รีวิว Lost In Space - ทะลุโลกหลุดจักรวาล
Lost in Space ซีรีส์ไซไฟสร้างโดย Netflix เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แกะกล่องแต่เป็นการนำซีรีส์เก่าแก่กลับมาปัดฝุ่นทำใหม่ จากปี 1965 ในชื่อเดียวกัน และหนังที่เข้าโรงฉายเมื่อปี 1998 แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์จนต้องหยุดโปรเจ็กต์นี้ไป และได้กลับมาอีกครั้งใน Netflix รีวิว Lost In Spaceเรื่องย่อ
เมื่อโลกไม่อาจอาศัยได้อีกต่อไปจึงเกิดโครงการสร้างอาณานิคม เรสโซลูต ในอวกาศโดย ครอบครัวโรบินสัน ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในมนุษย์กลุ่มแรกที่ได้สิทธิ์ขึ้นไปใช้ชีวิตบนนั้น แต่หลังเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันทำให้ยาน จูปิเตอร์ของพวกเขากระเด็นไปตกยังดาวลึกลับ งานนี้ทั้ง จอห์น (โทบี สตีเฟน์) คุณพ่อทหารผู้เข้มงวดกับลูกๆ มอรีน (มอลลี พาร์คเกอร์) คุณแม่นักวิทยาศาสตร์ จูดี้ (เทย์เลอร์ รัสเซลล์) ผู้รอบรู้ ชาญฉลาด และกล้าหาญ เพนนี (มีนา ซันด์วอลล์) ลูกสาวคนกลางที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์ และ วิล (แม็กซ์ เจนคินส์) ลูกชายคนเล็กที่พบมิตรภาพในตัวหุ่นยนต์สังหารต้องร่วมใจกันหาหนทางกลับสู่ เรสโซลูต ก่อนดาวดวงนี้จะถูกดวงอาทิตย์แผดเผา โดยมี ดร.สมิธ (พาร์คเกอร์ โพซีย์) ผู้มีความลับดำมืดและไม่อาจไว้ใจได้ก้าวเข้ามาแทรกกลางระหว่างครอบครัวของพวกเขาถ้าคุณเป็นติ่งภาพยนต์ไซไฟวิทยาศาสตร์อย่าง Interstellar หรือมีอารมณ์ร่วมกับการบุกเบิกอวกาศอย่าง Prometheus หรือภาพยนต์อะไรทำนองนี้แล้วละก็ นี่อาจจะเป็นซีรีย์ที่จะช่วยเติมเต็มจินตนาการของนักสำรวจอวกาศของคุณให้ล้นปรี่ออกมาก็ได้
Lost in Space เป็นเรื่องราวของครอบครัว Robinson ที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกตั้งอาณานิคมใหม่ หลังจากโลกนั้นไม่สามารถอยู่ได้อีกต่อไป จากมลภาวะที่เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในวันคริสมาสต์
โดยกลุ่มผู้ได้รับเลือกในการบุกเบิกอาณานิคมใหม่นี้ จะต้องโดยสารไปกับยานกึ่งสถานีอวกาศที่ชื่อ The Resolute ซึ่งเมื่อไปถึงดาวปลายทางแล้ว แต่ละครอบครัวจะต้องเข้าไปอยู่ในยานลูกของแต่ละครอบครัวที่เชื่อ Jupiter เพื่อร่อนลงจอดและตั้งอาณานิคมต่อไป
เดิมที Lost In Space คือซีรีส์ดูหนังยอดนิยมที่ออกอากาศถึง 3 ซีซันระหว่างปี 1965-1968 จำนวน 83 ตอน สร้างสรรค์โดย เออร์วิน อัลเลน ก่อนจะได้มีโอกาสขึ้นจอใหญ่ในปี 1998 ซึ่งได้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ไม่ดีนัก จนมาถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน เมื่อ Netflix ร่วมกับ Legendary Television นำซีรีส์ไซไฟอวกาศชุดนี้มาปัดฝุ่นใหม่ให้เข้ากับบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป
ตั้งแต่การเพิ่มบทบาทของตัวละครหญิงโดยเฉพาะตัวละคร มอรีน ที่ดูจะมีบทบาทและความเป็นผู้นำมากกว่า จอห์น เสียอีก สอดคล้องกับบทบาทผู้หญิงในยุคปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับเพศชาย รวมถึงการเปลี่ยนให้ลูกสาวคนโตอย่าง จูดี้ เป็นสาวผิวสีเพื่อเพิ่มมิติที่มาของครอบครัวโรบินสันให้ยิ่งซับซ้อน
และแสดงถึงความหลากหลายด้านชาติพันธุ์อันเป็นอุดมคติของอเมริกาในยุคปัจจุบันเข้าไปได้อย่างคมคาย และทำให้ซีรีส์ชุดนี้มีความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าแค่การเป็นซีรีส์รีเมคจากผลงานดังในอดีต
เนื้อเรื่อง
ส่วนการเน้นเรื่องราวดราม่าในครอบครัว ตรงนี้ยอมรับเลยว่าเป็นดาบสองคมของซีรีส์จริงๆเพราะหากคนดูไม่ได้เป็นโรควิตกกังวลหลังผ่านวิกฤติหรือ PTSD แบบจูดี้ หลังติดอยู่ในน้ำแข็งนานๆ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีใครสนใจตามประสาลูกคนกลางแบบ เพนนี หรือกระทั่งเป็นเด็กอ่อนแอแบบ วิล แล้ว ก็ยากมากที่เราจะมีประสบการณ์ร่วมกับตัวละครแต่ยังดีที่ซีรีส์ให้รายละเอียดตัวละครพ่อและแม่ได้น่าสนใจ เพราะจอห์น เองก็ไม่ได้เป็นพ่อที่สมบูรณ์แบบ ติดออกคำสั่งและแทบจะไม่สามารถกลับมาสานสัมพันธ์กับลูกๆได้สนิทใจหลังเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ มอรีนและจอห์น ต้องแยกทางกันก่อนเดินทางสู่ เรสโซลูต หรือแม้แต่มอรีน ที่มีปมผิดบาปในใจที่เธอต้องโกงผลให้ วิล ได้ขึ้นมาอยู่กับครอบครัว
แต่ที่รู้สึกกวนใจจริงๆคงหนีไม่พ้นปมบางอย่างในเรื่องที่ดูจงใจเกินไปหน่อย เช่นการใส่ ดร.สมิธ ให้เป็นตัวร้ายแบบคอยหาเรื่องมาทำให้ครอบครัว โรบินสัน แตกแยกกัน หรือที่นางพยายามแย่งหุ่นยนต์ไปจากวิล บางทีก็ดูไร้เหตุผลไปหน่อย แต่ว่าก็ว่าเถอะ พอเป็น พาร์คเกอร์ โพซีย์ มาแสดงเลยกลายเป็นว่า ตัวละคร ดร.สมิธ หรือ ชื่อจริงว่า….. (ไม่อยากสปอยล์ ไปดูกันเองนะจ๊ะ) กลายเป็นสีสันที่หาก Lost In Space ขาดเธอไปเรื่องราวคงไม่เข้มข้นขนาดนี้แน่ๆ
ในบางอารมณ์นั้น Lost in Space เวอร์ชั่นนี้ ให้ความรู้สึกและอารมณ์เดียวกับ LOST ซีรีย์ยอดฮิตเมื่อหลายปีก่อน (หวังว่าตอนจบมันจะไม่ห่วยเหมือนกัน) ที่เป็นเรื่องราวของผู้รอดชีวิต ค้นพบสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ปริศนาใหม่ๆ และเป้าหมายใหม่ๆในการเอาตัวรอด ต่างกันตรงที่ ปริศนาต่างๆที่เกิดขึ้นใน Lost in Space นี้นั้นจะอิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทำให้ดูมีเหตุผลรองรับและขับเคลื่อนอารมณ์ของคนดูให้พุ่งไปในแง่ของซีรีย์แนวไซไฟอวกาศ มากกว่าจะเป็นเรื่องราวอภินิหารทั่วไป
แม้เว็บดูหนังว่า Lost in Space จะออกมาดูเป็นซีรีย์ไซไฟ แต่ภาพรวมทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้เจาะจงกลุ่มคนดูแต่อย่างใด เพราะซีรีย์เรื่องนี้ทำออกมากว้างมาก มีทั้งความดราม่า, ปัญหาครอบครัว, ความรัก, การสำรวจ, การเอาตัวรอด, แอคชั่น นอกจากนี้ พล็อตเรื่องที่ไม่ได้มีความว้าวหรือหักมุมอะไรมากจนเกินไป ทำให้รสชาติของมันออกมากลมกล่อมพอดี เหมาะจะเป็นซีรีย์ที่ดูทั้งครอบครัวได้เลย
จุดเด่น
สิ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของซีรีส์ชุดนี้นอกจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ต่างๆทั้ง หุ่นยนต์สังหาร หรือบรรดาแผ่นดินไหวและเหล่าสัตว์ประหลาดบนดาวแล้ว ก็มีความคล้ายสตาร์เทรคตรงที่ตัวละครจะแก้ปัญหาต่างๆโดยเน้นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าจะเป็นไปได้มาเป็นเหตุผลรองรับการกระทำและด้วยนี่คือภารกิจเพื่อเอาชีวิตรอด หลายวิบากกรรมจึงดูใกล้ตัวและคนดูก็พร้อมเอาใจช่วย ถึงแม้บางอย่างจะดูโม้ไปหน่อยก็ตามแต่ด้วยการแสดงที่น่าเชื่อถือคนดูก็พอหยวนๆไปได้บ้างล่ะนะ
ข้อเสีย
และถ้าจะพูดถึงข้อเสียของซีรีย์เรื่องนี้ คงจะเป็นเรื่องการตัดสินใจหลายๆครั้งของหลายๆตัวละคร ที่อาจจะทำให้คนดูถึงกับเกาหัว เพราะมันอาจจะไม่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ถึงกับเป็นการตัดสินใจที่แย่นัก เพราะเมื่อลองคิดว่า หากเราอยู่ในสถานการณ์นั้นและมีปมในชีวิตแบบเดียวกับตัวละคร บางที เราอาจจะตัดสินใจแย่กว่านั้นก็ได้เทียบกับสตาร์เทร็ค
เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าเทียบสตาร์เทร็คกับเรื่องนี้ล่ะ ต้องบอกว่าแนวทางการนำเสนอรวมถึงเนื้อหาหลักไปคนละทางเลยครับ อย่างแรกเลยคือเรื่องนี้ มนุษย์จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานจากเหตุไม่คาดฝัน และพวกเขายังไม่พร้อมที่จะสร้างยานอวกาศที่สามารถเดินทางได้ไกลเพราะยานแม่ที่ใช้เดินทางนั้น สร้างในอวกาศและยังมีความเปราะบางไม่ได้มีการสร้างจากโลกแล้วบินขึ้นไปแบบหนังไซไฟหลายๆเรื่อง พูดง่ายๆว่าความไฮเทคยังห่างไกลสตาร์เทร็คมาก พวกชีลป้องกันอะไรนี่ไม่ต้องพูดถึงครับ
นอกจากนั้นแล้ว เนื้องเรื่องของเรื่องนี้จะโฟกัสที่ตัวครอบครัวโรบินสันและหุ่นยนต์ โดยจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา รวมถึงจุดหมายในการไปดาว Alpha Centauri ที่แน่ชัด เนื้อเรื่องอาจจะมีการแวะตามดาวต่างๆบ้างด้วยเหตุการณ์ที่จำเป็น ในขณะที่สตาร์เทร็คนั้นจะเป็นการออกสำรวจอวกาศมากกว่า ทำให้เรื่องนี้มีอารมณ์ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดมากกว่า
ด้วยความที่มนุษย์ในเรื่องนี้ยังไม่ไฮเทค อาวุธยุทโธปกรณ์เราก็บ้านๆ ทำให้พวกเขาดูอ่อนแอมาก จำเป็นต้องพึ่งพาหุ่นยนต์เอเลี่ยนนี่แหละครับ ในขณะที่สตาร์เทร็ค เราล้ำหน้ามีอาวุธล้ำๆเพียบ แถมยานก็วาร์ปได้ดั่งใจหวัง ส่วนยานในเรื่องนี้ ถ้าไม่ได้หุ่นยนต์ช่วยคงไม่ต้องคิดจะวาร์ป อันนี้ต้องลองไปดูเอง เพราะมันคือคีย์หนึ่งของเรื่องเลยล่ะ
สรุป
แม้ซีรีส์จะเต็มไปด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเรื่องราวดราม่าครอบครัวที่บางครั้งอาจสร้างความลำไยไปบ้าง แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคงเป็นด้านโปรดักชั่นที่คราวนี้คงต้องกล่าวชม Netflix ว่า ‘บ้าดีเดือดแท้ๆ’ ที่กล้าลงทุนมโหฬารชนิดที่ว่างานสเปเชียลเอฟเฟกต์ของซีรีส์ชุดนี้อาจดูดีกว่าหนังโรงบางเรื่องด้วยซ้ำ แต่จุดที่ Netflix ควรนำไปพิจารณาปรับปรุงจริงๆคือควรเลิกทำซีรีส์สนุกๆแค่ 10 ตอนได้แล้ว คราวหลัง เบิ้ลเป็น 20-30 ตอนไปเลย มันค้างคาสุดๆอ่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น