน) ของช่อง CBS, ซีรีส์ Hannibal (2013-2015)
และหนัง Silence of the Lambs (1992)) เพียงแต่เรื่องนี้จะเป็นการเล่าย้อนไปที่จุดเริ่มต้นการบุกเบิกหน่วยงานในยุค 70 เจ้าหน้าที่ Holden Ford (Jonathan Groff) อาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงที่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมของอาชญากรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้าย (ในขณะที่ FBI เวลานั้น มักจะให้ความสำคัญกับการไล่ล่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นไปแล้ว มากกว่าป้องกันไม่ให้เกิด)
ต้องมาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รุ่นเก๋า Bill Tench (Holt McCallany) ที่พอจะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้อยู่บ้าง และอาศัยโอกาสที่เขาต้องไปสอนหนังสือให้เจ้าหน้าที่ FBI ใตามสถานีตำรวจทั่วสหรัฐฯ ฟัง Bill จึงหนีบ Holden ไปเพื่อเผยแพร่แนวคิดนี้ด้วย ส่วนในช่วงครึ่งหลัง ซีซันแรก ทีมก็ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยใน Boston Dr.Wendy Carr (Anna Tov) มาร่วมทีมด้วย
จุดเด่น
ที่เด่นพอๆ กับนักสืบทั้งสอง คือบรรดาฆาตกรที่พวกเขาประสบพบเจอ Mindhunter สร้างตัวละครในหนังจากฆาตกรโหดจริงๆ ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ประเภทที่แค่ได้ยินว่าทำอะไรก็ขนลุกแล้ว ที่เดินมากในซีซั่นแรกคือ เอ็ด เคมเปอร์ (หรือ Co-ed killer) ฆาตกรที่ฆ่าตา-ยายตัวเอง ตัดหัวแม่ตัวเอง
หลังจากถูกปล่อยจากโรงบาลโรคจิต ออกมาฆ่าผู้หญิงและทำอนาจารศพอีกแปดครั้ง พระเอกใน Minhunter “อิน” กับเคมเปอร์มาก เพราะเขาพร้อมจะพูดและอธิบายตัวเองให้ฟัง ต่างกับฆาตกรคนอื่นๆ ที่เงียบไม่ปริปาก เช่น มอนเต ราลฟ์ ริสเซล ที่ฆ่าคนตั้งแต่อายุ 15 พออายุ 15 ฆ่าไป 5 ศพ
และข่มขืนผู้หญิงอีกนับสิบ เจอร์รี่ บรูดอส ฉายา “นักฆ่าบ้ารองเท้าส้นสูง” ฆ่าคนตายและถูกส่งเข้าสถาบันตั้งแต่อายุ 15 พอออกมาก็แต่งงานมีลูก แต่ต่อมาลักพาตัวผู้หญิง ฆ่า และหั่นชิ้นส่วนเก็บไว้เป็นที่ระลึกอีกอย่างน้อย 5 ศพ ริชาร์ด สเป็ค สุดโหดอีกรายที่ข่มขืน ทรมาน และฆ่าพยาบาล 8 คน สุดท้ายคือ ดาร์เรล จีน เดวิเอร์ ที่ฆ่าและทรมานเด็กอายุ 12 และถูกสองนักสืบแกะรอยจนจนมุม
ความวิปิริตผิดมนุษย์
แค่ฟังสิ่งก็เหนื่อยและขยะแขยงแล้ว สิ่งที่ Mindhunter ทำได้เด่นมาก คือการเล่าความวิปิริตผิดมนุษย์ของอาชญากรเหล่านี้ ผ่านทางสไตล์หนังที่เรียบ เยือกเย็น หนังไม่ได้พยายามทำให้ฆาตกร “มีความเป็นมนุษย์” (เป็นวิธีที่โหลมากๆ ของหนังที่พยายามทำตัวลึกซึ้ง) แต่มองพวกเขาอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่เวอร์ ไม่อวย ไม่เข้าข้างใคร เหมือนนักจิตวิเคราะห์ที่ค่อยๆ พาเราไปทัวร์เขาวงกตของความวิปลาส การจัดวางภาพ เสียง และพื้นที่ระหว่างนักสืบสองคนกับฆาตกรต่อเนื่องที่พวกเขาพบเจอ
ทำให้อุณหภูมิในห้องลดลงฮวบฮาบเพียงแค่จอมโหดเหล่านี้เปิดปากพูด และด้วยความที่เป็นซีรีส์ที่ให้เวลาเราอยู่กับตัวละครมากพอ (คือมากกว่าหนังสองชั่วโมง) เราจึงเห็นรายละเอียดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของนักสืบทั้งสอง โดยเฉพาะ โฮลเด้น ฟอร์ด เห็นเงามืดค่อยๆ แผ่เข้าปกคลุมใบหน้าและหัวใจของเขา
Season 1
ในซีซันแรกนั้น ซีรีส์นำเสนอเรื่องราวของ “ฆาตกรต่อเนื่อง” มากมาย ซึ่งเป็นตัวเอ้ของชาวอเมริกันที่ได้ติดตามบนหน้าหนังสือพิมพ์ในยุค 1960s-1970s เช่น “Co-ed Killer” Edmund Kemper (Cameron Britton) ผู้สังหารเหยื่อกว่า 10 รายรวมถึงย่าและแม่ของตัวเองก่อนจะมีเพศสัมพันธ์กับศพที่เขาฆ่า “The Lust Killer” Jerry Brudos (Happy Anderson) ฆาตกรต่อเนื่องที่ถูกเลี้ยงดูมาจากแม่ที่อยากได้ลูกผู้หญิงและบ้ารองเท้าผู้หญิงเป็นชีวิตจิตใจ
ซีรีส์นำเสนอชีวิตของ Ford ออกมาในแง่มุมของการดำเนินชีวิตอย่างมั่นใจทั้งในการทำงาน (ที่ต้องเผชิญกับการสัมภาษณ์ฆาตกรตัวเอ้มากมาย ซึ่งก็ทำให้เขาเกิดภาวะทางจิตตามไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว) และกับความรัก ซึ่งก็ทำให้เขาหุนหันพลันแล่น ทะเยอทะยานและมั่นใจในตัวเองขึ้นเรื่อย ๆ จนเลือกจะใช้วิธีที่เลวร้ายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งเพื่อนร่วมงานทั้งสองคน Bill และ Dr.Vendy ไม่เห็นด้วย จนเกือบส่งผลให้หน่วยงาน BAU ต้องจบลง
คนดูจะสัมผัสได้ถึงจังหวะการเล่าเรื่องไปจนถึงโทนสีที่หนังเลือกหนังใหม่ชนโรงใช้ ซึ่งเป็นสไตล์ที่มีลายเซ็นที่โดดเด่นมากของ David Fincher ใกล้เคียงที่สุดที่หนัง Zodiac (2007) ที่บทสรุปของเรื่องก็เลือกจะเล่าตามความเป็นจริง ในกรณีที่ฆาตกรยังลอยนวลและทางการไม่อาจทำอะไรได้
Season 2
ส่วนซีซันสอง เริ่มต้นด้วยการให้หน่วย BAU เข้าไปเกี่ยวข้องกับ BTK (Bind, Torture and Kill) Killer ที่ทิ้งเชื้อไว้ตั้งแต่ปีแรก (ด้วยการหยอดเรื่องราวที่มาและพฤติกรรมประหลาดของ BTK Killer หรือ Dennis Rader ซึ่งเมื่อมาถึงเหตุการณ์ตามท้องเรื่องในปี 1979-1980 นั้น เขาก็ได้สังหารไปแล้วถึง 7 ศพ (จากทั้งหมด 9 ศพจนถึงปี 1991
และถ้าไม่ถือเป็นการสปอยล์ซีซันหน้า ๆ เพราะ search เอาได้จาก Google อยู่แล้ว ฆาตกรรายนี้กว่าจะถูกจับก็ปี 2005 ถือเป็นการลอยนวลที่ยาวนานกว่า 4 ศตวรรษ ซึ่งก็น่าสนใจว่าซีรี่จะนำเสนอออกมายังไงให้เวลาตามท้องเรื่องกินระยะเวลายาวนานขนาดนั้น)
ฆาตกรต่อเนื่องประจำซีซันที่น่าสนใจได้แก่ Berkowitz ฆาตกรฉายา Son of Sam ที่สังหารไป 6 ศพ (ยอมรับสารภาพแค่ 3) โดยอ้างว่า ถูกปิศาจที่อยู่ในร่างของสุนัขข้างบ้านเป็นสิ่งควบคุมให้เขาก่อเหตุ William Pierce ฆาตกรที่ฆ่าข่มขืน 9 ศพ หนึ่งในนั้นเป็นเด็กสาวอายุ 13 ปี Elmer Wayne Henley Jr. รายนี้เคยตกเป็นเหยื่อถูกชายชื่อ Dean Corll ล่อลวง
ก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ร่วมมือกับชายคนนั้นเสียเอง นำเด็กชายซึ่งเป็นรุ่นน้องในโรงเรียนไปเป็นเหยื่อฆ่าข่มขืนไม่น้อยกว่า 28 ราย ก่อนที่เขาจะลงมือสังหาร Dean Corll เเองในท้ายที่สุด William Henry Hance สังหารโสเภณีทั้งผิวขาวและผิวดำไป 4 ศพ
สิ่งที่น่าสนใจและซีรีส์นำเสนอออกมาได้ดี คือ คนทั่วไปมักตั้งคำถามว่า ทำไม เพราะอะไรฆาตกรจึงกระทำการเหนือสำนึกผิดชอบชั่วดีหรือศีลธรรมไปได้ขนาดนั้น ซึ่งซีรีส์ได้อธิบายให้เห็นว่า เราไม่อาจใช้มาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมเดียวกันได้กับพวกเขาได้เลย
สรุป
Mindhunter ทั้ง 2 ซีซันคือ งานละเอียดของทุกคนที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะ David Fincher ที่ใส่ใจตั้งแต่ข้อมูลเบื้องหลังคดีต่าง ๆ ที่สะท้อนปมหลายอย่าง บทสนทนาต่าง ๆ ที่น่าฟัง (ระดับที่เคยถ่าย The Social Network (2010) ฉากเดียวเป็นร้อยเทคก็ทำมาแล้ว!) คอประวัติศาสตร์คดีฆาตกรรมดังในสหรัฐฯ ก็น่าจะชอบเช่นกัน
และทำให้เห็นว่า วิธีการสอบสวนและเรียนรู้ฆาตกรของสหรัฐฯ ละเอียด ซับซ้อน เข้มข้น และลงลึก มากไปกว่าการหาตัวฆาตกรและจับมาลงโทษ (แล้วก็ปล่อยออกมาในที่สุดเหมือนในบางประเทศ) ซีรีส์คุมโทนบรรยากาศชวนหดหู่ไว้ได้ตลอดอย่างเอาอยู่ ชนิดที่ถ้าดูต่อเนื่องรวดเดียวก็อาจมีอาการจิตตกไปด้วยเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น