วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Polaroid - ถ่ายติดตาย


รีวิว Polaroid - ถ่ายติดตาย

เดินตามแนวทางเดียวกับ Light Out หนังสยองขวัญปี 2016 ที่หยิบเอาหนังสั้นชื่อเดียวกัน มาขยายเป็นหนังเรื่องยาวที่ได้ผู้กำกับหนังสั้นต้นฉบับตามมากำกับ แล้วหนังก็ประสบความสำเร็จและส่งให้ เดวิด เอฟ.แซนด์เบิร์ก ได้โดดไปกำกับหนังทุนสูงอย่าง Shazam!และยังได้เสียงตอบรับที่ดีเช่นเคย แต่สำหรับ Polaroid เรื่องนี้ หยิบเอาหนังสั้นชื่อเดียวกันของ ลาร์ส เคลฟเบิร์ก ปี 2015 มาดัดแปลง แต่จุดที่มันไม่น่าสนใจก็คือ ตัวหนังสั้นต้นฉบับก็ไม่ได้มีความน่ากลัวเลย ก็เลยไม่เข้าใจว่าผู้สร้างเกิดไปประทับใจอะไรกับหนังสั้นเรื่องนี้ ถึงได้อยากหยิบมาขยายเป็นภาพยนตร์ แต่สุดท้ายแล้วเวอร์ชั่นภาพยนตร์ก็ไม่ได้มีเนื้อหาส่วนใดคล้ายคลึงกับหนังสั้นเลย รีวิว Polaroid - ถ่ายติดตาย ดูหนังออนไลน์

เรื่องย่อ

คุณกล้าถ่ายรูปหรือเปล่า? หากว่าทุกคนในรูปจะต้องตาย! เบิร์ด ฟิทเชอร์ (แคทรีน เพรสคอตต์) ได้พบกับกล้องโพลารอยด์ตัวหนึ่งในร้านขายของเก่า แต่แล้วเธอกลับพบว่าผู้ที่ถูกถ่ายด้วยกล้องตัวนี้ล้วนแต่จะต้องตายอย่างน่า สยดสยอง เธอและเพื่อน ๆ จึงต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางออกจากสถานการณ์นี้ก่อนที่พวกเธอทุกคนจะ ถูกมันฆ่า!

บทภาพยนตร์ของ Polaroid เขียนโดย แบลร์ บัตเลอร์ ที่มาจากสายทีวีซีรีส์และหนังสั้น ปีที่แล้วก็มีหนัง Hell Fest ที่เป็นผลงานเขียนบทของแบลร์ บัตเลอร์ เช่นกัน พอต้องมาพยายามผูกเรื่องของเจ้ากล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ที่ถ่ายแล้วได้ภาพทันทีนี้ ให้โยงเป็นเรื่องราวสยองขวัญก็ดูเป็นความพยายามที่ถูลู่ถูกังมาก หนังวางตัวสาวน้อย เบิร์ด ฟิตเชอร์ ให้เป็นตัวละครหลักของเรื่อง

เธอเป็นนักเรียนมัธยมที่รักการถ่ายภาพ เลิกเรียนเธอไปทำงานพิเศษที่้ร้านขายของเก่า ไทเลอร์หลานชายเจ้าของร้านแอบชอบเบิร์ดอยู่ เขาก็เลยเอากล้องโพลารอยด์รุ่นคลาสสิกที่ซื้อมาจากตลาดเปิดท้ายมาฝากเธอ เธอถ่ายรูปไทเลอร์เป็นรูปแรก แล้วคืนนั้นเธอก็ไปงานปาร์ตี้และถ่ายรูปหมู่เพื่อน ๆ แล้วก็พบว่าบรรดาเพื่อน ๆ ที่เธอถ่ายภาพด้วยกล้องโพลารอยด์ทยอยตายทีละคน เบิร์ดจึงเริ่มสืบหาที่มาของกล้องโพลารอยด์ตัวนี้

บทหนังเริ่มต้นได้น่าสนใจมาก ทั้งการปูตัวตนของแบลร์ให้เป็นเด็กสาวที่มีอดีตอันเจ็บช้ำและรอยแผลลึกลับที่อยู่บนคอเธอ ทำให้เธอมีปมด้อย เวลาไปไหนมาไหนก็ต้องใส่ผ้าพันคอปิดรอยแผลตลอด มาจนถึงปริศนาของกล้องโพลารอยด์ที่ชวนติดตามว่าวิญญาณที่อยู่ในกล้องนี้คือใคร และทำไมถึงต้องตามฆ่าทุกคนที่ถูกถ่ายภาพ ในครึ่งหลังนี้หนังเดินหน้าไปตามฟอร์มหนังสยองขวัญหลาย ๆ เรื่อง ด้วยการตามสืบต้นตอของวิญญาณร้ายและหาทางยับยั้งให้ทันก่อนที่เพื่อน ๆ ของเธอจะเสียชีวิตกันหมด

เบิร์ด ตามสืบมาจนเจอตัวตนของวิญญาณร้ายและพบว่าเกี่ยวโยงกับคดีสยองที่น่ากลัวมาก โยงไปเกี่ยวพันกับตัวละครสำคัญรายหนึ่งที่ปรากฏตัวมาก่อนหน้านี้ ถือว่าบทภาพยนตร์มีลีลาในการเล่าเรื่องที่พลิกไปพลิกมาได้น่าสนใจ ถึงแม้เนื้อหาจะดำเนินแบบหนังผีสูตรสำเร็จ แต่ก็เป็นการเดินตามโจทย์ที่ทำได้ดี น่าถูกใจคอหนังสยองขวัญ

หนังผีสูตรสำเร็จ ที่ตกใจเสียงมากกว่าตัวผี (พยายามบิ้วซะดังเกิ๊น)
ตัวละครก็พากันทำอะไรโง่ๆ ตามสูตรหนังผี เช่นวิ่งหนีแล้วสะดุด เป็นต้น

สิ่งที่น่าเสียดายคือพื้นฐานที่หนังปูมาดี แต่ก็ถูกเสริมเติมแต่งเสียเกินงามไปมาก เหมือนว่าปรุงเยอะเกินไปกลัวคนดูไม่สนุก สุดท้ายหนังก็หลุดพ้นตรรกะที่น่าจะเชื่อมโยงกันได้พอดี รวมไปถึงการเสริมพลังอำนาจให้ไอ้ผีตัวนี้เสียเวอร์วังเสียจนไม่รู้ว่าจะอธิบายที่มาของพลังเหล่านี้อย่างไร ก็เลยทิ้ง ๆ มันไปไม่พูดถึงที่มาดีกว่า อดีตของเบิร์ดที่ปูมาแต่แรกไว้น่าสนใจ ก็เฉลยมาในช่วงหลังเป็นโศกนาฏกรรมที่ฝังลึกในใจเธอและเป็นที่มาของรอยแผลบนคอ แต่กลายเป็นว่าทั้งรอยแผลและอดีตอันลึกลับของเธอก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเส้นเรื่องหลัก ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับการมาต่อสู้กับวิญญาณร้ายแม้แต่น้อย ปัดโธ่ว จะปูมาทำไมล่ะงั้น

อยากพูดมากคือตัวผีที่สิงกล้อง มันคือวิญญาณร้ายที่มีความอาฆาต พอเปิดเผยเรื่องความอาฆาตแค้นก็พอเข้าใจหรอกนะ การออกมาจัดการเหยื่อรายแรก ๆ เป็นเงามืด ๆ เหมือนกับที่อยู่ในภาพโพลารอยด์ ก็ชื่นชมผู้กำกับนะว่าแค่เงามืดก็นำเสนอออกมาได้น่ากลัวซึ่งน่าจะหยุดอยู่แค่นี้ บวกกับการพยายามเสริมภาพลักษณ์ให้ไอ้กล้องโพลารอยด์นี้ดูน่ากลัวขึ้นมาได้ ด้วยการใส่เสียงแฟลช ที่ชาร์จไฟดัง วี้ๆๆๆๆๆ ก็พอหลอน ๆ ได้บ้าง ก็ถือว่าเป็นการปรุงแต่งที่ได้ผลดี เพราะกล้องรุ่นSX-70 ตัวจริงนั้นไม่มีแฟลช ไม่ได้ออกแบบแม้กระทั่งต่อพ่วงกับแฟลชด้วยซ้ำ

แต่แล้วทั้งผู้กำกับและคนเขียนบทก็มันส์มือเกินไป เติมนู่นเติมนี่กันจนเลยเถิด เสน่ห์ที่สร้างมาหายหมดสิ้น เมื่อให้ผีออกมาเป็นตัว มีเนื้อหนังจับต้องได้ บีบคอ ทำร้ายเหยื่อได้ เฮ่ยมึงเป็นวิญญาณนะ และที่ไร้ซึ่งคำอธิบายหลุดพ้นตรรกะมาก ก็อย่างที่หลายคนได้เห็นในตัวอย่างหนังล่ะครับ ถ้าเผาภาพ หรือฉีกภาพโพลารอยด์ คนในภาพก็จะโดนไฟลุกไหม้ไปด้วย ถ้าโดนฉีกตรงไหนร่างกายก็จะฉีกขาดไปด้วย โอ้โห เวอร์วังจริง

และสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับหนังสยองขวัญ ซึ่ง polaroid ก็ยังคงเอกลักษณ์นี้ไว้ด้วย กับการกำหนดให้บรรดาเหยื่อในเรื่องต้องสวยหล่อแต่ไม่มีสมอง ต้องทำเรื่องโง้โง่จนน่าหงุดหงิด เหยื่อหลาย ๆ ตัวในเรื่องนี้ชอบเดินเข้าหาเสียงประหลาด ๆ ในบ้าน และที่สำคัญ น้อง ๆ ปิดไฟครับ แล้วก็เดินในบ้านมืด ๆ นั่นล่ะ ดูแล้วกุมกบาล

สรุป

สำหรับเรื่องนี้ เรียกได้เลยว่าเป็นหนังผีสูตรสำเร็จ คอหนังผีก็จะคุ้นกันเป็นอย่างดีเวลาเจอเหตุการณ์นู่นนี่นั่นเต็มไปหมด คาดเดาได้ง่ายๆ รู้เลยว่าต่อไปผีโผล่แน่ เดี๋ยวคนนี้มันต้องทำแบบนั้นแบบนี้แน่ๆ และมันก็ใช่จริงๆ ที่น่าหงุดหงิดเลยคือเหล่าเหยื่อหรือตัวละครในเรื่องต้องทำอะไรโง่ๆ เสมอ เดินหาที่มึดบ้างไรบ้าง

โดยเฉพาะไอ้การที่วิ่งไปสะดุดล้ม ชนนู่นชนนี้ ในระหว่างหนีผีนี่มันโคตรเก่า นี่ 2019 แล้ว ยังเล่นแบบนี้อีกหรอ - -” และมันไม่ใช่แค่ทีเดียว มันมีฉากแบบนี้ 2-3 รอบเลยทีเดียว คนที่นั่งดูในโรงนี้ถึงกับหลุดขำกันเป็นหนังตลกเลยทีเดียว ตัวหนังก็พยายามเหลือเกินที่จะให้คนดูตกใจด้วยการจั้มสแกร์ผ่านเสียง ที่ดังโคตรๆ

การดำเนินเรื่องมันก็ดูดีแค่ตอนแรกๆ มันก็น่าสนใจและหลอนพอใช้ได้อยู่ ซึ่งเป็นฉากแรกเลยนั่นแหละ บวกกับเสียงชัตเตอร์ของกล้อง ที่ติดๆ ขัดๆ ก็ชวนน่าขนลุกดีเหมือนกัน เรื่องนี้มีจุดที่ไม่เข้าใจอยู่เยอะเหมือนกัน และสงสัยว่าจะมีทำไม คือนางเอกจะใส่ผ้าพันคออยู่ตลอด เพื่อปกปิดร่องรอยตั้งแต่แรก จนคนดูเริ่มสงสัย และเราเริ่มสนใจ อยากจะรู้ละ แต่พอเฉลยถึงที่มาที่ไป ก็ไม่ได้มีภาพให้เห็นว่าเกิดขึ้นได้ยังไง ที่สำคัญ มันยังไม่ได้ส่งผลอะไรต่อเหตุการณ์หลักที่เจออยู่เลยแม้แต่น้อย แล้วบทจะเสียเวลาปูประเด็นนี้ให้นางเอกเพื่อ!!!

มาถึงทางด้านตัวผีกันบ้าง ที่แรกๆ มาเป็นเงา มันก็ดูหลอน และแอบนึกในใจ ก็พอโอเคน่า ไม่ต้องเห็นเป็นเต็มๆ แต่พอมันออกมาเต็มๆ นี่สิ หมดกัน ความน่ากลัวที่สั่งสมมาตั้งแต่ต้น มันออกมาได้แบบมีพลังมหาศาล ไม่รู้ที่มาที่ไปว่ามันมีพลังเหล่านั้นยังไง จริงอยู่ที่หนังบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังกล้องตัวนี้ได้น่าสนใจว่าทำไมถึงมีผี แต่ไม่ได้บอกถึงเหตุผลว่าทำไมผีถึงเป็นแบบนั้นได้

นี่คือหนังที่มีไอเดียเริ่มต้นน่าสนใจ แต่ขยายเกินไปจนไร้ตรรกะยากเกินจะอธิบายได้ ภาพลักษณ์ผีออกแบบมาดูไม่น่ากลัว แต่ก็มีฉากให้ตกใจเยอะมาก ไม่ได้ตกใจผีเลยนะ แต่หนังเล่นฉากตุ้งแช่ด้วยเสียง ตกใจเสียงดังนั่นล่ะ ไม่ได้ตกใจภาพเลย เรื่องราวเบื้องหลังที่มาของกล้องโยงมาดี หลอกคนดูพลิกไปพลิกมา แต่มาตายกับอิทธิฤทธิ์ของผีที่เวอร์วังเกินไป รอดูออนไลน์เหอะครับไม่เสียอรรถรสแต่อย่างใด

เป็นหนังผีที่มองข้ามไปก็ไม่ถือว่าน่าเสียดายแต่อย่างใด ที่น่ากลัวสุดคงจะเป็น กลัวว่าหนังเรื่องหน้าของผู้กำกับคนนี้อย่าง Child’s Play จะออกมาเป็นยังไงน้อออออ ดูหนังผ่านเน็ต

ปล .รู้ก็ดีไม่รู้ก็ได้ การสะบัดภาพที่ออกมาจากกล้อง Polaroid ไม่ได้ช่วยทำให้ปรากฏภาพเร็วขึ้นแต่อย่างใด (ในเรื่องนี้ก็หยิบมาสะบัดกันซะจนรู้สึกตะหงิดๆ เลยทีเดียว) ไม่ได้ช่วยอะไรเลย วางเฉย ๆ ภาพก็ขึ้นในเวลาเท่ากัน

Fast & Furious Presents: Hobbs & Shaw

รีวิว Fast & Furious Presents: Hobbs & Shaw

หลังแฮตตี้ (วาเนสซ่า เคอร์บี) สายลับเอ็มไอซิกส์ ถูกซ้อนแผนจารกรรมไวรัสมรณะจนเธอต้องฉีดมันเข้าเส้นเลือดและหนีการตามล่าจนตกเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทางการได้ตามตัว เดคคาร์ด ชอว์ (เจสัน สเตแธม) พี่ชายตัวป่วน มาร่วมทีมกับ ลุค ฮอบบส์ (ดเวยน์ จอห์นสัน) คู่ปรับมหากาฬเพื่อช่วยเหลือน้องสาวของเขาจาก บริกซ์ตัน (ไอดริส อัลบา) นักรบดัดแปลงพันธุกรรมสุดโหด ก่อนเธอและไวรัสจะทำลายอนาคตของมวลมนุษยชาติจนสิ้นซาก

Child’s Play - คลั่งฝังหุ่น

รีวิว Child’s Play - คลั่งฝังหุ่น

ฮอลลีวู้ดในยุค 80s ได้สร้างอสุรกายจอมเชือดขึ้นมามากมายทั้ง ไมเคิล มายเออร์ , เฟรดดี้ ครูเกอร์ , เจสัน วอฮีร์ และ เลเธอร์เฟซ ทุกรายยังคงสานต่อตำนานสยองขวัญสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ บางรายก็ยังคงมีภาคต่อ บางรายก็ถูกรีบู๊ต บางรายก็ย้อนไปเล่าเรื่องราวก่อนหน้า แล้วก็มาถึงคิวของอสุรกายตัวจิ๋ว “ชัคกี้” ที่ถึงคราวรีบู๊ตสักที หลังสานต่อมาถึง 7 ภาคภายในระยะเวลา 30 ปี “ชัคกี้” เป็นที่รู้จักกันในฐานะตุ๊กตาเด็กชายที่กลายมาเป็นจอมเชือดขนาดเล็กตามความโหดกระหายเลือดไม่ได้เล็กตามตัวเลย ชัคกี้ เริ่มแนะนำตัวให้โลกรู้จักใน Child’s Play (1989) จากมันสมองของ ดอน แมนชินี ผู้เขียนเรื่องและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของเจ้า “ชัคกี้” ที่เขารับหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์เองทั้ง 7 ภาค และกำกับเองในภาคหลัง ๆ  รีวิว Child’s Play ดูหนังออนไลน์

แม้ว่าดอน จะเป็นเจ้าของคาแรกเตอร์ “ชัคกี้ แต่ค่าย MGM ที่เป็นเจ้าผู้ออกทุนสร้างและจัดจำหน่ายในวันนั้น ก็ได้สิทธิ์การเป็นเจ้าของหนัง Child’s Play ภาค 1 ไปโดยปริยาย ซึ่งจะมีสิทธิ์ในการรีเมกหนังภาคนี้โดยชอบธรรม และ MGM ก็ทำเช่นนั้น ด้วยการรีบู๊ต Child’s Play ครั้งแรกในรอบ 30 ปี แล้วก็สร้างจุดขายได้อย่างน่าสนใจด้วยการดึงเอา มาร์ก แฮมิลล์ ที่แฟนหนังทั่วโลกรู้จักเขาจากบท ลุค สกายวอล์กเกอร์ ในตำนานให้มาพากย์เสียง “ชัคกี้” แม้ว่า ลุค จะมีผลงานแสดงไม่กี่เรื่อง แต่เขาผ่านงานพากย์มานับสิบเรื่อง ฉะนั้้นงานพากย์จึงเป็นงานที่เขาถนัดมาก แล้วมาร์ก ก็ทำได้ดีจริง

ภาคนี้มีการปรับเปลี่ยนหลาย ๆ อย่างจากต้นฉบับ และเป็นการปรับเปลี่ยนที่ทำให้เรื่องราวเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แอนดี้ บาร์เคลย์ เด็กชายที่เป็นเจ้าของชัคกี้ ถูกปรับให้โตขึ้นเป็น 13 ปี จากเดิมเป็นเด็กน้อยวัย 6 ขวบ และจุดสำคัญสุดคือที่มาของ “ชัคกี้” ที่เวอร์ชันเดิมนั้น ชาร์ล ลี เรย์ ฆาตกรต่อเนื่องสุดโหด ถูกตำรวจยิง ก่อนตายได้ใช้เวทมนตร์วูดูย้ายวิญญาณของเขาไปสิงสู่ในตุ๊กตา “กู๊ดกาย” สินค้ายอดฮิตในวันนั้น แล้วเจ้าตุ๊กตาตัวนี้ก็ไปเป็นของแอนดี้ ชัคกี้ ก็เริ่มใช้สันดานโหดของฆาตกรต่อเนื่องออกสังหารเหยื่อผู้โชคร้ายแล้วป้ายความผิดให้แอนดี้

เรื่องย่อ

แต่ในเวอร์ชั่นใหม่นี้ไม่มีเรื่องวิญญาณและเวทมนตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องราวของสมองกลอัจฉริยะ (A.I.) เข้ามาแทนที่ เล่าเรื่องของบริษัท แคสแลน ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฮเทคระดับโลก ได้ออตุ๊กตาในชื่อ “บัดดี้ดอลล์”ออกมา เป็นตุ๊กตาอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ควบคุมสั่งการอุปกรณ์ไฟฟ้าแบรนด์แคสแลนภายในบ้านทุกชิ้น พูดจาโต้ตอบและเรียนรู้ได้เหมือนกับเด็กคนหนึ่ง

ปัญหามาจากพนักงานฝ่ายผลิตคนหนึ่งโกรธแค้นเจ้านายที่ชอบดุด่า ก็เลยระบายอารมณ์ด้วยการปลดล็อกระบบควบคุมนิสัย และขอบเขตการเรียนรู้ ของตุ๊กตาบัดดี้ดอลล์ตัวหนึ่งซะ และตัวนั้นก็คือ”ชัคกี้” ที่ตกมาเป็นของแอนดี้ เด็กชายที่อยู่กับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว การขยับอายุของแอนดี้ให้โตขึ้น ก็ช่วยให้เล่าเรื่องได้กว้างขวางขึ้น

บทสามารถเขียนให้เด็กในวัยนี้ทำอะไรได้มากกว่าเด็ก 6 ขวบ และเพิ่มเติมให้แอนดี้มีปัญหาในการได้ยินต้องใส่เครื่องช่วยฟังอยู่เสมอ ทั้งเรื่องหูที่บกพร่องและแอนดี้เพิ่งย้ายมาอยู่เมืองนี้ ทำให้เขาไม่ค่อยมีเพื่อน ก็ล้วนเป็นเหตุผลสนับสนุนที่ดี ที่ทำให้แอนดี้รู้สึกผูกพันกับเจ้าชัคกี้ได้อย่างลึกซึ้ง

เรื่องบทที่มีการปรับเปลี่ยนหลาย ๆ อย่างได้เข้าที่เข้าทางกว่าต้นฉบับนี้ ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับ ไทเลอร์ เบอร์ตัน สมิธ ชื่อไม่คุ้นเลย พอไปดูเครดิตก็เห็นว่า นี่คือมือเขียนบทหน้าใหม่จริง ๆ เคยแต่เขียนบทให้กับวีดีโอเกม มาเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก และเป็นงานประเดิมที่น่าชื่นชม เลือกในการคงตัวละครหลักจากเวอร์ชันต้นฉบับไว้ แต่มีการปรับเปลี่ยนบุคลิกตัวตน ฉากหลังที่มาของแต่ละตัวละครได้เข้าที่เข้าทางมากขึ้น ทำให้คนดูเข้าถึงความคิดการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของตัวละครเหล่านี้ได้มากขึ้น

แม้กระทั่งตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์อย่าง “ชัคกี้” ก็ยังเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวมัน ไม่ใช่ตุ๊กตาผีที่ร้ายมาตั้งแต่เริ่มเรื่องอย่างต้นฉบับ แต่ร้ายเพราะสิ่งแวดล้อม โหดเพราะศึกษาจากคนรอบข้าง ได้ฟังคำหยาบ คำสบถจากผู้คน ได้เห็นความรุนแรงที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกัน ได้เห็นแอนดี้และเพื่อน ๆ หัวเราอย่างมีความสุขเวลาได้ดูหนังเชือดโหดเลือดสาด สมองกลที่ถูกโปรแกรมมาให้เรียนรู้ก็เลยเข้าใจได้ว่า “มนุษย์มีความสุขที่ได้เห็นความรุนแรง” ก็เลยทำให้ Child’s Play (2019) เป็นหนังที่หน้าฉากเป็นหนังสยองขวัญ แต่ก็มีเนื้อหาที่วิพากษ์สังคมแบบกลาย ๆ

ในด้านความโหดของหนัง ต้องยืนยันเลยว่าภาคนี้ “โหดมาก” แม้ฉากสยองจะไม่มาถี่ มาแต่ละครั้งนี่โคตรครีเอตเป็นฉากฆ่าที่ผ่านกระบวนการคิด ออกแบบไม่ให้ซ้ำซากจากหนังในแนวเดียวกัน เล่นทั้งภาพที่ให้เห็นจะ ๆ ผสมกับความคิดจินตนาการของคนดูเองโดยรวมก็สยองถึงกับต้องร้อง ยี้ ยี้ และเบือนหน้าหนี เลือดท่วมมากครับ ฉากตุ้งแช่ก็ยังพอมีบ้าง

การออกแบบ “ชัคกี้” ถ้ามองรวม ๆ ก็ชัดเจนว่านี่คือชัคกี้ที่เราคุ้นเคย แต่เมื่อมองลึกลงไป ก็สังเกตเห็นได้ชัดว่าหน้าตาต่างไปจากเดิม ด้วยเทคโนโลยีทางด้านภาพที่รุดหน้ากว่าเดิมมา 30 ปี ทำให้ชัคกี้เวอร์ชันนี้แสดงออกทางสีหน้าได้ชัดเจนขึ้น ตาโตขึ้นและเปลี่ยนสีได้ตอนโกรธทำให้แสดงออกถึงสีหน้าอารมณ์ได้มากขึ้น การเคลื่อนไหวลื่นไหลเป็นธรรมชาติมากขึ้น


การที่กำหนดให้ตุ๊กตาบัดดี้ดอลล์เป็นหนึ่งในสินค้าไฮเทค ก็เลยเปิดช่องให้ชัคกี้เวอร์ชันนี้มีความสามารถมากขึ้น ควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เป็นไอเดียที่ฉลาดมาก ทำให้เพิ่มเติมลุูกเล่นลงไปในเนื้อหา และทำให้หนังสนุกได้มากขึ้น นอกจากนั้นมุกตลกที่หยอดมาก็ถี่มาก หลาย ๆ มุกก็ยิงติดได้เสียงหัวเราะดัง ๆ ส่วนใหญ่มาจากบรรดาแก๊งเพื่อนของแอนดี้ ที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับหนังได้ดี และทำให้หนังโคตรโหดเรื่องนี้ ไม่หม่นเครียดจนเกินไปนัก

ถ้ามองย้อนไป หนังรีเมกน้อยเรื่องนักที่จะทำได้ดีกว่าต้นฉบับ วันนี้เราก็ต้องยกให้ Child’s Play (2019) จัดอยู่ในหนังรีเมกส่วนน้อย ที่หยิบมาทำใหม่ แล้วไม่ยี้ไม่แย่กว่าเดิม ไม่โดนด่าว่าเสียของ ก้าวต่อไปจากนี้ยิ่งน่าติดตามล่ะครับ เพราะ MGM มีสิทธิ์แค่หนังภาคแรกเท่านั้น ก้าวต่อไปนี่ก็ต้องเจรจาหาข้อตกลงกับ ดอน แมนชินี กันให้รู้เรื่องล่ะ ส่วนดอน ก็ไม่ยินดีนักกับ Child’s Play ภาคนี้ ตัวเขาก็เลยเดินหน้าไปกับโพรเจกต์ Child’s Play เวอร์ชันทีวีซีรีส์ ที่จะแพร่ภาพปีหน้านี้ล่ะ ดูซิว่า MGM จะเดินหน้าต่ออย่างไร

สรุป

Child’s Play อาจจะเป็นชัคกี้ในเวอร์ชั่นที่ยังไม่ค่อยคลั่งสักเท่าไหร่ แต่ก็ยังให้ความบันเทิงได้อยู่ดี
หนังออนไลน์
ปล. เพลงที่ชัคกี้ร้องเนื้อเพลงน่ารักมาก แต่พอไปร้องในหนังหลายๆ เหตุการณ์ แลดูกวนตีนขึ้นมาทันที 555

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

The Lion King 2019

รีวิว The Lion King 2019

เรื่องย่อ

หลัง สกา (ให้เสียงโดย ชิเวเทล เอจิโอฟอร์) พระอนุชา วางแผนลอบปลงพระชนม์ มูฟาซา (ให้เสียงโดย เจมส์ เอิร์ล โจนส์) และเถลิงอำนาจเป็นกษัตริย์ผู้ครองผาทรนง ทำให้ ซิมบ้า (ให้เสียงโดย โดนัลด์ โกลเวอร์) หน่อเนื้อกษัตริย์แท้ๆต้องเนรเทศตัวเองไปไกลจากผาทรนง จนเขาได้พบกับ 2 คู่หู พุมบ้า (ให้เสียงโดย เซธ โรเจน)หมูป่าจอมป่วนและ ทีโมน (ให้เสียงโดย บิลลี ไอช์เนอร์) เมียร์แคตจอมกวน
จนวันนึงที่ได้พบกับ นาลา (บียอนเซ่) สิงห์สาวคู่หมายวัยเยาว์อีกครั้ง ทำให้ ซิมบ้า ต้องตัดสินใจว่าเขาจะกลับผาทรนงเพื่อพิสูจน์ความกล้าและทวงคืนบัลลังก์อันชอบธรรมของตนอีกครั้งหรือไม่ รีวิว The Lion King  ดูหนังออนไลน์

หลังชิมลางทั้งหนังซูเปอร์ฮีโร่อย่าง Ironman (2008) และ The Jungle Book (2016) หนังประเดิมไลฟ์แอ็คชั่นจากสินทรัพย์แอนิเมชันดิสนีย์ไปแล้ว ก็ถือว่า จอห์น แฟฟโรว์ เหมาะกับการกุมบังเหียน The Lion King ฉบับสิงโตและสารพัดสัตว์แบบสมจริงเสียที มองเผินๆจากโพรไฟล์อาจจะคิดว่างานนี้ แฟฟโรว์เคี้ยวหมูแน่ๆ

แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ อย่าลืมว่า ฉบับแอนิเมชันปี 1994 ถือเป็นงานคลาสสิกระดับชิ้นโบว์แดงที่แฟนๆรักและหวงแหนที่สุด ครองตำแหน่งทั้งแอนิเมชันวาดมือที่ทำเงินสูงที่สุดในโลก เคยกลับมาฉายทั้งแบบ IMAX และ 3D ที่ยังคงประสบความสำเร็จด้านรายได้ระดับปรากฎการณ์เช่นเดิม ดังนั้นการนำผลงานระดับขึ้นหิ้งแบบนี้หากไม่ได้รับดอกไม้ก็คงโดนกิโยตินจากทั้งคนดูและนักวิจารณ์รุมสับกันเละทีเดียว

ปัญหา

จากความเป็น “แอนิเมชันอันเป็นที่รัก” ยังคงเป็นกรอบตีตราให้หนังดิสนีย์ไลฟ์แอ็กชันแทบทุกเรื่องทั้ง The Jungle Book , Beauty and The Beast หรือ Cinderella มาก่อนหน้านี้แล้ว เพราะหากผู้กำกับไม่กล้าบ้าบิ่นแบบ กาย ริชชี ที่เลือกดัดแปลง ให้ Aladdin กลายเป็นนิทานอาหรับราตรีฉบับพังค์ ฮิปฮอป จนสำเร็จไปก่อนหน้านี้แล้วก็คงต้องเลือกดัดแปลง

โดยบิดมุมมองอย่าง Maleficent แต่แล้ว The Lion King กลับเลือกจะเพลย์เซฟ ด้วยการอิงบทดั้งเดิมของ เจฟ นาธานสัน และ เบรนดา แชปแมน แบบแทบทุกกระเบียดนิ้ว ลามไปยันงานภาพที่เหมือนกางกระดาษลอกลายจากฉบับการ์ตูนแบบเกือบเฟรมต่อเฟรม โดยชูเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกมารังสรรค์ให้ภาพ “ดูมีชีวิต” ขึ้นซึ่งก็กลายเป็นดาบสองคมอย่างช่วยไม่ได้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาจถือเป็นคุณูปการสำคัญที่ทำให้ช่วงชีวิตนี้ของผมได้กลับมาชม The Lion King ในโรงอีกครั้งแบบเห็นสิงโตดูเป็นสิงโต นกเป็นนก หมูป่า เมียร์แคต แบบเหมือนมีชีวิตจริงราวดูสารคดีสัตว์โลก กอปรกับภาพวิวทิวทัศน์อันงดงามของผาทรนง แอ่งน้ำอันเต็มไปด้วยนกฟลามิงโก้ และทุ่งหญ้าซาวันนาอันแสนงดงาม แต่ใดๆเลยล้วนไร้ความหมายเพราะตัวละคร

อันเป็นที่รักอย่างซิมบ้า มูฟาซ่า ทีโบน พุมบ้า นาล่า ต่างหากที่เราอยากกลับไปเจอพวกเขาอีกครั้ง
ซึ่งโดยส่วนตัวผมประทับใจจุดนี้นะครับ การได้เห็นราฟิกิอุ้มซิมบ้าน้อยท่ามกลางความปลาบปลื้มของมูฟาซ่า ซาราบี และผองสรรพสัตว์แค่นี้ก็คุ้มเกินคุ้มแล้วล่ะ แถมเหล่าสิงโตน้อยยังน่ารักน่าเอ็นดูชวนอุ้มอย่างกับลูกแมวอีก ยิ่งตอนฉากร้องเพลง I Just Can’t Wait To Be King ที่มีนกฟลามิงโกยิ่งสวยงามเป็นอาหารตาที่เพลิดเพลินมาก

และไฮไลต์สำคัญคงหนีไม่พ้นตัวละครที่เราโตมาพร้อมปรัชญาชีวิต ฮาคูน่า มาทาท่า อย่างทีโมน กับ พุมบ้า ที่ยังคงเป็นเหมือนเพื่อนช่วยปลอบประโลมเรามาตลอดร่วม 25 ปีที่ในหนังแบบสมจริงเราได้เห็น หมูป่า และ เมียร์แคต จอมกวนแต่จริงใจพร้อมไฝ่ว์ แค่นี้ภาพความทรงจำก็เหมือนถูกดึงมาปรากฎตรงหน้าให้ได้อิ่มเอมใจอีกครั้งแล้วล่ะ

และในความสมจริงของเทคโนโลยีซีจีไอก็ย่อมนำมาซึ่งราคาค่างวดสำคัญที่สุดนั่นคือ อารมณ์ร่วม เพราะการที่จะทำให้สัตว์ดูสมจริงย่อมหมายถึงการต้องพึ่ง “ตรรกะ” ในเชิงชีววิทยา เพราะในโลกความจริง สัตว์ไม่สามารถแสดงอารมณ์แบบมนุษย์ได้ แต่ในทางกลับกันเนื้อเรื่องและแก่นสารของ The Lion King คือการตีความบทะครโศกนาฏกรรมระบือโลกของวิลเลียม เชคสเปียร์อย่างแฮมเลต (Hamlet) ให้กลายเป็นนิทานสอนใจ

ดังนั้นเราจึงไม่ได้เห็นสีหน้ากลัวสุดขีดของซิมบ้าน้อย ความกังวลตามหัวอกคนเป็นพ่อของมูฟาซาที่ไม่อยากให้ลูกน้อยถูกควายป่าเหยียบตาย หรือที่สำคัญคือความหน้าเนื้อใจเสือของ สกา ที่มีแผนทุรยศต่อพระเชษฐาตัวเอง ดังนั้นสิ่งเดียวที่คนดูจะได้รู้ว่าเหล่าตัวละครสรรพสัตว์คิด รู้สึกอย่างไร เลยต้องพึ่งพาเสียงพากย์เพียงอย่างเดียว และแน่นอนมันเลยนำไปสู่การเปรียบเทียบสำหรับคนที่ผ่านประสบการณ์ชม The Lion King ฉบับแอนิเมชันปี 1994 ในประเด็นต่อๆมาทั้งเสียงพากย์และเพลงประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ก่อนจะพูดถึงเหล่าดารานักพากย์ สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักคือคราวนี้ จอห์น แฟฟโรว์เลือกให้นักแสดง “แสดง” เป็นตัวละครและพยายามออกแบบการทำงานให้เหมือนพวกเขาได้สวมบทบาทกันจริงๆ ดังนั้นวิธีคิดจะต่างจากการ “พากย์” ที่ต้องให้จังหวะ น้ำเสียงและการแบ่งคำต้องตรงกับแอนิเมชันที่ถูกตัดต่อมาแล้ว เริ่มและหยุด เน้นคำให้หนักตามปากตัวละคร และผลลัพธ์คงต้องพูดตรงๆว่า หลายฉากดูไม่จืดทีเดียว

เพราะในขณะที่นักแสดงถ่ายทอดอารมณ์สมจริงตามตัวละครแต่ “ตัวละครที่ดูสมจริง” กลับให้ภาพแค่พะงาบๆปากเปิดปิดเฉยๆ จนเสียงกับสีหน้าตัวละครไม่สัมพันธ์กัน แม้กระทั่ง เจมส์ เอิร์ล โจนส์ ที่กลับมาพากย์มูฟาซ่า เราก็ยังไม่รู้สึกถึงความเมตตาหรือความรักต่อลูกที่หนักแน่นดังหินผาเหมือนฉบับแอนิเมชันนัก

ซึ่งวิธีการนี้มันพอไปรอดกับฉากคอเมดี้ทั้ง ซิมบ้า นาล่า ตอนเป็นสิงโตน้อย และ พุมบ้า กับ ทีโบน ที่อาศัยบุคลิกตลกๆของหมูป่ากับเมียร์แคตแล้วเสริมด้วยเสียงพากย์จากดาราตลกเข้าไปได้อย่างไม่สะดุดเท่าใดนัก

แต่รอยด่างพร้อยที่สุดของงานพากย์คงหนีไม่พ้นตัวละคร สกา จริงอยู่ว่า ชิเวเทล เอจิโอฟอร์ อาจเคยเล่นเป็นผู้ร้ายมาบ้าง แต่กลับ สกา ที่เสียงของ เจเรมี ไออ้อน ยังคงดังกังวาลในความทรงจำของผม เสียงทุ้มต่ำของ ชวีเทล เลยกลายเป็นโทนต่ำชวนง่วงและไม่นำพาอารมณ์ร่วมไปอย่างน่าเสียดาย

และอีกองค์ประกอบที่หลายคนจับตามองคืองานเพลงประกอบหนัง สำหรับดนตรีประกอบของฮานส์ ซิมเมอร์ ก็ยังสามารถกินบุญเก่า บวกปรับปรุงให้อลังการขึ้นเอาตัวรอดได้สบาย แต่กับงานออกแบบ-ตีความเพลงประกอบหนังใหม่ของ ฟาเรล วิลเลียม ที่โดยส่วนตัวก็ถือว่ารับเผือกร้อนไม่ต่างจากจอห์น แฟฟโรว์ ผู้กำกับหนังต่างหากที่เหมือนแต่ละเพลงผ่านไปก็โดนคนดูตัดเกรดไปเรื่อยๆ

ซึ่งสำหรับเพลง Circle of Life อันนี้คือแทบเหมือนเดิมก็ยังไม่เลวร้ายนัก I Just Can’t Wait To Be King ได้เสียงใสๆของ เจดี แมคเครรี และ ชาฮาดี ไรต์ โจเซฟ มาดูเอตก็ยังฟังน่ารักดี รวมถึงเพลง Hakuna Matata ก็ยังเอาตัวรอดได้ด้วยเสน่ห์ของ นักพากย์ที่ร้องได้มีสีสัน แต่จุดผิดพลาดแบบให้อภัยไม่ได้ของ ฟาเรล วิลเลียม จริงๆคือการเลือกขลิปเพลง Be Prepare ของ สกา ออก ไม่แน่ใจว่าเพราะ ชิเวเทล เอจิโอฟอร์ร้องไม่ได้หรืออย่างไร

แต่ความสำคัญของมันหนักหนามากหากใครได้ดู เวอร์ชัน ต้นฉบับที่เจเรมี ไอออน ร้องไว้ เพราะมันสื่อถึงความเจ้าเล่ห์ ความทะเยอทะยานของสกาได้อย่างหมดจด และทำให้เราเข้าใจว่าทำไมสกาถึงเจ็บแค้น มูฟาซา มาก ซึ่งการเลือกขลิปเพลงให้สั้นเลยทำให้สารตรงนี้ไม่ออกและทำให้การลอบปลงพระชนม์มูฟาซาของสกาเป็นเพียงความทะเยอทะยานเท่านั้นเอง


ด้านเนื้อเพลง

และแน่นอนเพลง Can You Feel The Love Tonight ที่ของเดิมขึ้นแท่นเพลงประกอบภาพยนตร์สุดโรแมนติกก็กลับมาในฉบับ R&B ซึ่งยอมรับว่าไพเราะน่าฟังนะครับ แต่พอมาประกอบกับภาพหนังกลับรู้สึกว่าไม่เข้ากัน การเอื้อนของทั้ง บียอนเซ่ และ โดนัลด์ โกลเวอร์ กลับทำให้ไม่รู้สึกเหมือนตัวละครกำลังร้อง มันเลยกลายเป็น มิวสิกวีดีโอ ของ บียอนเซ่ และ ไชล์ดิช แกมบีโน่ ที่มีภาพจาก The Lion King ไปประกอบเสียมากกว่า

หากยึดตามคำพูดของมูฟาซาที่ว่า ช่วงเวลาของคิงมีทั้งขึ้นเหมือนพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณและดับสลายเหมือนยามอัศดงแล้ว ก็ยังถือว่า The Lion King คือการต่อช่วงเวลาอันรุ่งเรืองของดิสนีย์ได้ดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะผลประโยชน์มากมายที่ตามมาทั้งสินค้าจากหนังรวมถึงมูลค่าของคาแรกเตอร์ที่สามารถสานต่อรายได้เข้าอาณาจักรได้ไม่รู้จบ และแม้จะขัดใจแฟนแอนิเมชันต้นฉบับแค่ไหนแต่เชื่อเถอะว่าลึกๆยังไงเราก็ยังอยากกลับไปเจอเพื่อนเก่าที่เรา “โตมาด้วยกัน” อีกครั้งแน่ๆ เอาล่ะ ท่องไว้ว่า ฮาคูน่า มาทาท่า แล้วไปสนุกกับเหล่าตัวละครอันเป็นที่รักของ The Lion King กันทั้งครอบครัวกันดีกว่า

ข้อดี ของหนังเรื่องนี้สำหรับผมก็คือ CG ภาพ ฉากในหนังมันดูสมจริงๆ สวย ลื่นไหลดีมากๆ แค่ตีตั๋วเข้าไปชมก็คุ้มค่าแล้ว อีกอย่างคือเพลงประกอบ ฟังแล้วขนลุกหลายรอบ มันดูยิ่งใหญ่ (ตอนเด็กๆดูจนร้องเพลงตามได้ เพราะทุกเพลง)

ถามว่าอะไรแย่ในหนัง ทุกคนน่าจะตอบคล้ายๆกันคือมันสมจริงมากๆ จนตัวละครขาดอารมณ์ทางสีหน้า มันดูแข็งๆ ดูแปลกๆ แถมตัวละครยังหน้าตาไปในทางเดียวกันอีก จนบางครั้งงงว่านี่ใครกัน(ไฮยีน่านี่หน้าเหมือนกันทุกตัวไม่ค่อยมีเอกลักษณ์ฺ)

สรุป

ถ้าถามว่าชอบมั้ยก็บอกว่าชอบนะครับ แต่ก็สู่เวอร์ชั่นต้นฉบับไม่ได้ อันนั้นคือตำนานจริงๆ ดูกี่รอบก็ชอบ สำหรับ Live action นี้ก็ต้องบอกว่าอาจจะไม่ได้ชอบทั้งหมดแต่มันก็เป็นหนังที่ดีมากๆ แนะนำจริงๆ ว่าคุ้มค่าตั๋วแน่นอน หนังถ่ายทอดสด

Anna - สวยสะบัดสังหาร

รีวิว Anna - สวยสะบัดสังหาร

ภาพยนตร์แอ็กชัน-เขย่าขวัญ ที่มีฉากหลังเป็นวงการแฟชั่นไฮโซสุดตระการตา หลังจากถูกค้นพบโดยแมวมองนางแบบ แอนนา โปเลียโทว่า (ซาช่า ลุสส์) สาวสวยชาวรัสเซีย ก้าวขึ้นมาเป็นนางแบบแถวหน้าและเป็นแฟชั่นไอคอนระดับโลก แต่แอนนามีด้านที่ซ่อนไว้มากกว่าที่คนทั่วไปได้เห็น

ภายใต้ความงามไร้ที่ติของเธอนั้นคือการใช้ชีวิตอยู่ในโลกสายลับสุดอันตรายที่ก้าวพลาดแม้แต่ก้าวเดียวมันหมายถึงชีวิต ร่วมแสดงโดยทีมนักแสดงคุณภาพนำโดยเฮเลน เมียร์เรน คิลเลียน เมอร์ฟี และ ลุค อีแวนส์ รีวิว Anna - สวยสะบัดสังหาร ดูหนังออนไลน์

เรื่องย่อ

สำหรับเรื่อง แอนนา นั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ อันนา เด็กสาวผู้ตกอับในชีวิต ถูกเลือกให้มาเป็นสายลับ KGB ให้กับทางรัสเซีย โดยภาระกิจล่าสุดที่เธอต้องแผงตัวไปทำนั้น หน้าฉากคือการเป็นซูเปอร์โมเดลในฝรั่งเศส และเมื่อเวลาผ่านไปเธออยากจะวางมือ เธอจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ตัวเองได้เป็นอิสระจากงานสายลับนี้ให้ได้

ผลงานชิ้นใหม่ของผู้กำกับหนังแอ็กชั่นตัวพ่อ ลุค เบสซง ที่พูดชื่อไปก็ไม่ต้องอ้างอิงแล้วว่าทำผลงานโบว์แดงอะไรมาบ้าง สำหรับในเรื่องนี้เขากลับมาทั้งกำกับ เขียนบท และโพรดิวซ์ อีกครั้ง โดยครั้งใดที่ป๋าแกมาเต็มสูบทุกตำแหน่งหลักขนาดนี้ ถึงจะไม่อาจรับประกันความสำเร็จสูงสุดได้

แต่ที่แน่นอนคือหนังเรื่องนั้นย่อมมีสิ่งไม่ธรรมดาแบบไม่ธรรมดาเอามาก ๆ อยู่แน่นอน ไม่ว่าจะ Léon: The Professional (1994) The Fifth Element  (1997) หรือยุคใกล้มาหน่อยอย่าง Lucy (2014) และ Valerian and the City of a Thousand Planets (2017) ก็จะเห็นว่าเป็นหนังมีของแรง ๆ ที่ผสมแนวแอ็กชันเข้ากับความแฟนตาซีในแง่ใดแง่หนึ่งทั้งนั้น ซึ่งใน ANNA อาจดูเหมือนไม่ค่อยแฟนตาซี แต่เอาจริงมันก็มีความเอนเตอร์เทนแบบที่เกินจริงอยู่เช่นกัน

Luc Besson ถือเป็นผู้กำกับอีกคนที่มีสไตล์การทำหนังที่เฉพาะตัว เป็นของตัวเองมาก และมีผลงานหนังแอคชั่นสุดคลาสสิคมากมาย และหนึ่งในเรื่องที่ผมชอบมาตั้งแต่สมัยเด็ก คงหนีไม่พ้นเรื่อง The Fifth Element ภาพยนตร์แอคชั่น Si-Fi ที่เนื้อเรื่องในสมัยนั้นไม่ได้มีคนตอบรับดีๆ เท่าไหร่ แต่กลับกันมาในยุคปัจจุบัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์คลาสสิคของผู้กำกับคนนี้ไปแล้ว

ครั้งนี้ความน่าสนใจอีกอย่างคือ เบสซง กลับมาปั้นดารานำหญิงแอ็กชั่นแบบที่หน้าใหม่มาก ๆ คล้ายตอนปั้น นาตาลี พอร์ตแมน ในเรื่อง Léon ในขณะที่ ซาช่า ลุสส์ อาจได้เปรียบนิดตรงเคยผ่านบทรองในหนัง Valerian มาก่อนหน้า และมีโฆษณากับเล่นเอ็มวีมาบ้างนิดหน่อย แต่กระนั้นเรื่องนี้ก็ถือเป็นบทนำในหนังใหญ่ครั้งแรก และถึงนับทุกชิ้นงานเล็ก ๆ ที่ว่ามา หนังเรื่องนี้ก็แค่ผลงานบันเทิงชิ้นที่ 5 ของเธอเท่านั้นเอง และก็คล้าย Léon ที่มี ฌ็อง เรโน และ แกรี่ โอลด์แมน มาทำหน้าที่ครูสอนเด็กใหม่ ในเรื่องนี้เบสซงยังใช้ดารามากฝีมือรุ่นเก๋ามาประคองดาราใหม่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เฮเลน เมียร์เรน คิลเลียน เมอร์ฟี และ ลุค อีแวนส์ ซึ่งก็ช่วยรับประกันแกนของหนังว่าจะไม่ต้องโยนให้น้องหนูนางแบบหน้าสวยต้องแบกเพียงลำพังจนเกินไป

ข้อกล่าวหาสำคัญที่คงปฏิเสธยากคือ มันแค่หนังที่มีคนหน้าตาดีเล่นหรือเปล่า เพราะด้วยใบหน้าสวยแนวนางแบบของ ซาช่า ลุสส์ กับแนวหนังบู๊ที่ไม่ต้องอาศัยศักยภาพด้านการแสดงอะไรมากนัก แต่ตัวหนังก็มีการพัฒนาตัวละครในแบบที่ไม่กลวงเปล่าขนาดที่ใครจะดูถูก แม้จะมีความเอ๊ะ ๆ ชวนตะหงิดใจในเรื่องที่มาที่ไปในวัยเด็กมาเป็นสาวข้างถนน ก่อนตัวเอกจะเข้าสู่โลกนักฆ่านิดหน่อยก็ตาม แต่พอหนังเข้าเรื่องราวที่นางเอกต้องเข้าสู่โลกของนางแบบเพื่อปฏิบัติภารกิจลอบฆ่านั่นล่ะ ที่จะรู้สึกว่า เบสซง กำลังทดลองแนวทางใหม่ ๆ ในหนังสปายของตัวเอง

ไม่ว่าจะเรื่องสายลับหลายหน้าที่ผสมผสานกับเรื่องราวชีวิตนางแบบอย่างหนักหน่วงในครึ่งแรก ก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มรายละเอียดแผนซ้อนกันไปมาระหว่างการชิงความได้เปรียบระหว่าง KGB ของโซเวียต กับ CIA ของอเมริกา โดยมีตัวเอกอย่างแอนนาเป็นหุ่นเชิดที่วิ่งเต้นไปมาบนสนามประลองอำนาจ อันทำให้ครึ่งหลังของหนังกลายเป็นหนังสายลับแบบเต็มสูบ โดยมีฉากแอ็กชันแซมอยู่เป็นระยะ ซึ่งส่วนตัวรับได้กับหนังหลากแนวจึงไม่ได้ซีเรียสหรือรู้สึกว่าความสนุกของหนังลดลง

หากแต่แปรเปลี่ยนความสนุกในแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็พอเข้าใจได้ว่าหากบางคนเข้ามากะดูหนังแอ็กชั่นแบบ Taken แบบ John Wick เต็มสูบ อาจรู้สึกว่าไม่อิ่มใจก็เป็นได้ ทั้งนี้สำหรับแฟนหนัง ลุค เบสซง มันคือหนังในแบบที่ลุคไม่ค่อยได้ทำให้เราดู ทั้งยังผสมผสานท้าทายตัวเองด้วยรูปแบบสารพัด อันจะพยายามปลีกตัวเองออกจากหนังเก่า ๆ ของตนเอง และที่สำคัญให้ออกจากหนังแนวสายลับเรื่องก่อน ๆ ที่มีมาแล้วบนโลก

มันไม่ใช่หนังสายลับแอ็คชั่นจ๋า หรือโลกนักฆ่าอย่าง John Wick ฉากแอ็คชั่นก็ไม่ได้เยอะ แต่มันก็มีฉากแอ็คชั่นที่น่าจดจำเหมือนกัน (เช่นฉากในร้านอาหารที่เราเห็นในตัวอย่าง) ในตัวหนังจริงมันส์มากและเท่กว่าเยอะ! แต่กลับกัน ฉากแอ็คชั่นตอนท้ายเรื่องทำออกมาไม่ค่อยดีเลย รู้สึกขัดๆ ยังไงก็ไม่รู้ เหมือนตัวเธอเหนื่อยยังไงยังงั้น ขนาดใช้มุมกล้องช่วยแล้วนะ แต่มันก็ดูคนละเรื่องกับฉากในร้านอาหารเลยจริงๆ แถมจุดที่โคตรขัดอีกอย่างคือ ไอ้พวกที่สู้กับนางเอกบางคนเป็นทหาร เป็นบอดี้การ์ด ยิงปืนไม่โดนนางเอกกันเลยสักนัดเนี่ยนะ!!! มันใช่หรอออออ!!!

และมันก็ไม่ใช่หนังสายลับจ๋าๆ เหมือนกัน ฉากการทำภารกิจโดยรวมถูกบอกเล่าอย่างรวดเร็ว ด้วยความที่เป็นสายลับหญิงมันน่าจะมีอะไรที่มากกว่าการเอาปืนมายิงฆ่ากันหรือเตะต่อย เราแทบจะไม่ได้เห็นประโยชน์ของการเป็นสายลับหญิงหรือการใช้มารยาหญิงเท่าไหร่เลย เช่นพวกการเค้นข้อมูลจากปากเป้าหมาย หรือหลอกล่อให้ติดกับ นับว่าน่าเสียดายเหมือนกัน


โดยรวมแล้วนั้นการเล่าเรื่องถึงแม้ว่าจะไม่ได้หวือหวา หรือแปลกใหม่อะไร แต่ด้วยความที่เป็นหนังของ Luc Besson กำกับ สไตล์การเล่าเรื่องจะออกไปทางคล้ายๆ หนังสายลับเก่าๆ คลาสสสิคที่ผู้กำกับคนนี้เคยทำ รวมไปถึงลักษณะการเล่าที่เรียกได้ว่าแหวกแนวมาก ถ้าจะให้ยกตัวอย่างแบบไม่สปอยเนื้อเรื่องคงบอกได้เพียงว่า หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องแบบเดินหน้า 2 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว ยาวๆ ไปตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องเลย

ถึงกระนั้นด้วยความที่มีการเล่าเรื่องแบบนี้ถ้าเป็นหนังยุคก่อนปี 1980-1990 คงจะตื่นตาตื่นใจไม่น้อย แต่โดยรวมแล้วพอมันกลายมาเป็นหนังยุคนี้มันเลยทำให้ดูล้าสมัย และด้วยความที่มีการย้อนการเล่าเรื่องบ่อยมาก แทนที่หลังๆ ตัวหนังจะดูเท่ห์และให้ฉากการเล่าเป็นไฮไลท์ในการเฉลยปม กลับกลายเป็นยิ่งมีการเล่าย้อนตัวหนังโดยรวมดูตลงขึ้นมาทันทีเลยทีเดียว

สรุป

เป็นหนังที่สวยสะบัดสังหารสมชื่อจริงๆ ความสนุกของมันคือการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างแอ็คชั่นและการเล่าเรื่องที่ดูได้เพลินมาก ไม่น่าเบื่อเลยสักฉาก มีความกวน ความปั่น และบันเทิงจริงๆ เรียกได้ว่าเซอร์ไพรส์กับความสนุกเลยทีเดียว

แต่ด้วยส่วนตัวนั้นค่อนข้างเฉยๆ กับหนังเรื่องนี้มาก อาจเป็นเพราะการเล่าเรื่องสไตล์นี้ ในยุคปัจจุบันนี้อาจจะไม่ทันสมัย และดูแปลกใหม่อะไร

แต่ถ้ามองว่าเป็นหนังย้อนยุคเมื่อ10-20 ปีก่อนคงสนุกขึ้นได้ไม่มากก็น้อย และไม่แน่ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า หนังเรื่องนี้อาจจะขึ้นหิ้งคลาสสิคอีกเรื่องก็เป็นได้ โปรแกรมหนัง

ซึ่งสุดท้ายหนังอาจไม่ใช่ผลงานที่น่าจดจำมากมาย แต่มันก็มอบ ความสนุกตา-สนุกคิด ในขณะที่ดูหนังอย่างมีนัยยะสำคัญ และที่สุด ลุสส์ ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเธอมีดีมากกว่าแค่เดินสวย ๆ ไปมาในหนังด้วย

Spider-Man Far From Home

รีวิว Spider-Man Far From Home

หลังสร้างปรากฎการณ์สุดไฮป์ให้เหล่าสาวกซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวลกันไปแล้วจาก Avengers : Endgame ความคาดหวังกับ Spider-Man Far From Home ก็ย่อมสูงตามไปด้วย เนื่องจากมันถูกวางให้กลายเป็นหนังปิดเฟส 3 เพื่อปูทางไปสู่เฟส 4 หลายคำถามก็ถาโถมกับการมาของหนังเรื่องนี้ ทั้งสไปเดอร์แมนจะเป็นผู้นำอเวนเจอร์สคนต่อไปหรือไม่

หรือหลังเหตุการณ์ดีดนิ้วของธานอสจะกลายเป็นการมิติเวลาให้มาร์เวลได้นำซูเปอร์ฮีโร่ตัวอื่นๆ ที่เคยไปอยู่กับฟอกซ์มาร่วมใน MCU หรือไม่ ซึ่งก็เหมือนผู้สร้างอย่าง เควิน ไฟกี จะเข้าใจแฟนๆ ดีดังนั้นมันจึงนำมาสู่การคิดพลอตสำหรับปิดเฟส 3 นี้เพื่อให้ทุกคนตั้งตารอเฟสต่อไป ซึ่งในทางหนึ่งความเสี่ยงสำคัญคือหากมันไม่ได้ทำให้แฟนๆพอใจนัก มันก็จะลงเอยเป็นรอยด่างพร้อยสำหรับหนังปิดเฟส 3 เรื่องนี้ รีวิว Spider-Man Far From Home  ดูหนังออนไลน์

เรื่องย่อ

โรงเรียนจัดทริปไปยุโรปทั้งที งานนี้ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ (ทอม ฮอลแลนด์) กะขอพักภารกิจไอ้แมงมุมไว้ชั่วคราว แต่ทริปสุดโรแมนติกที่เขาวางแผนจะบอกความในใจกับ เอ็มเจ (เซนดายา) ก็มีอันพังครืนเมื่อเหล่าอสูรธาตุทั้ง 4 บุกทำลายเมืองสำคัญของโลกที่ซวยคือดันตามมาราวีเขากับเพื่อนๆ ซะอีกนี่ โชคยังดีที่เขาได้เจอกับ มิสทีรีโอ (เจค จิลเลนฮาล) ยอดมนุษย์จากเอิร์ธ 833 ที่อาสามาช่วยปีเตอร์ ตามคำเชิญของ นิค ฟิวรี (แซมมวล แอล แจ็คสัน) งานนี้นอกจากปีเตอร์จะต้องจำยอมมาสวมชุดสไปเดอร์แมนปกป้องโลกแล้ว เขายังต้องพิสูจน์ว่าตัวเองคู่ควรกับความไว้วางใจจากโทนี สตาร์คเพื่อเป็นผู้นำฮีโร่คนต่อไป

สิ่งที่เราพอจะบอกได้แบบไม่สปอยล์เนื้อหาสำคัญคือบทหนังมีลูกเล่นที่ดีประมาณหนึ่ง มันพยายามสานต่อและตั้งคำถามหลังการจากไปของโทนี สตาร์ค ใน Avengers : Endgame ว่าถ้าโลกไร้ผู้นำอย่างไอรอนแมนหรือการเปลี่ยนตัวกัปตันอเมริกาแล้วจะเกิดอะไรขึ้น โดยที่ยังพยายามเล่าเรื่องไม่ให้เกินขอบเขตของการเป็นหนัง Spider-Man ซึ่งมันเลยไปเน้นความขัดแย้งภายในของตัวละครปีเตอร์ พาร์คเกอร์ที่เขารู้สึกว่าในขณะที่ตนอายุแค่ 16 ปีทำไมต้องมาแบกรับภารกิจกู้โลก

รวมถึงต่อให้ตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่เขาก็ไม่มั่นใจอยู่ดีว่าเอ็มเจจะชอบเขาหรือชอบสไปเดอร์แมนกันแน่ ดังนั้นมันจึงเล่นกับภาวะความไม่แน่ใจนี้ไปทั้งเรื่อง บวกกับการสร้างตัวละครอย่าง มิสทีริโอ ชายลึกลับผู้มาจากเอิร์ธ 833 (โลกของเหล่าอเวนเจอร์คือเอิร์ธ 616) ผู้มาพร้อมพลังมหาศาลมาต่อกรกับเหล่าอสูรกายจตุรธาตุ ยิ่งเห็นว่าคนมาใหม่เก่งแค่ไหนหลุมดำในใจของปีเตอร์ก็ยิ่งถ่างออกมากเท่านั้น และภาวะความลักลั่นยังไม่จบเพียงเท่านั้น หลังนิค ฟิวรี ยื่นแว่นอีดิธ (EDITH) ของโทนี่ สตาร์คให้ (โทนี่ตั้งชื่อแว่นจากประโยค Even [I’m] Dead I’m The superHero)

ก็ยิ่งทำให้เขาเกิดคำถามว่าตัวเองคู่ควรกับความไว้วางใจของโทนี่หรือไม่ ดังนั้นภารกิจหลักในหนังมันจึงเหมือนแบบทดสอบสุดหินให้ ปีเตอร์ ต้องเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดในทุกข้อ แต่อย่าลืมนะครับว่าเขาเป็นเพียงเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งดังนั้นความสนุกจึงมาจากการที่ปีเตอร์เลือกข้อที่ผิด แล้วค่อยตามแก้ไขนี่แหละ ซึ่งถือเป็นการสะท้อนให้เห็นปัญหาของเด็กยุคมิลเลนเนียลได้อย่างเห็นภาพเลยว่าในขณะที่พวกเขาต้องการเป็นตัวเองก็กลับต้องมาแบกรับความคาดหวังของผู้ใหญ่จนหลายครั้งก็เลือกที่จะดื้อและเดินไปในทางที่ผิดบ้าง

ว่ากันถึงจุดที่ผมคิดว่ายิ่งเขียนยิ่งเสี่ยงสปอยล์มากๆ คือตัวผู้ร้าย เพราะถือว่าเป็นทั้งจุดที่ดีและจุดบอดของบทหนังอยู่เหมือนกัน โดยสิ่งที่เราพอจะบอกได้เกี่ยวกับผู้ร้ายหรือวิลเลียน (Villian) องค์ประกอบสำคัญสำหรับหนังซูเปอร์ฮีโร่ในภาคนี้ คือมันพยายามหักเหทิศทางการเล่าเรื่องให้ต่างจากฉบับคอมิค และปัญหาสำคัญคือสำหรับคนอ่านคอมิกคือการ “รู้ก่อน” หนังฉายแล้วว่าชื่อตัวละครตัวนี้คือใคร มีที่มาอย่างไร

และแม้ทางผู้สร้างจะพยายามหักเหให้มันต่างจากฉบับเดิมเพื่อสร้างเซอร์ไพรส์ ยังไงมันก็กลับมาลงล็อกให้คล้ายคอมิกเหมือนเดิมอยู่ดีและที่สำคัญการเปลี่ยนรายละเอียดแบบพลิกฝ่ามือก็เคยสร้างความขุ่นเคืองใจให้แฟนคอมิกมาแล้วจากหนึ่งในหนังจักรวาล MCU แต่ก็ต้องยอมรับว่าการ ‘ดัดแปลง’ ครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในการให้มันกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับหนังสำหรับปิดเฟส3 และที่สำคัญมันยังสะท้อนถึงภัยร้ายที่มากับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ดีทีเดียว แม้ว่าจะแลกมาด้วยความสมเหตุสมผลของเรื่องแบบเลี้ยวหักศอกไปบ้างก็ตาม

อย่างไรก็ตามจุดแข็งสำคัญสำหรับหนัง Spider-Man รอบนี้คงเป็นการวางโทนคอเมดีจากผู้กำกับอย่าง จอน วัตส์ ที่แข็งแรงมากๆตั้งแต่ Spider-Man Homecoming (2017) ทั้งมุกที่ให้ตัวละครรอบตัวปีเตอร์ที่โรงเรียนอย่าง เนด ที่ได้ จาคอบ บาตาลอน มาปล่อยมุกฉบับเพื่อนตุ้ยนุ้ยสุดเนิร์ดที่คราวนี้ยิ่งได้โอกาสขโมยซีนหนักข้อเมื่อบทหนังให้เขาได้มีบทกุ๊กกิ๊กโรแมนติกกับ เบตตี ที่ยังได้ แองเกอเรีย ไรซ์ มารับบทลูกคุณหนูสุดแอ๊บ แถมเคมีเข้ากันแบบเจอหน้าทั้งคู่ทีไรเตรียมฮาได้เลย แถมในทริปยุโรปครั้งนี้ยังได้ตัวละครรุ่นครูอย่าง มิสเตอร์เบล รับบทโดย เจบี สมูฟ และมิสเตอร์แฮริงตัน รับบทโดย มาร์ติน สตารร์ มาคอยขโมยซีนด้วยบทครูที่ไม่อาจฝากผีฝากไข้อะไรได้เลยเรียกเสียงฮาไปหลายก๊ากอยู่

เสริมทัพด้วยซับพลอตแอบโรแมนติกระหว่างป้าเมย์คนสวย รับบทโดย มาริสา โทเมอิ กับ แฮปปี โฮแกน รับบทโดย จอน ฟาฟโร ที่ปีเตอร์แอบตะหงิดๆในความสัมพันธ์ทั้งคู่อยู่ นอกจากนี้หนังยังเต็มไปด้วยมุกตลกที่มาทั้งการใช้เพลง I will always love you ในฉากเปิดเรื่องแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยก่อนหนังจะเฉลยและสร้างความฮาเปิดม่านแบบคนดูไม่ทันตั้งตัว เรียกง่ายๆว่าใครหวังมาคลายเครียดก็จะได้ความฮาเป็นของแถมควบคู่ไปกับฉากแอ็คชั่นแน่นอน

มาถึงนักแสดงนำอย่าง ทอม ฮอลแลนด์ ในภาคนี้เขาต้องแบกรับบทดราม่า ซึ่งก็ถือว่าทำได้ดีเลยเพราะเขาสามารถถ่ายทอดความเป็นปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ที่คราวนี้ต้องแบกความคาดหวังจากโทนี สตาร์ค ที่เสมือนพ่อบุญธรรม แถมยังต้องตั้งคำถามกับบทบาทและที่ยืนของตัวเองทั้งในโลกซูเปอร์ฮีโร่และการเป็นเด็กไฮสคูลได้อย่างยอดเยี่ยม



และที่สาวๆ น่าจะเคลิ้มที่สุดก็เห็นจะเป็นอารมณ์โรแมนติกแอบเนิร์ดระหว่างเขากับ เอ็ม เจ ที่รับบทโดยสาวสวยหน้าเก๋ เซนดายา ที่เราต้องลุ้นตั้งแต่เปิดเรื่องยันฉากจบว่าทั้งคู่จะได้ลงเอยกันมั้ย จนหนังภาคนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวลที่มีกลิ่นอายของหนังวัยรุ่นตลกโรแมนติกยุค 90 ที่สุดแล้ว ซึ่งก็ถือว่าเป็นการขยายฐานสู่แฟนหนังสายหวานได้ดีเลยทีเดียว

เป็นหนังที่สืบจักรวาล Marvel ได้อย่างดีมากๆ สำหรับตัวผมมันมีความแปลกใหม่ ตัวบทตัวเนื้อเรื่องหลอกคนดูตั้งแต่ตัวอย่างหนัง ขนาดเข้าไปดูแล้วยังหลอกแล้วหลอกอีก หลอกฉากต่อฉาก รวมไปถึงฉาก End Credit ที่พีคที่สุดเท่าที่เคยดูมา ยอมรับใจคนที่ดำเนินหรือครีเอทีฟจักรวาล Marvel จริงๆ หลังจากจบ Avenger ก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้จะน่าสนใจอะไร จนมาดูจึงรู้ว่าคิดผิด เพราะ Spider Man Far from home นี่มันดีมากๆ จริงๆ  และมันยิ่งใหญ่มากๆ เมื่อได้ดูในระบบ Imax ฉากและภาพสวยมากจริงๆ

เมื่อเข้าไปดูในระบบ IMAX ยอมรับว่าภาพสวยมากกกกกกกกกกก!!! ไม่เสียใจเลยที่ไปดู ส่วน 3D ก็ดีมากฉากมีมิติทุกฉาก (หนังบางเรื่องภาพก็จะไม่ได้มีมิติมากนัก) ฉากทุกฉากสวยหมด สวยจนอยากบอกให้ทุกคนมาดูในระบบนี้ ฉากเที่ยวคือสวยมากเหมือนกับเราไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นเลย ฉากสู้ก็อลังการมากในระบบนี้ ยังไงก็อยากให้ทุกคนไปดูในระบบนี้ครับ เพราะเรื่องนี้ทำมาให้ดูใน IMAX จริงๆ

ส่วนที่ดีที่สุดของหนังเรื่องนี้คือ ตัวบทและเนื้อเรื่องครับ ด้วยหนังฮีโร่ เราก็จะเจอแต่เนื้อเรื่องเดิมๆ ซ้ำซาก แต่เรื่องนี้ต่างออกไป คือหลอกเราตั้งแต่ตอนดูตัวอย่างหนังแล้ว พอมาดูหนังก็ยังหลอกแล้วหลอกอีก หลอกจน End Credit คือไม่เคยเจอหนังฮีโร่ที่ทำให้เราเซอร์ไพร์สได้เยอะขนาดนี้ ดูจบแล้วรู้สึกอิ่มใจมาก มันดีมากจริงๆครับ จากภาคแรกที่รู้สึกธรรมดามากๆ แต่ภาคนี้มันดีเกินไปจริงๆ ครับ

และด้วยหนังมีโทนน่ารักขบขัน แต่ทุกฉากแฝงความเคร่งเครียดไว้เสมอ ทำให้ทุกคนดูสนุกไม่ตึงจนเกินไป และนักแสดงที่ชอบมากๆคือ Zendaya ที่แสดงเป็น MJ แสดงดีมาก เท่มาก คือเหมาะกับพระเอกเรามากจริงๆ เคมีเข้ากันพอดี

สรุป
โดยภาพรวมถือว่า Spider-Man Far From Home ยังคงรักษามาตรฐานหนังซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวลไว้ได้อย่างเหนียวแน่นในแง่ของความบันเทิงควบคู่กับมาตรฐานโปรดักชัน โดยนอกจาก บทภาพยนตร์ งานกำกับและการแสดงแล้ว อีกจุดไฮไลต์คงหนีไม่พ้นงานประพันธ์สกอร์ของ ไมเคิล กีแอคชีโน ที่ยังคงจับบรรยากาศของสถานที่ต่างๆในยุโรปใส่มาให้เราฟังแบบแทบจะเหมือนเดินเที่ยวกับตัวละครได้เลย

ควบคู่ไปกับงานกำกับภาพของ แมตธิว เจ ลอยด์ ที่เลือกใช้กล้องเรือธงล่าสุดของ RED อย่าง RED RANGER 8K VV ที่ให้ภาพคมชัด จับคอนทราสต์ได้กริบมาก ยิ่งผนวกกับการถ่ายซีนสำคัญตามสถานที่ต่างๆในยุโรปยิ่งน่าหลงไหล  โดยเฉพาะซีนกลางคืนที่ต้องบอกว่าหนังถ่ายได้สวยมากครับ เอาล่ะรีวิวมาขนาดนี้ เลี่ยงสปอยล์ขนาดนี้ คงไม่พลาดกันแล้วล่ะเนอะ เว็บดูหนัง

ปล. มีฉากหลังเอนด์เครดิต 2 ฉากนะครับ มีความสำคัญกับเรื่องราวในเฟสต่อไปแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Angel Has Fallen ผ่ายุทธการ ดับแผนอหังการ์

รีวิว Angel Has Fallen ผ่ายุทธการ ดับแผนอหังการ์

ภาคแรก Olympus Has Fallen (2013) ไมค์ แบนนิ่ง ต้องปกป้องประธานาธิบดีที่โดนผู้ก่อการร้ายบุกถล่มทำเนียบขาว ภาคต่อมา London Has Fallen (2016) ไมค์ แบนนิ่ง และประธานาธิบดีเดินทางไปลอนดอน ไมค์ แบนนิ่ง ต้องพาประธานาธิบดีหนีตายจากการไล่ล่าของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ด้วยแนวคิดหนังที่ว่าด้วยวีรกรรมของไมค์ แบนนิ่ง ในการปกป้องชีวิตของประธานาธิบดีจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายในสถานที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาค

ทำให้คนดูคาดเดาว่าเมื่อมีการสร้างภาค 3 ก็จะต้องเล่าวีรกรรมของไมค์กับประธานาธิบดีในสถานที่ที่ต่างออกไปอีกครั้ง ก็นับว่าเป็นจุดที่น่าชื่นชมสำหรับทีมผู้สร้าง ที่เลือกก้าวออกจากรูปแบบของหนัง ไม่ตามกรอบที่ภาค 1 ภาค 2 ดำเนินไว้ แต่เลือกเล่าในทิศทางที่ต่างออกไป รีวิว Angel Has Fallen ผ่ายุทธการ ดับแผนอหังการ์  ดูหนังออนไลน์

ไม่คิดเลยว่าหนังอย่าง Olympus Has Fallen จะเดินทางมาจนมีถึง 3 ภาคได้ถ้าโคนันคือตัวซวยไปไหนก็มีคนตาย ไอ้ Mike Banning นี่ก็คือตัวซวยเช่นกัน เป็นคนอารักขาประธานาธิบดีที่พาชิบหายทุกครั้งไป ตั้งแต่ภาคแรกปกป้องประธานาธิบดีในทำเนียบขาวใน Olympus Has Fallen (2013) พอมาภาคสองใน London Has Fallen (2016) ต้องเดินทางไป London ก็โดนคนร้ายไล่ฆ่าประธานาธิบดีอีก และมาในภาคนี้ประธานาธิบดีก็ยังโดนอีก!!! แต่มันแตกต่างกันออกไปตรงที่ คราวนี้ Mike โดนใส่ร้ายว่าเป็นตัวตั้งตัวตีวางแผนสังหารประธานาธิบดีนั่นแหละ

ภาคนี้ทีมงานก็เลยไม่ต้องมาขบคิดกันให้ปวดสมองว่าจะย้ายเรื่องราวให้ไปเกิดในมุมไหนของโลก แต่กลับมาเล่าเรื่องราวบนแผ่นดินอเมริกา เพิ่มวิกฤตการณ์ของเรื่องจากเดิมที่ประธานาธิบดีเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่รอบนี้เขียนให้ไมค์ แบนนิ่ง ต้องรับภาระหนักขึ้น เพราะนอกจากจะต้องปกป้องชีวิตประธานาธิบดีแล้ว เขายังถูกจัดฉากให้เป็นผู้ต้องหาพยายามสังหารประธานาธิบดีเสียเอง ต้องหนีทั้งตำรวจและผู้ก่อการร้าย ขณะเดียวกันก็ต้องหาหลักฐานมายืนยันว่าเขาคือผู้บริสุทธิ์และกระชากหน้ากากวายร้ายตัวจริง ก่อนที่ประธานาธิบดีจะถูกบุกถล่มเอาชีวิตรอบ 2

เอาจริงๆ ในภาคนี้เหมือนพยายามทำให้หนังมีมิติมากขึ้นกว่าหนังแอ็คชั่นปกป้องประธานาธิบดีธรรมดาๆ มีการให้พระเอกสภาพย่ำแย่น่าเอาใจช่วยมากขึ้น หรอ? (เอาเข้าจริงก็ไม่ได้เอาจุดนี้มาเล่นเท่าไหร่เลย) มีการใส่ร้ายป้ายสี แต่เหมือนมันจะไม่เวิร์คเอาซะเลย เริ่มตั้งแต่บทที่เดาง่ายว่าใครเป็นตัวร้าย เห็นหน้าก็รู้เลยอะว่าไอ้นี่ร้ายแน่ๆ ตัวร้ายที่แลดูจะร้ายแต่ดูง่อยมาก เทคโนโลยีสุดไฮเทคของตัวร้ายก็ถูกนำมาใช้แค่ที่เห็นในตัวอย่างเท่านั้นล่ะ, เหตุผลหรือแรงจูงใจในการก่อการร้ายอีก การใส่ร้ายป้ายสีพระเอกนี่เชยมาก ไม่คิดว่ายังมีการทำแบบนี้ในหนังยุคปัจจุบันอยู่, อีกทั้งบท FBI และอีกหลายๆ ส่วนยิบย่อยที่ไม่รู้จะใส่มาทำไม มันดูเบาหวิวไปซะหมดเลย มันควรจะเอาไปเล่นอะไรได้เยอะมาก โดยรวมแล้วมันคือความเชยมากของการเป็นหนังสักเรื่อง

เรามาดูในแง่ของความแอ็คชั่นกันบ้าง ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่าว่าภาคนี้มีฉากแอ็คชั่นน้อยที่สุดในแฟรนไชส์นี้เลย มีนิดๆ หน่อยๆ ระหว่างเรื่อง และค่อยโผล่มาตอนท้าย ที่ไม่ได้ชวนว้าว ตื่นเต้น โชว์ความเทพของพระเอกแต่อย่างใด ค่อนไปทางเฉยๆ ด้วยซ้ำ พอเพลินๆ ในระดับที่ธรรมดาเท่านั้น จึงไม่น่าประทับใจสักเท่าไหร่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามหนังยังคงรักษามาตรฐานการทำเอฟเฟ็คได้ดีอยู่ ระเบิดตูมตาม ยิงกันเปรี้ยงปร้าง ที่ออกมาดูไม่น่าเกลียด

ตัวละครที่น่าสนใจที่สุดในเรื่องกลับเป็นพ่อของ Mike Banning ซะงั้น ที่ทำให้หนังแลดูมีสีสันขึ้นมาทันทีที่เขาปรากฏตัว จากน่าเบื่อๆ ยังพอทำให้บันเทิงขึ้นมาได้บ้าง แต่พอบทของเขาหายไป หนังก็กลับมาเหมือนเดิม และน่าเสียดายที่ตัดบทพ่อของเขาทิ้งดื้อๆ ให้หายไปซะอย่างนั้น ทั้งๆ ที่น่าจะนำมาเล่นอะไรได้อีกเยอะเลย ทางด้านฝีมือนักแสดงคนอื่นๆ ก็ทรงๆ ตามมาตรฐาน ไม่ได้โดดเด่นจนร้องว้าว หรือไม่ได้หยีจนต้องบอกว่าแย่

หนังเลือกคงจุดเด่นของแฟรนไชส์ไว้ในด้านพิษสงของเหล่าผู้ก่อการร้าย ยิ่งวายร้ายมีความสามารถเก่งกาจมากขึ้น ความเข้มข้นของหนังก็จะมากขึ้นตาม ในภาคนี้ผู้ก่อการร้ายก็ยังมาเป็นกองทัพเช่นเคย แต่รอบนี้ไม่ได้มากด้วยจำนวนคน แต่เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มาพร้อมเทคโนโลยีไฮเทค ส่วนหนึ่งเราได้เห็นไปแล้วในตัวอย่างหนัง กับฉากบุกโจมตีประธานาธิบดีด้วยกองทัพโดรน เป็นฉากแอ็กชันเปิดเรื่องที่ลากยาวอย่างดุเดือด ระเบิดกันตูมตาม เหยื่อระเบิดปลิวว่อนนับสิบ นับเป็นฉากที่ปูความถึงพิษสงของวายร้ายในภาคนี้ได้เป็นอย่างดี

ในภาคที่ผ่าน ๆ มา แฟนประจำจะคุ้นเคยกับภาพของไมค์ แบนนิ่ง ที่หนีตายไปพร้อมกับประธานาธิบดีที่รับบทโดย แอรอน เอ็กฮาร์ต ซึ่งไม่ได้กลับมารับบทเดิมในภาคนี้ มอร์แกน ฟรีแมน ในบทอัลลัน ทรัมบัลล์ เลื่อนขั้นจากรองประธานาธิบดี ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในภาคนี้ แต่ปีนี้มอร์แกน ก็อายุอานามปาเข้าไป 82 ปีแล้วครับ จะมาให้วิ่งถือปืนคู่กับไมค์ แบนนิ่ง เป็นไปไม่ได้แน่นอน เมื่อต้องสูญเสียประธานาธิบดีที่เคยพะบู๊ได้ไป ก็ต้องชดเชยในส่วนอื่นขึ้นมาแทน ด้วยการเขียนให้ไมค์ แบนนิ่ง มีปัญหาเรื่องสุขภาพและมีความตั้งใจจะลาออกจากหน้าที่นี้

เมื่อสภาพของเขาไม่เต็มร้อยเหมือนเคยแต่คู่ต่อสู้ดันเก่งขึ้นกว่าเดิม นับเป็นโจทย์ที่ยากมากขึ้นสำหรับภาคนี้ทำให้คนดูต้องลุ้นเอาใจช่วยไมค์มากขึ้น ส่วนที่เสริมเติมสีสันเข้ามาในภาคนี้คือ เคลย์ แบนนิ่ง พ่อของไมค์ เป็นผู้ช่วยเพียงหนึ่งเดียวของไมค์ในสถานการณ์คับขันครั้งนี้ บทเคลย์ ได้นิค โนลตี ดารารุ่นเก๋ามารับหน้าที่ บทเคลย์ ช่วยเพิ่มน้ำหนักของหนังได้มากทั้งในฉากแอ็กชันและดรามา ฉากพ่อลูกรับมือกับการบุกถล่มของผู้ก่อการร้ายก็ได้ทั้งความมันส์และเสียงฮา บทสนทนาระหว่างพ่อลูกทำให้รู้ถึงปูมหลังความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ไม่ราบรื่นนัก คนดูได้รู้จักไมค์มากขึ้นในภาคนี้ นอกเหนือจากบทบาทในหน้าที่การงาน ก็ได้เห็นไมค์ในฐานะสามี พ่อ และ ลูก ไปพร้อมกัน


ในภาคนี้หนังได้งบเพิ่มมาอีก 10 ล้านเหรียญ ในภาคแรกใช้ทุน 70 ล้าน ภาคสองใช้ไป 60 ล้าน ภาคนี้ขยับเพิ่มมาเป็น 80 ล้าน แล้วเปลี่ยนผู้กำกับอีกแล้ว รอบนี้เป็น ริค โรมัน วอกห์ อีกหนึ่งผู้กำกับที่มาจากสายสตันท์แมน ยุคนี้เป็นยุคของผู้กำกับสตันท์แมนจริง ๆ ริค เคยผ่านงานแอ็กชันมาแล้วใน Snitch หนังดเวย์น จอห์นสัน ปี 2013 ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับหนังแอ็กชันจัดหนักแบบนี้ เราก็เลยได้เห็นฉากต่อสู้ทุกรูปแบบตั้งแต่มือเปล่า มีด ปืน ระเบิด เป็นหนังที่เล่นระเบิดกันถล่มทลายมาก ถ้าดูจอเล็กที่บ้านจะขาดรสชาติไปอย่างมากเลย เพราะเรื่องนี้ระเบิดกันถี่แล้วระเบิดทีพื้นโรงหนังสะเทือนกันเลย

ฉากแอ็กชันท้ายเรื่องเต็มอิ่มมาก เมื่อผู้ก่อการร้ายบุกถล่มอีกครั้งแบบทิ้งทวนก็ยกพวกมาหมดพร้อมอาวุธหนักทุกรูปแบบ ก็เลยเป็นฉากรบที่ลากยาวเกิน 30 นาที แล้วแต่ละนาทีที่ฝ่ายร้ายลุกคืบ ฝ่ายพระเอกก็ดูจะเสียท่าไปทุกขณะ คือใจก็รู้ว่าหนังไม่เขียนให้พระเอกแพ้หรอก แต่ก็ยอมรับว่าทีมงานทำการบ้านมาดี ดูฉากสาดกระสุนจากหนังฮอลลีวู้ดในตำนานแล้วเลือกหยิบข้อดีมาใช้ได้อย่างลงตัว ทำให้ฉากลากยาวนี้เดินหน้าไปแต่ละนาทีได้อย่างดุเดือด

จุดด้อยของหนังก็คือการแคสติงนักแสดงด้วยการเลือกตัวร้ายประจำฮอลลีวู้ดมารับบททั้ง แดนนี ฮุสตัน และ ทิม เบลค เนลสัน ทั้งคู่แทบไม่เคยเล่นเป็นตัวดีเลย พอเห็นหน้าก็รู้แล้วว่าไอ้นี่ร้ายแน่นอน ก็เลยไม่ต้องคาดเดากันว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง แต่การสถานะตัวตนที่แท้จริงของทั้งคู่นี้ก็ไม่ใช่่ความลับที่เป็นหัวใจของหนัง เพราะทั้งคู่ก็เปิดเผยสถานะตัวเองตั้งแต่ครึ่งแรกของหนังแล้ว ก็เลยถือว่าจุดนี้ไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่ใหญ่โตนัก

สรุป

Angel has Fallen เป็นภาคที่หลุดออกจากกรอบของแฟรนไชส์ตัวเอง แต่ไม่ใช่หนังที่มีความแปลกใหม่จากกรอบรูปแบบเดิม ๆ ของหนังแอ็กชันฮอลลีวู้ด ทุกอย่างเดินหน้าไปตามขนบเดิมที่คาดเดาได้ทั้งหมด แต่ผ่านการเล่าที่มีสีสันเติมแต่งมาเป็นระยะจากผู้กำกับที่มีประสบการณ์ยาวนานกับแวดวงหนังแอ็กชัน ทำให้คนดูสามารถเพลิดเพลินและเกาะติดไปกับภาพบนจอได้จนจบ ไม่ใช่หนังคุณภาพขึ้นหิ้ง ดูหนังผ่านเน็ต

แต่ในด้านความบันเทิงหนังตอบสนองได้คุ้มเวลาและค่าตั๋วเลยทีเดียว ดูทีท่าแล้วหนังตั้งใจจะสานต่อแฟรนไชส์ไปแบบปฏิบัติการพ่อลูก ก็ต้องรอลุ้นว่าตัวเลขภาคนี้จะจบลงที่กี่ร้อยล้าน เป็นตัวตัดสินชะตาว่าหนังจะได้ไปต่อในภาค 4 หรือไม่

ปล. น่าดีใจที่อย่างน้อยมันก็ยังดีกว่าภาคสอง แต่มันก็ไม่ได้ดีกว่าภาค 1 อีกหนึ่งแต่ที่สำคัญ คือ ภาค 1 มันก็ไม่ได้สนุกขนาดนั้นเสียด้วยสิ

Ready or Not เกมพร้อมตาย

รีวิว Ready or Not เกมพร้อมตาย

เข้าสู่ฤดูหนังเล็กหลังจากจบสิ้นฤดูหนังซัมเมอร์ไปแล้วกับ Hobbs and Shaw ที่เป็นเรื่องส่งท้ายเทศกาล หนังฟอร์มเล็กที่ใช้ทุนสร้างต่ำก็ต้องเป็นหนังสยองขวัญเนี่ยล่ะ โอกาสเสี่ยงที่จะขาดทุนต่ำ ถึงแม้ว่าพลอตเรื่องของ Ready or Not จะฟังดูแปลกใหม่ แต่ก็ยังดำเนินบนสูตรสำเร็จที่ว่าด้วยการไล่ล่าเหยื่อในพื้นที่ปิดล้อม รอบนี้ขยายมาเป็นพลอตเรื่องได้น่าสนใจ เมื่อเกรซเจ้าสาวคนสวยกำลังดีใจเนื้อเต้นที่กำลังจะเป็นสะใภ้ในตระกูลใหญ่ เลอ โดมาส เป็นตระกูลเก่าแก่มีศักดินามายาวนาน ร่ำรวยจากธุรกิจเกมกระดาน และเป็นเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลอีก 4 ทีม งานแต่งจัดอย่างเรียบง่ายในปราสาทส่วนตัวของครอบครัว รีวิว Ready or Not เกมพร้อมตาย ดูหนังออนไลน์

เรื่องย่อหนัง

หนัง Ready or Not หรือชื่อไทยว่า เกมพร้อมตาย Ready or Not เกมพร้อมตาย คือเรื่องราวของเจ้าสาวป้ายแดง (รับบทโดยซามาร่า วีฟวิ่ง) คืนวันแต่งงานคืนแรกที่เธอต้องเข้าร่วมประเพณีของครอบครัวสามีของเธอ ในการเล่นเกมที่มีชีวิตของเธอเป็นเดิมพัน การเอาชนะเกมนี้คือเธอต้องอยู่รอดให้ถึงรุ่งเช้า แต่ครอบครัวนี้คงไม่ปล่อยให้เธอรอดได้ง่ายๆ

Ready or Not ถือเป็นหนังสยองขวัญ ระทึกขวัญ ที่เริ่มพล็อตเรื่องได้น่าสนใจ โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องของเจ้าสาวอย่างเกรซ (ซามารา วีฟวิ่ง) ที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์อย่างชื่นมื่นกับอเล็กซ์ (มาร์ค โอ’ ไบรอัน) โดยที่เธอไม่รู้เลยว่า ตัวเองกำลังกำลังจะเคราะห์ซ้ำกรรมซัดครั้งใหญ่แบบที่เธอไม่เคยจะจินตนาการมาก่อน

แม้ช่วงพิธีแต่งงาน เกรซจะสามารถสัมผัสได้ถึงรังสีบางอย่างจากตระกูลเลอ โดมาส ที่เธอก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่นัก ว่านั่นเป็นรังสีอัมหิตหรืออะไรกันแน่ แม้แดเนียล (อดัม โบรดี้) พี่ชายของอเล็กซ์เตือนเกรซก่อนที่เธอจะเดินเข้าสู่พิธีแต่งงาน ว่าตระกูลคนรวยไม่ได้ปกติเหมือนครอบครัวอื่นๆ แต่เธอก็ไม่ทันได้ฉุกคิดอะไรมากมาย เกรซเพียงแค่เข้าใจว่าเป็นการแซวเล่นติดตลก จนกระทั่งกลางดึกของคืนวันแต่งงาน

เกรซถูกบังคับให้เข้าร่วมเล่นเกมอันเป็นพิธีกรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนานของตระกูลนี้ ทุกอย่างดูจะสวยหรูราบรื่น เมื่อเสร็จพิธีในช่วงค่ำ อเล็กซ์เจ้าบ่าวของเกรซก็บอกกับเธอว่า ตระกูลของเขามีพิธีการเก่าแก่ที่สะใภ้หรือเขยที่แต่งงานเข้าสู่ตระกูลนี้จะต้องเล่นเกมด้วยกันกับสมาชิกครอบครัว ขึ้นอยู่กับว่าเธอจะเสี่ยงทายได้เกมอะไร นี่มันหนังสยองขวัญนะ เกรซก็จำต้องดวงซวยสุดเสี่ยงทายได้เกม “ซ่อนหา” ซึ่งฟังดูขำ ๆ แต่กลับกลายเป็นว่านี่คือเกมไล่ล่าเอาชีวิต เกมที่ทุกคนภาวนาว่าอย่าได้เจอ

ในขณะที่สะใภ้และเขยที่แต่งเข้ามาก่อนหน้าก็ได้เกมน่ารัก ๆ อย่างหมากรุก หรือไพ่อีแก่กัน เกมที่เกรซเผชิญก็เหมือนเกมซ่อนหาทั่วไป แต่ถ้าเกรซซ่อนไม่ดีถูกหาเจอ นั่นหมายถึงจุดจบชีวิตเพราะสมาชิกในครอบครัวที่มีทั้ง พ่อ, แม่, พี่ชาย, พี่สะใภ้, พี่สาว, พี่เขย และอาหญิงที่หน้าตาดูโรคจิตกระหายอยากจะเล่นเกมนี้ที่สุด ทุกคนมาพร้อมอาวุธหนักที่พร้อมจะเอาชีวิตเกรซทันทีที่พบตัว

เมื่อผู้ชมรับทราบเงื่อนไขว่า เกรซจะต้องซ่อนตัวให้พ้นจากบรรดาสมาชิกในครอบครัวเลอ โดมาส จากการตามหา แม้ตอนต้นเธอเข้าใจว่ามันเป็นเกมสนุกๆฆ่าเวลา เธอไม่ได้นึกว่านี่เป็นเกมที่เธอต้องเดิมพันด้วยชีวิตของตัวเอง ทันทีที่เกมนี้เริ่มต้นขึ้นกลายเป็นว่า เหยื่อคนแรกกลายเป็นสาวใช้ที่บังเอิญถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเกรซ ทำให้นางเอกเข้าใจแล้วว่า คำเตือนของแดเนียลนั้นหมายถึง “ความตาย” ที่รอคอยเธออยู่

ระหว่างที่เกรซตกอยู่ในเกมแมวไล่จับหนูสุดอันตราย คนดูก็เริ่มได้ทำความเข้าใจความลับของครอบครัวเลอ โดมาสทีละเล็กทีละน้อย ถึงความเป็นมาเป็นไปของตระกูลนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกชาย ความขัดแย้งระหว่างประเพณีอันแสนโบร่ำโบราณกับวิธีคิดของคนสมัยใหม่ จนนำไปสู่ความโกลาหล มุกตลกร้ายที่เกิดจากความเข้าใจผิด เป็นต้น

ความสนุกสนานที่ผู้ชมจะได้รับจาก Ready or Not ไม่ได้อยู่แค่เพียงฉากการไล่ล่าอันแสนดุเดือด แต่การได้ทำความเข้าใจถึงความลับประจำตระกูลที่อยู่บนความก้ำกึ่งระหว่างตำนานประจำครอบครัวหรือจริงๆแล้วเป็นเรื่องขี้โม้ที่ถูกกุขึ้นมาเอาไว้รักษาธรรมเนียมที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ก็กลายเป็นอีกหนึ่งปมที่ถูกคลี่คลายออกมาและสามารถอุดรอยรั่วของเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดอย่างสุดเซอร์ไพรส์


หนังใช้เวลาปูความไม่นาน เพราะหนังยาวเพียงแค่ 90 นาที ไม่รวมเครดิตท้ายเรื่อง เกรซต้องควบคุมสติไม่ให้เตลิดเปิดเปิงเพื่อจะเอาชีวิตรอดจากครอบครัวโรคจิตนี้ในปราสาที่เธอไม่ชำนาญพื้นที่นัก ความตื่นเต้นของหนังก็คือฉากหลบซ่อนและไล่ล่า มีฉากให้ลุ้นแทบทั้งเรื่อง หลบซ่อนกันแบบฉิวเฉียดให้คนดูได้ลุ้นว่าฝ่ายล่าจะเจอตัวเธอไหม หนังเพิ่มบรรยากาศให้ตึงเครียดด้วยการปรับโทนสีหนังให้มืดหม่น ไม่มีสีสันสดใสให้เห็นเลย ฉากฆ่ากันถือว่ารุนแรงตามมาตรฐานหนังสยองขวัญ ยิงหน้าไม้ทะลุปาก ฟันกันคอขาด ยิงเข้าแสกหน้า แต่ให้เห็นกันแบบแวบเดียว ไม่มีการแช่กล้องกันให้กระอักกระอ่วน ส่วนฉากตุ้งแช่เรื่องนี้มีบ้างเล็กน้อย ไม่เน้นครับ

จุดที่ชอบที่สุดใน Ready or Not คือมุกตลกร้ายที่หยอดเข้ามาได้ถี่ เลยทำให้หนังเดินหน้าแบบลุ้นไปขำไป มุกที่ยิงมาได้ผล หัวเราะได้เสียงดัง ๆ ช่วยผ่อนเบาให้บรรยากาศหนังได้มากไม่เครียดเกินไป ระหว่างการไล่ล่าก็ยังมีช่วงให้ผ่อนพักหายใจ 2 – 3 รอบ แทรกด้วยบทสนทนาในครอบครัวซึ่งทำให้เราได้รู้ถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวนี้ที่ไม่สู้ดีนัก และเผยถึงคำสาปโบราณที่ครอบครัวนี้กลัวกันหนักหนา

และเป็นเหตุให้สมาชิกครอบครัวต้องพยายามเอาชีวิตเกรซให้ได้ก่อนรุ่งเช้า บทอเล็กซ์สามีของเกรซ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้หนังน่าติดตาม เพราะคนดูจะต้องคาดเดาความคิดการตัดสินใจของเขาว่าจะอยู่ข้างเกรซ ช่วยเธอให้รอดชีวิตจากคืนนี้ หรือจะเลือกครอบครัวแล้วเอาชีวิตของเกรซเข้าแลก จุดที่เกินคาดเดาไปมากคือฉากจบ ไม่คิดว่าจะเลยเถิดไปถึงขั้นแฟนตาซีเพียงนี้

ซามารา วีฟวิ่ง นักแสดงวัยรุ่นที่เคยสร้างชื่อมาจากบทพี่เลี้ยงสุดเซ็กซี่ใน The Babysitter เธอเป็นตัวเลือกที่เหมาะมากกับบท เกรซ มีทั้งความสวย ห้าว แล้วก็แกร่ง บทหนังก็ใจร้ายกับเธอพอควรที่ต้องเผชิญกับคนนับสิบคอยจ้องเอาชีวิตเธอ ในการดูหนังฮอลลีวู้ดแบบนี้เราก็ทำใจไว้แล้วระดับหนึ่งว่าหนังต้องเวอร์ ตัวเอกต้องเก่งเกินจริง แต่สำหรับ Ready or Not ก็ไม่ได้เขียนให้เกรซกลายเป็นซูเปอร์ฮีโรสาว แต่ก็พลาดท่าเสียทีบ่อยครั้ง ผ่านค่ำคืนนี้ไปแบบสะบักสะบอมมีบาดแผลทั้งตัว ฉากปีนขึ้นบันได (บอกแค่นี้พอ เดี๋ยวกลายเป็นสปอยล์) เป็นฉากที่โคตรลุ้น แล้วซามาราก็ถ่ายทอดสีหน้าได้ดีมาก พาคนดูให้รู้สึกร่วมเจ็บปวดไปกับเธอได้เลย

อีกรายที่อยากพูดถึงสำหรับคอหนังรุ่นเก่า คือการกลับมาปรากฏตัวของ แอนนี แม็กโดเวลล์ นางเอกแถวหน้าจากยุค 90s เธอเป็นเจ้าของบทนำในหนังระดับตำนานหลายเรื่อง Groundhog day (1993), Four Weddings and a Funeral (1994) และ Hudson Hawk (1991) แอนดี กลับมารับบทขุ่นแม่ในเรื่องนี้ด้วยวัย 61 ปี ใบหน้าก็สมวัยละครับเหี่ยวย่นทั้งหน้า แต่สำหรับคนที่เคยเห็นเธอในวัยสวยสุดมาแล้ว ก็ต้องทำใจพอควรกับการยอมรับสัจธรรมชีวิตอันน่ากลัว แต่อย่างน้อยเธอก็ยังมีร่องรอยความสวยในวัยสาวให้เห็นอยู่นะ



เอาจริงๆ แล้วตัวหนังก็ไม่ได้ฉีกไปจากหนังไล่ฆ่าตามสูตรทั่วไป เพียงแต่ว่าหลังจากดูจบแอบรู้สึกชอบมากประมาณนึง ตรงที่หนังไม่ได้มาในเวย์หญิงแกร่งเเอาคืนไอ้พวกบ้านี่แบบ You're Next อย่างที่คิดไว้ (เพราะตัวหนังโปรโมตมาในแบบนั้นด้วย) แต่กลายเป็นว่าตัวนางเอกอย่างเจ้าสาวนี่คือมีความเป็นเหยื่อสูงมาก อารมณ์คล้ายกับตัวเอกใน Get Out และที่ชอบยิ่งกว่าคือตัวหนังมีความเป็นคอเมดี้ที่สูงมากกก
ทำให้ตอนดูรู้สึกว่าหนังให้ความรู้สึกมากกว่าการแค่อยากเอาใจช่วยนางเอกเฉยๆ

แต่มันยังได้ลูกตลก ลูกฮา ลูกโหดไปพร้อมๆ กันด้วย แล้วยิ่งสเกลของเรื่องมันไม่ได้กว้าง ตัวหนังมันไม่ยาว เล่าเรื่องแค่คืนๆ เดียวมันค่อนข้างเป็นความบันเทิงที่ย่อยง่าย กระชับ และเพลิดเพลินมากตลอดชั่วโมงครึ่ง แล้วยิ่งตัวนางเอกอย่าง Samara Weaving ก็เล่นดี ไม่น่ารำคาญ สวยน่ารัก น่าเอาใจช่วย ยิ่งโอเคเข้าไปใหญ่

หนังบันเทิงมากและสนุกมากจริงๆ หาความน่าเบื่อไม่เจอเลย เป็นหนังพล็อตธรรมดาที่แลดูแปลกใหม่และมีเสน่ห์ (งงไหม 555) เหตุผลในการฆ่าก็ดูบ้าบอดี (ชอบๆ) หนังมีการดำเนินเรื่องเหมือนหนังไล่ล่าไล่ฆ่าทั่วไป ที่มีทั้งความโหด ความบ้า มีเลือด ฉากแหวะ น่าหวาดเสียว คือมีครบที่หนังแนวนี้ควรจะมี แต่ก็มีความตลกแบบเพี้ยนๆ มาอยู่เรื่อยๆ คือบางฉากนี่ฮาแบบฮามากจริงๆ เป็นหนังความยาวประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งที่รู้สึกว่าสั้นไปเลย โดยรวมแล้วชอบเลยแหละ โดยเฉพาะฉากจบแบบ บ้าบอดี คิดได้ไง 555

แต่ยังมีจุดอีกนิดนึงที่น่าเสียดาย ด้วยความที่หนังมันสั้นไปด้วยแหละ คือเราอยากเห็นความกดดันของตัวละคร และการไล่ล่ากันที่มากกว่านี้ สถานการณ์ที่บีบคั้นให้คนดูลุ้นยิ่งกว่านี้ ซึ่งมันก็มีนะแต่อยากให้มันมีมากขึ้นไปอีก คือมันมาขนาดนี้แล้วก็เอาให้มันสุดไปเลย ความโหด ความบ้า ความเพี้ยนอะไรทำนองนี้
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้หนังมีเสน่ห์ก็คือคาแร็คเตอร์ของเจ้าสาวป้ายแดงที่รับบทโดย Samara Weaving เนี้ยแหละ เธอดูสวยมว๊ากกกกกกกกในชุดเจ้าสาว มองได้ไม่เบื่อเลย และยิ่งตอนเธอเริ่มสู้หรือเอาคืนดูมีความจิตๆ ยิ่งทำให้ตัวละครนี้น่าสนใจเข้าไปใหญ่ ดูไปดูเธอเหมือน Margot Robbie เหมือนกันแหะ ภาพแวปมาเป็นระยะๆ เลยทีเดียว

สรุป
คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายเข้าไปดูจริงๆ ความบันเทิงแบบครบถ้วนมากๆ ใครชอบหนังแนวนี้ต้องห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง ไม่ดูแล้วจะเสียใจ!!! เว็บสตรีมหนัง

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Brightburn เด็กพลังอสูร

รีวิว Brightburn เด็กพลังอสูร

ผลงานการสร้างสรรค์ของ เจมส์ กันน์ (James Gunn) ที่ทุกวันนี้ทุกคนคงรู้จักในบทบาทผู้กำกับแถวหน้าของโลกฮีโรจากหนังมาร์เวล Guardians of the Galaxy และยังเป็นคนเดียวที่ได้ข้ามฝั่งไปทำหนังฟากดีซีไปพร้อมกันกับ The Suicide Squad เวอร์ชันปี 2021 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นก็จะเป็นช่วงเวลาของหนัง Guardians of the Galaxy Vol. 3 ด้วยเช่นกัน ก็จะกลายเป็นว่าปี 2021 เขาจะเป็นผู้กำกับคนแรกที่มีผลงานหนังทั้งฝั่งมาร์เวลและดีซีออกฉายภายในปีเดียวกันด้วย และด้วยบารมีระดับนี้จึงไม่แปลกที่เขาจะสามารถผลักดันโพรเจกต์ส่วนตัวออกมาได้ง่ายขึ้นในฐานะโพรดิวเซอร์ รีวิว Brightburn เด็กพลังอสูร ดูหนังออนไลน์
 
เรื่องย่อหนัง

หนัง Brightburn หรือชื่อไทยว่า เด็กพลังอสูร จะเป็นอย่างไรหากเด็กจากโลกใบอื่นมาเยือนโลกด้วยอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แต่เขาไม่ได้มาเพื่อเป็นฮีโร่แก่มนุษยชาติ เขาพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นยิ่งกว่าความเลวร้ายที่เราสามารถคาดคิดได้ถึง ด้วย Brightburn จากวิสัยทัศน์ของผู้สร้าง Guardians of the Galaxy และ Slither ที่จะมานำเสนอความสดใหม่และล้มแนวทางซูเปอร์ฮีโร่เก่า ๆ ด้วยการเป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่สยองขวัญ

Brightburn ใช้คำโปรยโฆษณาด้วยคำว่า “จากวิสัยทัศน์ของ James Gunn ผู้สร้าง Guardians of the Galaxy” ที่จะมานำเสนอความสดใหม่และล้มแนวทางซูเปอร์ฮีโร่เก่าๆ ด้วยการเป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่สยองขวัญ ที่ว่าเรื่องราวของเจ้าหนู Brandon Breyer ที่ถอดแบบพลังมาจากซูเปอร์แมนแทบจะทั้งหมด (มีเพิ่มคือพลังควบคุมกระแสไฟฟ้า) และก็มีการเดินเรื่องในแนวทางซูเปอร์แมนเติบโตมาเป็นเด็กเลวแทนว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

นี่เป็นหนังที่คนดูควรจะดูหนัง Man of Steel มาก่อนถึงจะเก็ทกับหลายๆ อย่างที่หนังถอดเอาไปแปลงเป็นแนวสยองขวัญ ซึ่งหนังก็เน้นทำแนวสยองขวัญได้ดี ตัวหนังมีความแหวะสดๆ หลายฉาก ซึ่งหนังก็จงใจเน้นขายตรงนี้ชัดเจนตั้งแต่ในเทรลเลอร์แล้ว เรียกว่าถ้าต้องการดูแนวทางนี้ก็คงไม่ผิดหวังเท่าไหร่ แต่ถ้าต้องการดูเรื่องราวลึกแบบมีมิติเหมือนซูเปอร์แมนอีกด้าน คงได้ผิดหวังเต็มๆ

เพราะถึงจะใช้เรื่องราวการเติบโตแบบ Man of Steel มาเป็นเมนหลัก ที่ว่าด้วยเด็กทารกที่ตกลงมายังโลกด้วยยานอวกาศ แล้วมีพ่อแม่บุญธรรมรับเลี้ยงโดยคิดว่าสักวันเด็กคนนี้ต้องมีเหตุผลต่อโลก แต่หนังกลับเลือกแนวทางเล่าง่ายๆ ชุ่ยๆ ด้วยการละทิ้งพัฒนาการของตัวละครที่ควรจะเป็นจริงไปหมด จากเด็กที่ครอบครัวอบอุ่นพ่อแม่เลี้ยงมาดี กลับกลายมาเป็นเด็กปีศาจชั่วข้ามคืน ด้วยการปลุกพลังด้านมืดที่ชวนให้คิดว่ามาจากปีศาจ มากกว่าจะเป็นแนวไซไฟต่างดาวแบบซูเปอร์แมน

หนังพลิกเร็วมากๆ และก็ไม่พยายามอธิบายอะไรเลยว่าทำไมเจ้าหนูนี่ต้องวาดรูปซ้ำๆ ใส่หน้ากากถุงกระสอบประหลาดๆ พกผ้าคลุมแดงใส่บินไปบินมา แค่จงใจให้เหมือนซูเปอร์แมนเท่านั้น แถมฆ่าคนแล้วก็ชอบทิ้งสัญลักษณ์ไว้ ที่บอกใบ้ว่ามาจากชื่อย่อ BB > Brandon Breyer

แต่กลับมารู้สึกเดือดร้อนที่โดนตำรวจตามมายุ่งเกี่ยว หลายๆ อย่างของหนังไม่เมคเซนส์ในเชิงที่จะเป็นเรื่องราวการเติบโตของเด็กที่เป็นด้านมืดของซูเปอร์แมนได้เลย ซึ่งเดือนนี้ก็มีหนังซีรีส์อย่าง The boys แนวทางเดียวกันคือ เมื่อซูเปอร์ฮีโร่กลายเป็นสายดาร์คจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งตัวร้ายสุดของหนังก็เป็นแนวซูเปอร์แมนเช่นกัน The boys ทำได้ดีกว่ามาก และก็มีเหตุผลที่มาที่ไปดีกว่า Brightburn ที่ตั้งใจแค่กลับด้านหนัง Man of Steel มาใช้แบบลวกๆ เท่านั้น

อาจจะด้วยทุนสร้างแค่ 6 ล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นหนังทุ่นต่ำมาก หนังจึงไม่พยายามทำฉากเอฟเฟ็กต์อะไรเกินตัวไป จึงเน้นใช้ความน่ากลัวแบบอึมครึม ที่เจ้าหนู Brandon Breyer แสดงออกมาเป็นหลัก อย่างการแอบลอยตัวมองเพื่อนสาวนอกหน้าต่าง หลังพ่อพยายามสอนว่าให้ปลดปล่อยความรู้สึกกลัดมันออกมาได้ ซึ่งตัวนักแสดงเด็ก Jackson A. Dunn เล่นได้ดี ทั้งหน้าตา สายตา ท่าทางดูเหมือนเด็กที่ไม่รู้ผิดถูกชั่วดี ออกแนวโรคจิตๆ ที่แค่เห็นก็ต้องกลัวแล้ว



ข้อด้อยของหนัง

คงมีเรื่องของการเดินเรื่องที่รวดเร็วบางจุด ที่ทำให้พัฒนาการอารมณ์ของเจ้าหนูปีศาจนี่ดูโดดข้ามไปขั่วร้ายไวมาก และฉากซีจีที่มีรอยโหว่ให้เห็นความไม่เนี้ยบบ้างในฉากท้าย ๆ แต่โดยรวมหนังเก็บรายละเอียดด้านโพรดักชันดีมาก ยิ่งพวกฉากศพ หรือฉากแหวะก้อนเนื้อก้อนเลือดกระเซ็นสาดนี่โหดได้ใจมาก คือโดยรวมแทบไม่ได้อยากติอะไรล่ะเพราะมองว่าเป็นหนังที่รู้ประมาณตนว่าเป็นอะไรและไม่ได้พยายามเป็นเกินสิ่งที่ตัวเองเป็น

ถ้าใครจะไปคาดหวังแล้วตำหนิในเรื่องการลงมิติด้านลึกของจิตใจตัวละครที่ดูอ่อนด้อยอะไรนั่น เราก็เข้าใจเขาได้นะ แต่มันก็ไม่ใช่จุดควรตำหนิหนังร้ายแรงเพราะหนังไม่ได้ประกาศตนว่าจะเป็นดรามาจิตวิทยาแบบ The Joker ตั้งแต่แรกแล้ว มันคือหนังล้อยั่วซูเปอร์แมนในฉบับด้านมืดที่เน้นมันสะใจเข้าว่าอยู่แล้ว

แต่ปัญหาก็ตามที่บอกช่วงต้น หนังเปลี่ยนแปลงบุคคลิกไวจนละทิ้งช่วงพัฒนาการจากเด็กดีไปเลวไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ถ้าเน้นให้เป็นหนัง Coming of Age แบบดาร์ค ก็น่าจะมีอะไรมาให้เล่นมากกว่าการเปลี่ยนปุ๊บปั๊บแบบนี้ แม้จะอ้างว่าถูกยานต่างดาวส่งสัญญาณมาสั่งตรงสู่สมอง แต่กลับไม่มีรายละเอียดให้เห็นแบบที่ซูเปอร์แมนเข้าไปเจอเรื่องราวข้อมูลจากยานเลย

ซึ่งคงเพราะทุนต่ำเกินจนไม่สามารถใส่อะไรพวกนี้มาได้ ขนาดยานต่างดาวในโรงนายังดูเหมือนของเทียมติดไฟให้ดูเบลอๆ มองรายละเอียดไม่ออก แถมมี CG ลอยๆ แบบถ่ายกรีนสกรีนแล้วเอาฉากท้องฟ้ามาสวมง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดงานสร้างมาก แต่ทั้งนี้ในส่วนฉากที่บินไปมาด้วยสปีดความเร็วสูงยังดูโอเค ดูเป็นเรื่องน่ากลัวไปได้เลยว่าถ้าซูเปอร์แมนบินชนใครก็คงเละเป็นโจ๊กแบบที่เจ้าหนูในเรื่องนี้ทำ

ในส่วนของพ่อแม่บุญธรรมนี้ก็ไม่ได้มีอะไรน่าจดจำนัก เนื่องจากบทที่ให้ลูกเปลี่ยนบุคคลิกฉับพลันชั่วข้ามคืน หนังก็โบ้ยไปให้ว่าพ่อแม่คิดว่าฮอร์โมนเปลี่ยนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และพยายามนำเสนอในแบบที่ทื่อๆ ว่า “ลูกฉันเป็นเด็กดี” ทั้งๆ ที่พึ่งบีบมือเพื่อนกระดูกแตกไป มันก็ไม่ธรรมดาแล้ว แต่หนังก็ทำเหมือนเรื่องเกินธรรมดานิดนึงเท่านั้น พร้อมกับดำเนินเรื่องราวให้พ่อกลัวลูก แต่แม่รักลูกสุดๆ แต่สุดท้ายหนังก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกถึงอารมณ์ร่วมแต่อย่างใด แม้ตอนจบจะพยายามบิ้วให้ดูมีอะไรก็ตามที

ในตอนท้ายหนังมีฉากข่าวที่มีนักวิชาการเล่นโดย ไมเคิล รูกเกอร์ (Michael Rooker) หรือ ยอนดู จาก Guardians of the Galaxy มาพูดถึงตำนานเมืองอื่น ๆ นอกจากคลิปคนที่ลอยอยู่บนฟ้าระหว่างเกิดมหันตภัยต่าง ๆ ที่เหมือนจะชงบทให้รู้ว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่ เจ้าหนูแบรนดอนเท่านั้น ก็เป็นการล้อทีมจัสติกลีกแบบโคตรจงใจ โดยจะมีตัวละครซูเปอร์วิลเลี่ยนตัวไหนให้ทำต่อภาค 2 ได้บ้างนั้น ต้องขอให้นั่งชมดี ๆ เลยครับ ลุ้นให้มีภาคต่อไว ๆ สุด ๆ เลย หวังว่าจะฉีกแนวจากซีรีส์ใกล้เคียงกันอย่าง The Boys ซึ่งกลายเป็นคู่เปรียบมวยไปแล้วได้สนุกกว่าด้วย รอ ๆ  ๆ  ๆ ๆ

สรุป

Brightburn เป็นหนังที่คงจะนิยามได้ว่า ถ้า Superman ถูกเลี้ยงดูมาไม่ดีคงจะกลายเป็นแบบในเรื่องนี้แหละ มันเป็นหนังขายไอเดียเท่านั้น เพราะเนื้อเรื่องมันกลับกลายเป็นธรรมดามาก แถมจุดขายอย่างความโหดของเด็กถึงแม้จะโหด แต่น้อยเกินไปจริงๆ
หนังออนไลน์ 
ปล. หนังมีฉากพิเศษ 1 ตัวก่อน End-Credit (Mid-Credit)

Crawl - คลานขย้ำ

รีวิว Crawl - คลานขย้ำ

การกลับมาของหนังแนว “สัตว์กินคน” ที่ปกติมักจะเป็นหนังทุนต่ำเกรดบี โดยคราวนี้ใช้พล็อตกับสูตรสำเร็จ (เกือบ) ใหม่จากหนังคัลซ์ชื่อดัง Sharknado ที่เป็นฝูงฉลามบินมากับพายุทอร์นาโด มีมาแล้วหลายภาค (สนใจดูจาก Netflix ได้ ) กลายมาเป็นหนังแนวเป็นสมจริงมากกว่าด้วย จระเข้ + เฮอริเคนระดับ 5 (สูงสุดแล้วของมาตราวัด) ถล่มเมืองจนน้ำท่วม ทำให้ไอ้เข้ออกอาละวาดได้อย่างสะดวกโยธิน และหนังเรื่องนี้ยังได้ชื่อเสียงเครดิตของ “แซม ไรมี่” ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง มาขายความคาดหวังเต็มๆ

จากการที่เขาเป็นโปรดิวเซอร์ เรื่อง Don’t Breathe ซึ่งกลายเป็นงานหนังสยองขวัญยุคใหม่ที่เฉียบทั้งพล็อตและชั้นเชิงการเล่าเรื่องสุดยอด ส่วนตัวผู้กำกับก็คือ Alexandre Aja ที่มีผลงานที่จดจำได้มากสุดจากหนังสยองขวัญเรื่อง The Hills Have Eyes ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยยกระดับ Crawl หนัง “จระเข้กินคน” รีวิว Crawl คลานขย้ำ ดูหนังออนไลน์

สำหรับแฟนหนังแนวสัตว์กินคน (ผมก็ด้วย) คงคล้ายๆ กันคือดูหนังเกรดบีมาจนชิน ไม่คิดอะไรมากมาย เพราะหนังแนวนี้มักทุนน้อย พล็อตก็คล้ายๆ กัน ว่าต้องมีสัตว์อะไรสักอย่างออกมาอาละวาด แล้วก็มีตัวละครติดอยู่ในที่ๆ ไอ้เจ้าตัวนี้อยู่ อันนี้ต้องแยกกันก่อนว่า หนังแนว “สัตว์ประหลาดกินคน” กับ “สัตว์กินคน” มีความแตกต่างกันอยู่ แบบแรกมักจะเป็นหนังที่ต้องพึ่งการออกแบบตัวประหลาดน่าเกลียดน่ากลัว ต้องมีที่มาที่ไปลึกลับซ่อนเงื่อน ออกแนววิทย์มาเกี่ยวข้องซะส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีทุนพอตัว

ต่างกับพวกหนัง “สัตว์กินคน” ซึ่งจะเป็นสัตว์ทั่วไปที่ดุร้ายด้วยเหตุผลง่ายๆ อย่างไปอยู่ถิ่นมัน หวงลูก อาหารขาดแคลน หรือไม่ก็ติดเชื้อโรคอะไรสักอย่างทำให้ดุตัวโตกว่าปกติ ซึ่งในสมัยก่อนแนวนี้ฮิตมากๆ มีตั้งแต่ นก หนู แมลง มด หมา ลิง หมูป่า เสือ สิงโต จนมาถึงพวกสัตว์ยอดฮิตอย่าง ฉลาม และจระเข้ก็เป็นอีกตัวที่ถูกจับมาทำแล้วไม่รู้กี่รอบเช่นกัน

ซึ่งในไทยก็หยิบมาทำล่าสุดคือ The Pool นรก 6 เมตร ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบพอๆ กัน (แต่หนังทำเงินไปกว่า 50 ล้านบาท) ที่ต้องเกริ่นตรงนี้เพราะนี่เป็นแนวหนังที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มระดับหนึ่ง สำหรับแฟนหนังแนวนี้ไม่ได้จะใส่ใจอะไรมาก ขอแค่ให้เห็นฉากสัตว์จับคนกินสนุกๆ ก็พอใจแล้ว เพราะที่ผ่านมามันก็ไม่ได้เคยมีอะไรมากกว่าที่เห็น ดังนั้นการไม่คาดหวังตั้งแต่แรก ก็คงไม่มีปัญหา

บอกก่อนว่าหนังเรื่องนี้ยังสนุกอยู่ ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนหนังแนวนี้ หรือไม่ใช่ก็ตามที ตัวหนังมีพล็อตที่ดี มีโครงเรื่องที่แข็งแรง ยิ่งในส่วนความสัมพันธ์พ่อลูกในเรื่อง ที่หนังปูมาตั้งแต่เริ่มว่าพ่อเป็นโค้ชส่วนตัวให้นางเอกเป็นนักกีฬาว่ายน้ำ ซึ่งก็ผนวกเข้ากับชีวิตครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกัน นางเอกห่างหายจากพ่อ และก็มาตามหาพ่อที่หายไปท่ามกลางคำเตือนพายุเฮอริเคนถล่ม

ซึ่งก็กลายเป็นการผจญภัยร่วมกันเอาชีวิตรอดทั้งจากภัยธรรมชาติ จระเข้ และแก้ปมปัญหาครอบครัวไปพร้อม ในส่วนเรื่องราวเหล่านี้ หนังทำออกมาได้มิติดีครบถ้วน แม้ว่าช่วงแรกจะยืดๆ กินเวลาเรื่องนางเอกตามหาพ่อนานพอตัวเหมือนกัน (ราวๆ 20 นาที) ซึ่งหนังเรื่องนี้สั้นมาก แค่ 87 นาที (รวมเครดิต) หลังจากเสียเวลาไปช่วงแรกแล้ว หนังก็เดินเรื่องลุยเข้าเรื่องจระเข้ทันที พร้อมกับมีเซอร์ไพรส์เพิ่มนิดนึงจากเทรลเลอร์เท่านั้น

หนังก็เดินเรื่องไปตามสูตรทุกอย่าง แต่สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาก็คือ ความน่าเชื่อถือในเรื่องความสมจริงหลายจุด ซึ่งจริงๆ ถ้าหนังออกตัวว่าเว่อร์ๆ แบบ Sharknado หรือหนังเกรดบีปกติก็คงคิดน้อยกว่านี้ แต่ด้วยหน้าหนังกับเครดิตผู้สร้าง ทำให้คิดว่าหนังควรจะจริงจังกับความสมจริงมากกว่าหนังเกรดบีทั่วไปครับ ปัญหาคอหนังเริ่มต้นด้วยการให้ตัวละครหลักเจ็บหนัก กระดูกหักทิ่มแทงออกมาด้านนอก ซึ่งบาดแผลระดับนี้ไม่ใช่เล็กๆ ที่ยังมาเดินเหินอยู่ได้แบบแทบจะปกติ ไม่เหมือนคนกระดูกหักแต่อย่างใด (จากประสบการณ์ตรงที่เคยหักแบบนี้ อาการเสียเลือดออกจนวูบหมดสติแน่นอน)

รวมถึงการที่ถูกกัดเต็มๆ หลายครั้ง ก็ยังดูไม่เป็นอะไรมาก ซึ่งการถูกจระเข้งับเต็มข้อขนาดนั้นไม่น่าจะรอดตั้งแต่ต้นๆ เรื่องแล้ว (แรงกัดจระเข้สูงกว่าเสืออีกนะครับ) คือเข้าใจว่าเพราะเป็นตัวเอกก็เลยต้องรอด แต่ในเรื่องกลับให้เหล่าตัวประกอบที่เข้าฉากน้อยมากๆ ตายแบบทีเดียวจอด ตัวขาด แขนขาขาดกระจุย เอาว่าเป็นตัวประกอบจะตายง่ายก็ไม่แปลก

แต่มันแปลกตรงที่ไอ้เข้กัดแบบเดียวกันกับตัวเอกดันไม่เป็นแบบนี้ เหมือนไอ้เข้ในเรื่องสองมาตรฐานยังไงพิกล แถมเรื่องนี้ยังใช้งานตัวประกอบไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ ในหนังเกรดบีทั่วไปมักจะมีบทตัวละครเหล่านี้ดิ้นรนเอาตัวรอดสุดชีวิตให้มีลุ้นก่อนตาย แต่เรื่องนี้มาไวไปไวเหมือนค่าตัวหมด ซึ่งก็น่าเสียดายเพราะหนังสามารถขยายซีนฉากลุ้นเสียวก่อนตายได้มากกว่านี้

เหมือนคนเขียนบทต้องการสร้างให้ฝ่ายมนุษย์เจ็บหนักเสียเปรียบจระเข้ตั้งแต่เริ่มแบบไม่จำเป็น เพราะในพื้นที่แบบนั้นจระเข้ก็ได้เปรียบมากอยู่แล้ว แถมเอาจริงๆ ก็ไม่เห็นจะรู้สึกว่าบาดแผลใหญ่ๆ ของนางเอกจะมีผลกับเนื้อเรื่องตรงไหนเลย ซึ่งดูไปก็กวนใจคนดูอย่างผมว่า แผลเหวอะขนาดนั้น แต่ทำไมดูไม่ทุกข์ร้อนอะไรเลย แถมยังว่ายน้ำดำน้ำได้เป็นปกติอีกต่างหาก

ซึ่งจริงๆ เลือดที่ออกขนาดนั้นน่าจะทำให้น้ำคลุ้งไปด้วยเลือดเต็มไปหมดแล้ว ตัวจระเข้เองก็ไม่ได้กลิ่นเลือด ผิดจากความจริงที่จระเข้รับรู้กลิ่นได้ทั้งใต้น้ำและเหนือน้ำ (ประสาทสัมผัสด้านการรับกลิ่นของจระเข้นั้น นอกจากจมูกเป็นปุ่มกลมนูนที่ปลายปากแล้ว ยังมีกระเปาะเป็นโพรงภายในปาก จึงสามารถรับรู้กลิ่นได้ทั้งบนบกและในน้ำ อ้างอิงจากเว็บกรมประมง) แต่ในเรื่องกลับตัดเรื่องการรับรู้กลิ่นออกไป ไปใช้การได้ยินเสียงเป็นหลักในการติดตามเหยื่อ

ซึ่งความจริงจระเข้รับรู้ทั้งจากกลิ่นและก็การสั่นสะเทือนในน้ำ ไม่ใช่แค่เสียงเคาะท่อก็ล่อจระเข้แบบในเรื่องได้ (ขนาดตาแก่ตาบอดใน Don’t Breathe ยังหลอกแบบนี้ไม่ได้เลย) รวมถึงสายตาจระเข้ก็ดีในที่มืด ไม่ใช่แบบที่ในเรื่องบอกว่าสายตาไม่ดี การเคลื่อนที่ต้วมเตี้ยมเวลาล่าเหยื่อด้วยยิ่งผิดไปใหญ่ เพราะความจริงจระเข้วิ่งไวไม่แพ้มนุษย์เลยต่างหาก รวมๆ แล้วจระเข้ในเรื่องนี้ดุจริง แต่กลับโดนดรอปความสามารถไปหลายอย่างซะงั้น




แม้พล็อตเรื่องราวจะดูใหญ่โตจากเฮอริเคนระดับ 5 ถล่มเมือง แต่หนังทำด้วยทุนจำกัด (13.5 ล้านเหรียญ) จึงพยายามจำกัดพื้นที่เรื่องราวให้แคบๆ อยู่แค่ไม่กี่จุดในบ้าน แม้จะออกนอกบ้านมาได้ ไม่ทันไรก็ต้องหาเรื่องให้เข้าไปในบ้านอีก ซึ่งก็มีช่วงติดในที่เดิมนานๆ แอบเบื่อเล็กๆ อยู่เหมือนกันที่เรื่องวนไม่ไปไหน ซึ่งถ้าหนังขยายโลเกชั่นออกไปสำรวจในเมืองได้ เอาแค่ข้ามไปยังซูเปอร์มาเก็ตฝั่งตรงข้ามได้ก็ยังดี เรื่องก็คงมีอะไรให้เล่นมากกว่าฉากจระเข้ไล่จับคนวนในบ้านแบบนี้ ส่วนตัวแอบผิดหวังกับขนาดสเกลเรื่องตรงนี้กับหน้าหนังมากเหมือนกันครับ

แต่ไม่ว่าอย่างไง นี่ก็เป็นหนังที่ตอบโจทย์หนังสัตว์กินคนได้โอเคอยู่ แม้ว่าจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ แบบที่คิดว่าผู้สร้างระดับนี้น่าจะทำให้แตกต่างได้ ส่วนตัวถ้าเทียบกับหนังจระเข้เก่าๆ อย่างที่ชื่นชอบมากก็เรื่อง Lake Placid โคตรเคี่ยมบึงนรก  Crawl คลานขย้ำ ก็ไม่ได้ดีกว่าในทุกๆ ทาง  แต่ในสมัยนี้ที่หาดูหนังแบบนี้ได้ยากขึ้น สำหรับแฟนหนังสัตว์กินคนก็เป็นเหมือนหนังบังคับดูนั่นแหละครับ แต่สำหรับคนดูทั่วไปไม่ดูก็ไม่ได้รู้สึกว่าพลาดอะไร ข้ามไปได้เลยเหมือนกันครับ

หลังจากที่ดูจบ สิ่งแรกที่รู้สึกเลยคือ เฮ้ย ทำไมมันสนุกจัง สนุกกว่าที่คิดเอาไว้มาก คือ Crawl มันมีความเป็นหนังเกรดบีที่ถูกอัปเกรดขึ้นมาให้มีโปรดักชั่น มีการจัดวางเรื่องราวให้ดีขึ้น แถมด้วยลูกเล่นของหนังที่ปรับให้มันมีความเป็นหนังเอาชีวิตรอดระทึกขวัญที่แคบ ปนฉากตุ้งแช่มา ทำให้โดยภาพรวมของหนังมันสนุกมาก แล้วผู้กำกับเองก็ไม่ดันทุรังเล่ายืดด้วย คืออยากมาแค่ไหนมาแค่นั้น แม้ว่าเรื่องราวอาจจะเป็นเส้นตรงแต่มันก็เป็นทางตรงที่น่าสนใจและน่าติดตามมากๆ และอีกอย่างคือด้วยความที่ตัวละครมีไม่เยอะ ในหนังแบบนี้การไม่เจอตัวละครน่ารำคาญก็ถือว่าโอเคมากเลย

สรุป

โดยรวมแล้ว Crawl ถือเป็นงานคืนฟอร์มของผู้กำกับ Alexandre Aja ก่อนหน้านี้เคยชอบหนังของเค้าอย่าง Horn หรือแม้แต่ Piranha ก็ดีมันมีความแปลกเฉพาะตัวมาก เรื่องนี้ก็ไม่อยากให้มองข้ามเลย เป็นหนังที่ดูเพลิน ดูสนุก ย่อยง่ายและเปี่ยมไปด้วยความบันเทิงอีกเรื่อง อาจจะมีบางอย่างติดขัดนิดหน่อยบ้างแต่ไม่กระทบกับหนังโดยรวมแน่นอน ใครที่ไม่ติดในเรื่องของความกลัวพวกสัตว์ประหลาดหรือชอบหนังโหดๆหน่อย เรื่องนี้ต้องโดนเลย หนังถ่ายทอดสด

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

โปรเม อัจฉริยะต้องสร้าง

รีวิว โปรเม อัจฉริยะต้องสร้าง

นี่คือ เรื่องราวทั้งหมด ของ “เม เอรียา จุฑานุกาล” และครอบครัวของเธอ ที่เริ่มต้นจากการทิ้งโลกวัยเด็กของเธอไว้เบื้องหลังและเริ่มเล่นกอล์ฟตั้งแต่ยังเด็ก ตลอดเวลา เม และครอบครัว ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักทั้งเรื่องกอล์ฟและบททดสอบความยากลำบากในการใช้ชีวิต ช่วงเวลาที่บาดเจ็บ การตกลงสู่จุดที่แทบจะเรียกได้ว่าต่ำที่สุดของชีวิตของเธอ และครอบครัว ดูหนังออนไลน์

“ต้องแลกอะไรบ้างเพื่อความฝัน” อาจเป็นคำถามที่หนักหนาเพียงพอแล้ว แต่หนังยังเพิ่มความหนักอึ้งลงไปอีกด้วยคำถามว่า ความฝันเป็นสิ่งที่เราต้องการเอง หรือเป็นเพียงความต้องการของใครที่ฝังหัวเรามา แล้วความฝันนี้ยังมีค่ากับเราแค่ไหน ซึ่งนี้น่าจะเป็นโจทย์ที่ทำให้หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นมาจริง ๆ มากกว่าผลงานความสำเร็จของโปรเมในชีวิตจริงที่ก้าวขึ้นมาเป็นมือ 1 ของโลกในวัยเพียง 21 ปี ซึ่งเป็นผิวเคลือบอันหอมหวานเชิญชวนผู้ชมให้ใคร่รู้เท่านั้น และนั่นจึงทำให้หนังเรื่องนี้มีของ แตกต่าง และน่าสนใจกว่าหนังแนวชีวประวัติเรื่องอื่น ๆ เพราะมีภูมิหลังดรามาที่เฉพาะตัวในแบบครอบครัวเอเชียมาก ๆ รีวิว โปรเม อัจฉริยะต้องสร้าง

นี่คือผลงานล่าสุดจากค่าย Transformation Films ผู้สร้างหนังไทยคุณภาพอีกเจ้าหนึ่ง ล่าสุดก็หนังไทยในดวงใจของใครหลายคนอย่าง แสงกระสือ เป็นการันตี โดยครั้งนี้ได้ดึง คิม-ธนวัฒน์ เอี่ยมจินดา ผู้กำกับสายโฆษณาสุดเก๋ามาทำหนังยาวเรื่องแรก และได้ขออนุญาตนำชีวประวัติของโปรกอล์ฟหญิงชาวไทยที่ประสบความสำเร็จถึงระดับโลกอย่าง โปรเม เอรียา จุฑานุกาล มาเผยเบื้องลึกเบื้องหลังที่ไม่เคยมีใครเคยรู้มาก่อน ซึ่งปมดราม่าสุดเหลือเชื่อระหว่างลูกสาวและพ่อนั้นก็เป็นตัวชูโรงสำคัญ

ต้องบอกว่าน่าดูมากตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น ไม่รู้ว่าในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไทย เคยทำหนังประวัตินักกีฬามาบ้างหรือเปล่า แต่เท่าที่พยายามนึกดูนี่ไม่มีเลยสักเรื่อง และโปรเม ก็มีวัตถุดิบเรื่องราวมากพอที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสักเรื่อง

คุณว่าความสำเร็จ เกิดขึ้นเพราะพรสวรรค์หรือเพราะพรแสวง คำถามนี้เราอาจตอบไม่ได้ แต่ที่รู้ๆ ความสำเร็จของโปรเมมีจุดเริ่มต้นมาจากความ “บ้า” ของพ่อ ที่ได้สร้าง “เม” จนกลายมาเป็นโปรและคว้าอันดับ 1 นักกอล์ฟหญิงของโลกได้

หนังโดดเด่นมาก ๆ ๆๆๆ ๆๆๆ แบบอยาก “ๆ” ใส่ไปอีกหลาย ๆ ตัว คือเรื่องการแสดงของ พี่เอก ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ที่กล้าฟันธงเลยว่าเรื่องนี้แกขโมยหนังทั้งเรื่องไปเป็นของแกเรียบร้อย มองดี ๆ นี่ไม่ใช่หนังโปรเมหรอกมันคือหนัง พ่อเม เสียมากกว่า ยิ่งได้การเขียนบทที่ใส่สีตีฉากมาขยี้ให้พี่เอกได้โชว์สกิลแบบพลังทำลายล้างสูงด้วยแล้ว

คือแกเล่นเอานักแสดงคนอื่นตายจริง ๆ แต่ก็ต้องชื่นชมในส่วนของตัวละครอื่น ๆ เช่นกันที่เพิ่มดีกรีการปะทะในฉากให้ระอุสุด ร้าวรานสุด อย่างบทแม่ที่ต้องมาขับพลังดราม่าครอบครัวให้เข้มขึ้น ที่ได้ เปิ้ล หัทยา วงศ์กระจ่าง มารับทถือว่าสมน้ำสมเนื้อกับพี่เอกมาก พี่เปิ้ลเล่นแบบนิ่งแต่พร้อมระเบิดได้สุดยอดมาก พวกฉากที่เห็นในตัวอย่างน่ะ บอกเลยแค่น้ำจิ้มครับ ของจริงนี่ซี้ดปากยาว

หนังเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องกอล์ฟก็สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก มีความเป็นมิตรกับคนดู ด้วยการอธิบายเกี่ยวกับกีฬากอล์ฟเล็กน้อยผ่านฉากๆ นึง แถมที่สำคัญคนที่ไม่ได้รู้จักหรือติดตามวงการนี้กับตัวของ เม อารียา ก็สามารถมาดูเรื่องนี้แล้วอินได้ไม่ยากเลย เพราะหนังเรื่องนี้จะพาคุณไปรู้เรื่องราวเหล่านั้นเอง

หนังมีการดำเนินเรื่องที่สนุก ไม่น่าเบื่อ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นในวัยเด็ก ผ่านการฝึกซ้อมสุดโหดของผู้เป็นพ่อ (และโค้ช) จนมาถึงแมชที่ส่งผลให้เธอประสบความสำเร็จคว้าอันดับ 1 ของโลกในวงการกอล์ฟ เราจะได้เห็นพัฒนาการ ปัญหา จุดหักและเรื่องราวที่ “สร้าง” ให้ “เม” กลายมาเป็นโปรจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างดีเลย

สิ่งที่น่าชื่นชมที่สุดของเรื่องต้องยกให้บทพ่อ ที่แสดงโดย ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ที่หาที่ติไม่ได้เลยจริงๆ เรียกได้ว่าทุกฉากที่เขาปรากฏตัว แสดงออกมาได้ยอดเยี่ยมสุดๆ เล่นอารมณ์ในทุกซีน และทำได้อย่างดีมากๆ คาแร็คเตอร์เหมือนพ่อตัวจริงด้วย อีกทั้งตัวละครนี้ยังกลมมากๆ เป็นคาแร็คเตอร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในเรื่องเลย เพราะมันทำให้เรารู้สึกโกรธและเกลียดมาตลอดทั้งเรื่อง แต่สุดท้ายปลายทางกลับทำให้เรารัก นับถือ และเคารพ การกระทำของตัวละครนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ประมาณว่า “เออจริงของเขาว่ะ”
และก็ต้องพูดถึง คริสซี่ นักแสดงผู้รับบท เม-เอรียา ที่บอกตรงๆ ว่าหน้าตาและรูปร่างไม่เหมือนหรือใกล้เคียงกับโปรเมเลยสักนิด แต่ต้องยอมรับว่าการแสดงของเธอนับว่าแสดงได้ในระดับที่เอาอยู่เลยแหละ

แต่แน่นอนว่ามันก็มีข้อเสียเหมือนกัน อย่างแรกเลยเรารู้สึกว่าหนังมันขัดกับชื่อเรื่องอยู่พอสมควรนะ เพราะหนังชื่อ “โปรเม” แต่ตัวละครที่เด่นจริงๆ คือ “พ่อ” ไม่ใช่มันไม่ดีนะ เราชอบมันด้วยซ้ำ เพียงแต่เหมือนกับชื่อหนังโฟกัสผิดจุดไปหน่อย แถมเรายังไม่ได้เห็นการแข่งขัน ความพยายาม แรงฮึดสู้ ความตั้งใจของตัว เม อารียา เท่าที่ควร เช่นเดียวกัน เรายังไม่รู้เหตุผลเบื้องหลังที่พ่อต้องเคี่ยวเข็ญเมหนักขนาดนั้นด้วย

ก็อย่างที่บอก หนังไม่ได้เน้นถึงการแข่งขันกอล์ฟ มันเลยกลายเป็นว่าฉากการแข่งขันมันไม่สมจริง ดูไม่อิมแพ็ค ไม่ตื่นเต้น และไม่ส่งผลให้เรารู้สึกลุ้นมากเท่าไหร่

และในฟากดารานำที่ต้องแบกบทเด่นของเรื่อง แม้จะเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่อย่าง คริสซี่ กฤษณ์สิรี สุขสวัสดิ์ จากละคร The Sixth Sense สื่อรักสัมผัสหัวใจ มารับบทโปรเมตอนโต และได้ ปริม อัจฉรียา โพธิพิพิธธนากร จากละครลูกกรุง มารับบทโปรโม พี่สาวของโปรเม ซึ่งทั้งคู่ก็ผันตัวมาสู่จอเงินและเล่นดราม่าได้แบบผิดหูผิดตาจากงานเก่า ๆ ไปเลย และเอาตัวรอดจากพลังของพี่เอกได้แบบไม่อายใคร อย่างปริมก็มีฉากใหญ่ในบ้านที่เธอถ่ายทอดได้สุดยอดมาก และในส่วนของคริสซี่เองก็มีฉากร้านอาหารที่คิดว่าเล่นยากและเธอก็ทำได้ดีน่าจดจำ


อีกส่วนที่หนังโดดเด่นมากไม่แพ้กันคงเป็นการเล่าเรื่องแบบตั้งคำถาม ที่ชวนให้คิดให้ย้อนมองดูตัวเราเองตลอดเวลา ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องที่ท้าทายความรู้สึกมาก ๆ แม้ไม่ได้เรื่องใหญ่ในชีวิตจริง แต่พอปรากฏในหนังไทยแล้วกลายเป็นฉากเล่นใหญ่ที่ทำเอาประหลาดใจเหมือนกันที่ผู้สร้างไม่กลัวกองเซนเซอร์เลยหรือ
และภายใน 10 นาทีหนังอัดประเด็นใส่หน้าคนดูไม่ยั้ง ทั้งคำพูดของพ่อที่ขอครูให้ลูกไปซ้อมมากกว่าไปโรงเรียน เพราะเขาจะปั้นให้ลูกเป็นแชมป์โลกไม่ได้มาเป็นพนักงานเงินเดือนของานเขาทำด้วยใบปริญญาแบบเด็กทั่วไป แม้คำแรงแต่ก็น่าคิดใช่มั้ยล่ะ?

มันยังสะท้อนเรื่องทัศนคติและการเสียสละในมุมมองของพ่อ ว่าถ้าจะสร้างแชมป์โลกคุณพร้อมเสี่ยงทุกอย่าง ทั้งทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งบรรยากาศแบบพ่อแม่ลูกในครอบครัวที่จะหายไปเหลือเพียง โค้ชกับนักกีฬา เท่านั้น แล้วก็กลายเป็นคำถามน่าสนใจว่า แต่กับเด็ก ๆ ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเลือกทางเดินชีวิต เลือกความฝัน เลือกความชอบของตนเอง

เขากำลังถูกละเมิดการใช้ชีวิตหรือไม่ ซึ่งหนังก็มีคำถามยิงต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ อย่างสนุกสนานและให้สาระสุด ๆ จนกระทั่งฉากสุดท้ายที่ว่าเด็กทุกคนมีพรสวรรค์แค่รอการสนับสนุน ผมเชื่อว่าทุกคนจะมีคำถามในใจที่ต่างกัน และได้คำตอบที่ต่างกันจากหนังเรื่องนี้ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่หนังก็ทำหน้าที่ประเทืองปัญญาได้สมบูรณ์แบบมากแล้ว ต้องคารวะในจุดนี้จริง ๆ

จุดเสียในหนัง

คือความคลุมเครือหลายอย่างที่ลืมเล่าให้เคลียร์แล้วทิ้งความสงสัยในใจคนดูแบบไม่จำเป็น อย่างตัวตนของพี่ยุ้ยที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่เข้ามา นิสัยการเก็บฝาขวดของโปรเมที่ไม่ได้ขยายความ และที่หนักหนาสุดคือแรงจูงใจที่มาที่ไปในการมีเป้าหมายแรงกล้าของตัวละครพ่อว่าทำไมต้องยึดติดแชมป์โลกกีฬากอล์ฟขนาดนั้น ซึ่งกลายเป็นทำให้ตัวละครลึกไม่สุดมีมิติไม่สุดไปอย่างน่าเสียดาย

และสำหรับใครที่กลัวว่าจะดูกติกากอล์ฟไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ต้องห่วงเลย เพราะหนังแทบไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแข่งขันอะไรเลย ใครหวังไปดูหนังกอล์ฟจริงจัง ก็เสียใจด้วยนะครับ แต่เชื่อว่าการตัดสินใจให้เป็นดราม่าบทเรียนชีวิตนั้นจะสื่อสารไปยังผู้ชมได้ลึกกว่า และได้ประโยชน์กว่าด้วยนั่นเอง

สรุป

โปรเม อัจฉริยะต้องสร้าง เป็นหนังที่จริงๆ แล้ว เราไม่รู้ว่าหนังเปลี่ยนแปลงเรื่องราวความจริงไปมากมายแค่ไหน แต่ถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ นับว่าหนังกล้าที่จะนำเสนอแง่มุมออกมาได้อย่างไม่อายเลย ตัวหนังสะท้อนให้เห็นเลยว่าความสำเร็จมันไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน คำว่า อัจฉริยะ มันไม่ได้เกิดกับทุกคน มันต้อง “สร้าง” ขึ้นมา และที่สำคัญหนังไม่ได้พาเรามาดูความสำเร็จของเธอ แต่หนังพาเรามาให้รู้ว่า กว่าที่จะประสบความสำเร็จ มันต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง โปรแกรมหนัง
ปล. ตอน End-Credit มีเพลงของ Jelly Rocket ขึ้นนี่กรี๊ดเลย ฟังเพลิน

Scary Stories to tell in the Dark

รีวิว คืนนี้มีสยอง

รีวิว Scary Stories to tell in the Dark - คืนนี้มีสยอง

ในอเมริกานี่หนังสือประเภทสยองขวัญสำหรับเด็กและเยาวชนดูจะเป็นที่นิยม มีนักเขียนที่ครองตลาดแนวนี้ก็คือ อาร์.แอล. สไตน์ ที่ฮอลลีวู้ดก็เคยหยิบ Goosbumps ของเขามาสร้างเป็นภาพยนตร์ไปแล้ว และอีกรายหนึ่งก็คือ อัลวิน ชวาร์ต เขามีผลงานตีพิมพ์มาแล้วมากกว่า 50 เล่ม ผลงานของเขามีชื่อเสียงมากในยุค
70s – 80s และเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือหนังสือชุด Scary Stories to tell in the Dark เป็นหนังสือชุด 3 เล่ม ออกมาในปี 1981,1984 และ 1991 ตามลำดับ เนื้อหาในหนังสือจะเป็นการรวมเรื่องสั้นที่อัลวินหยิบเอาความเชื่อของคนโบราณและตำนานพื้นบ้านมาดัดแปลงเป็นเรื่องราวสยองขวัญ รีวิว คืนนี้มีสยอง
ดูหนังออนไลน์


เรื่องย่อหนัง

หนัง Scary Stories to Tell in the Dark หรือชื่อไทยว่า คืนนี้มีสยอง จากตำนานสู่ความสยองโดยฝีมือของผู้สร้างเจ้าของรางวัลออสการ์ กีเยร์โม เดล โตโร “SCARY STORIES TO TELL IN THE DARK”เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวภายในเมืองมิลวัลเลย์ ประเทศอเมริกา ปี 1968เมื่อเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งได้พบกับหนังสือของ ซาร่าห์ เบลโลวส์ ที่ได้บันทึกเรื่องเล่าสยองขวัญที่ราวกับหลุดออกมาจากความกลัวที่ซ่อนอยู่ภายในส่วนที่ลึกที่สุดของจิตใจแต่ในเวลาต่อมาพวกเขากลับพบว่าเรื่องที่บันทึกในหนังสือเล่มนั้นกลับกำลังกลายเป็นเรื่องจริงที่จะคร่าชีวิตของพวกเขา

ด้วยเนื้อหาที่น่ากลัวบวกกับภาพประกอบที่ชวนหลอนของสตีเฟน แกมเมล ทำให้หนังสือเป็นที่สนใจของกีเยร์โม เดล โตโร ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของหนัง Scary Stories to tell in the Dark ที่เขามอบหน้าที่กำกับให้ อันเดร โอเวอร์ดัล ผู้กำกับสัญชาตินอร์เวย์ ผู้เคยมีผลงานขนหัวลุกมาแล้วใน The Autopsy of Jane Doe ส่วนตัวกีเยร์โมนั้นนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการสร้างและร่วมเขียนบทเองกับ แดน และ เควิน เฮกแมน 2 พี่น้องที่เคยผ่านมาแต่งานเขียนบทแอนิเมชัน The Lego Movie , Hotel Transylvania

งานบทภาพยนตร์นั้นดัดแปลงเนื้อหาจากนิยายต้นฉบับมาได้น่าสนใจ หนังย้อนยุคไปในปี 1968 เล่าเรื่องราวของ 3 เพื่อนซี้วัยมัธยม สเตลลา , ออร์กี้ และ ชัค ที่นึกคะนองในคืนวันฮาโลวีน 3 เกลอพา ราโมน เพื่อนใหม่ต่างถิ่นไปบุกบ้านผีสิงที่มีตำนานเล่าขานถึงความเฮี้ยนของ ซาราห์ เด็กสาวที่มีข่าวลือกันว่าเธอเสียสติ แล้วครอบครัวก็เอาเธอไปขังไว้ในห้องใต้ดิน สุดท้ายเธอก็แขวนคอตายด้วยผมตัวเองในบ้านหลังนี้

สเตลลา เจอสมุดบันทึกของซาราห์และเธอนำมันกลับมาด้วย ในสมุดบันทึกนี้ซาราห์เขียนเรื่องสั้นสยองขวัญไว้มากมาย แต่แล้วเรื่องราวไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น มีเรื่องราวใหม่ถูกเขียนขึ้นในสมุดและเรื่องราวนั้นเกี่ยวกับแก๊ง 3 เกลอ และวัยรุ่นในเมืองที่เคยบุกเข้าไปในบ้านหลังนั้น แล้วชื่อผู้โชคร้ายที่ซาราห์เขียนถึงก็จะเจอจุดจบที่ชวนสยองเช่นเดียวกับเรื่องราวที่เธอเขียนขึ้น 3 เกลอจึงต้องหาทางยุติความพยาบาทของซาราห์ก่อนที่เรื่องราวของตัวเองจะถูกเขียนขึ้น โดยเรื่องราวที่เขียนขึ้นใหม่นั้น ทีมเขียนบทก็คัดมาเฉพาะเรื่องที่น่ากลัวสุดมาจากนิยายต้นฉบับ

หลังจากถูกปีศาจรายแรกจู่โจม โทนเรื่องก็เริ่มเดินหน้าในแนวลึกลับปริศนา กับการสืบหาประวัติของซาราห์หาข้อเท็จจริงว่าแท้จริงแล้วเธอวิกลจริตตามตำนานจริงหรือไม่ แล้วจุดประสงค์ของเธอคืออะไร ตัดสลับกับฉากสยองที่ปีศาจตัวถัดไปทยอยออกมา โทนหนังเข้มข้นขึ้นพอกับเวลาที่น้อยลงที่แก๊งเพื่อนรักต้องรีบคลี่คลายปริศนาให้ได้ทันก่อนที่เรื่องต่อไปจะมาถึงคิวพวกเขา

ด้วยเหตุที่ต้นฉบับเป็นนิยายสำหรับเด็กและเยาวชนหนังก็เลยได้เรต PG-13 ซึ่งดูขัดกับภาพที่ได้เห็นจากตัวอย่างหนังอย่างมาก เพราะในตัวอย่างนั้นอัดแน่นไปด้วยปีศาจน่ากลัวหลายตัว แต่พอเห็นเรตก็นึกสงสัยว่าแล้วหนังจริงมันจะน่ากลัวหรือ แต่พอได้ดูแล้วก็ยอมรับได้ว่า PG-13 ก็ทำเอาลุ้นเกร็งไปได้เหมือนกัน ต้องยอมรับว่าทีมงานมีไอเดียในการเรียงร้อยแต่ละเรื่องสั้นของอัลวินได้อย่างฉลาด ด้วยการเขียนเรื่องราวใหม่มาครอบเพื่อโยงใยแต่ละเรื่องสั้นเข้าหากัน

โดยคงภาพลักษณ์ของปีศาจจากไอเดียของอัลวิน ชวาร์ต และ สตีเฟน แกมเมล ไว้ ปีศาจแต่ละตัวโผล่มาแค่ไม่กี่นาที แต่ทุกครั้งที่เป็นฉากขนหัวลุก ผู้กำกับอันเดร ก็คงมาตรฐานของบรรยากาศหนังสยองขวัญได้ครบถ้วน มีทั้งโผล่มาแวบ ๆ ฉากเงียบเคลื่อนกล้องช้า ๆ ให้ลุ้นว่าอะไรจะโผล่มา และตุ้งแช่พอประมาณ แต่เส้นจำกัดของ PG-13 ก็มีในจังหวะที่ปีศาจจัดการเหยื่อด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงเท่าบรรดาหนังเชือด ไม่มีเลือดให้เห็น ไร้ฉากแหวะ รุนแรงสุดที่เห็นในเรื่องนี้ก็คือฉากหักคอเหยื่อ

ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่บรรดาที่ปีศาจต่างๆในจินตนาการของแต่ละเรื่องเล่าได้ปรากฏตัวขึ้นมาเพื่อสร้างความตื่นเต้นตกใจ แต่หนังเรื่องนี้ยังเป็นการอุปมาอุปมัยในทางอ้อมที่ว่าด้วยเรื่องเล่าของ “ซาร่าห์ เบลโลวส์” ที่ถูกทารุณกรรมโดยครอบครัวของตัวเองและความคลั่งแค้นทำให้เธอมีพลังอำนาจในการดลบันดาลให้ครอบครัวของเธอเองมีอันเป็นไปตามเรื่องเล่าที่เธอเขียนขึ้นมา


“เรื่องเล่าเป็นทั้งอำนาจ และเป็นหนทางในการเยียวยาตัวเอง” คือวรรคทองที่ปรากฏอยู่ในเรื่องและถูกเอ่ยถึงหลายครั้ง เราจะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่หนังสือของซาร่าห์ถูกเขียนเรื่องราวขึ้นจะต้องมีคนบาดเจ็บ ล้มตาย หรือหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งการใช้วิธีการอันรุนแรงของซาร่าห์ (ที่เป็นวิญญาณหรือความชั่วร้าย) นั้นก็เปรียบเสมือนวิธีการเยียวยาตัวเองของเธอเช่นกัน (ปลดแอกความแค้นที่คนอื่นทำร้ายเธอ ด้วยการทำร้ายคนอื่นกลับ)

เมื่อเราลองพิจารณาบริบทฉากหลังที่ว่าด้วยสงครามเวียดนามที่กำลังคุกกรุ่น บรรดาคนหนุ่มสาวอเมริกาถูกส่งไปรบในสงครามดังกล่าวอย่างไร้เหตุผล เพียงเพราะความต้องการแสวงหาอำนาจและทรัพยากรทางธรรมชาติของรัฐบาล ไม่ต่างอะไรจากการใช้ “อำนาจมืด” ของซาร่าห์ ต่างก็เพียงแต่ “สงคราม” ไม่ใช่วิธีการเยียวตัวเองของมนุษย์

ปีศาจทั้ง 4 ตัวคือสีสันของหนัง หุ่นไล่กาแฮร์โรลด์ ต่อให้ไม่ลุกมาเดินได้ก็โคตรน่ากลัวแล้ว , ปีศาจกูลตามหานิ้วเท้า ตัวนี้น่ากลัวสุด , ผู้หญิงผิวซีด ตัวนี้ออกแบบหน้าตาฉีกยิ้มดูน่ารักไปหน่อย และ รายที่ดุสุดโหดสุดก็คือ The Jangly Man ผีร่างหลุด เป็นปีศาจตัวเดียวที่ทีมงานออกแบบขึ้นมาเอง จุดเด่นของ The Jangly Man คือมาจากซากศพที่โดนหั่นเป็นชิ้น ๆ คอ ตัว แขน ขา แล้ววิ่งเข้าหากันประกอบเป็นร่าง แต่เป็นตัวที่ผิดรูปผิดร่าง หงายท้องยืนสี่ขาเหมือนหมาแล้ววิ่งเข้าหาเหยื่อ

ใครดูฉากนี้ก็ต้องเข้าใจว่าทีมงานใช้เทคนิค CG สร้างภาพ The Jangly Man ขึ้นมา แต่ที่จริงแล้วใช้คนแสดงจริง และคนนั้นก็คือ ทรอย เจมส์ นักกายกรรมดัดตน ที่สามารถหงายท้องแล้วเดินสี่ขาได้จริง เขาเคยสร้างความฮือฮามาแล้วในรายการ America’s Got Talent

มองในแง่ของหนังสยองขวัญ Scary Stories to tell in the Dark ตอบสนองแฟนหนังสยองขวัญได้ดี มีฉากให้ลุ้นเกร็งได้อย่างต่อเนื่อง ปีศาจแต่ละตัวมีไอเดียสร้างสรรค์แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก สิ่งที่น่าเสียดายก็คือ ฉากเด็ดโดนหยิบมาขายในตัวอย่างเสียหมดแล้ว เราได้เห็นผีทุกตัวครบถ้วนแล้ว มีเพิ่มเติมก็คือได้ลุ้นกันยาวขึ้นหน่อยเวลาปีศาจแต่ละตัวได้ฤกษ์ออกปฏิบัติการ

ส่วนด้อยของหนัง

คือรูปแบบการดำเนินเรื่องที่ยังคงธรรมเนียมเดิม สร้างกลุ่มตัวเอกขึ้นมาแล้วเขียนให้โดนกำจัดไปทีละราย และรูปแบบนิยมที่สุดในหนังประเภทนี้ก็คือเด็กวัยรุ่นทุกคนเกิดมาโดยไร้ซึ่งความกลัว ชอบบุกเข้าบ้านผีสิงตอนกลางคืน เวลาได้ยินเสียงอะไรก็ชอบเดินเข้าไปหา ผิดวิสัยมนุษย์ ดูประหลาด แต่ถ้าขาดพวกนี้ไป หนังก็ไม่มีฉากให้ลุ้นเนอะ

สรุป

Scary Stories to Tell in the Dark มีเรื่องราวที่น่าสนใจ แต่พอมันถูกนำไปร้อยเรียงเป็นหนังยาวมันกลับดูน่ากลัวน้อยลงไปซะอย่างนั้น มันจึงทำให้ค่อนข้างผิดหวังในระดับนึง เพราะเราคาดหวังอะไรที่มันมากกว่าหนังผีธรรมดาๆแบบนี้ เว็บดูหนัง