รีวิว Okja - โอคจา
Okja (ออกเสียงว่า โอคจา) เป็นหนังทุนสร้าง Neflix เรื่องก่อนหน้า Parasite ของผู้กำกับเกาหลี “บงจุนโฮ” (Bong Joon Ho) ที่พึ่งได้รางวัลจากลูกโลกทองคำ 2020 มาหมาดๆ ซึ่งความพิเศษของเรื่อง Parasite จนได้รางวัลนั่นเพราะหนังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตลกเสียดสีสังคมตรงไปตรงมามากที่สุดของผู้กำกับคนนี้เลยก็ว่าได้ รีวิว Okjaเรื่องย่อ
เรื่องราวในอนาคตอันใกล้นี้ที่วงการอาหารจะถูกต่อต้านจนตกต่ำลงจากเรื่องตัดต่อยีนส์ GMO ทั้งหลายเพื่อการค้า Okja คือชื่อหมูตัวนึงที่ถูกโฆษณาว่าเป็นหมูยักษ์จากธรรมชาติไม่ผ่านการดัดแปลงใดๆ ซึ่งเลี้ยงแบบปล่อยอิสระในหมู่บ้านชนบทโดยเด็กสาวคนนึงตั้งแต่ 4 ขวบจนเธออายุ 14 ถึงได้รู้ว่าโอคจาที่เธอรักสุดชีวิตเหมือนครอบครัวจะต้องกลายมาเป็นเหยื่อโฆษณาสร้างภาพให้บริษัทอาหารยักษ์ที่ครองโลกนี้อยู่ การเดินทางเพื่อช่วยเหลือโอคจาให้รอดจึงเกิดขึ้น พร้อมกับรับรู้เรื่องราวทุนนิยมแฝงความโหดร้ายสามานย์ผ่านการผจญภัยในเมืองใหญ่ที่เธอไม่เคยรู้จักมาก่อนOkja (ออกเสียงว่า โอคจา) เป็นหนังทุนสร้าง Neflix เรื่องก่อนหน้า Parasite ของผู้กำกับเกาหลี “บงจุนโฮ” (Bong Joon Ho) ที่พึ่งได้รางวัลจากลูกโลกทองคำ 2020 มาหมาดๆ ซึ่งความพิเศษของเรื่อง Parasite จนได้รางวัลนั่นเพราะหนังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตลกเสียดสีสังคมตรงไปตรงมามากที่สุดของผู้กำกับคนนี้เลยก็ว่าได้
ซึ่งถ้าใครเคยดูงานของผู้กำกับบงจุนโฮมาก่อน แม้อาจจะจำชื่อเขาไม่ได้ แต่ก็ต้องพอจำเอกลักษณ์ลายเซ็นต์เรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมที่เขาใส่ไว้ โดยมุ่งประเด็นไปที่คนจนด้อยโอกาส โดนแบ่งชนชั้นแบบจำใจยอมรับสภาพ กับต้องดิ้นรนหาทางถีบตัวเองให้รอด หรือขึ้นไปอยู่ในจุดเดียวกัน
ซึ่ง Parasite จะเป็นเรื่องราวที่เด่นชัดสุดในเรื่องนี้ แต่ว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ เขาได้สร้างเชื่อเสียงในระดับอินเตอร์จากการใส่ประเด็นพวกนี้มาตั้งแต่หนังสัตว์ประหลาด The Host ปี 2006 ที่แม้ว่าคนจะไปสนใจเอฟเฟ็กต์ CG ที่ถือว่าเนี๊ยบมากในยุคนั้นจนถึงตอนนี้ และก็เป็นหนังสัตว์ประหลาดจากเกาหลีที่เรียกว่าขึ้นหิ้งในระดับสากลโลก โดยไม่ใช่แค่ CG ที่ดี
แต่เรื่องราวในหนังมีประเด็นทางสังคมสอดแทรกไว้เนียนๆ ดีมาก โดยหนังเป็นเรื่องราวกลุ่มคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำที่ต้องออกช่วยคนในครอบครัวให้รอดจากสัตว์ประหลาดที่เกิดจากมลพิษโรงงาน และต่อมาด้วย Snowpiercer (เรื่องนี้มีในเน็ตฟลิกซ์แต่ติดโซนดูได้แค่อเมริกา) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบนรถไฟในโลกดิสโทเปียที่แบ่งแยกคนจากตู้โดยสารเป็นชนชั้นต่างๆ กัน
เรียกได้ว่างานของผู้กำกับบงจุนโฮจะต้องมีเรื่องพวกนี้ติดไปในหนังทุกเรื่องราวเสมอ และหนังของเขาก็ไม่ใช่แบบอินดี้ดูยาก แต่เป็นหนังที่ค่อนข้างแมสแทบทั้งนั้น แค่มากน้อยต่างกันไปแต่ละเรื่อง
ซึ่งโอคจาก็เป็นหนังที่ทำลง Netflix ให้คนดูในสตรีมมิ่งจนได้รับเสียงโจษจันจากงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2017 จากดราม่า “หนังน้ำดีแต่ไม่อาจมอบรางวัลให้ได้” เพราะแค่ไม่ใช่หนังที่สร้างมาเพื่อฉายโรงเท่านั้น (เป็นหนัง Netflix เรื่องแรกที่ทำออกมาฉายในระบบสตรีมมิ่ง พร้อมกับนำไปฉายในโรงเกาหลีใต้พร้อมกัน)
นี่เป็นหนังที่ดูแฟนตาซีแบบสมจริงไปในตัว อย่างที่ผู้กำกับว่าไว้ว่าไม่อยากให้คิดว่าเป็นหนังไซไฟแฟนตาซีอะไร เพราะสิ่งที่เขาเล่านี้ในอนาคตจะเป็นจริงได้แน่นอน ซึ่งหนังเล่าเรื่องได้ลื่นไหลน่าติดตามทั้งเรื่อง
พร้อมทั้งการแสดงที่สมบทบาทผสมโอเวอร์แอ็กติ้งของตัวร้าย ที่ดูเสียดสีวงการอาหารในคราบทุนนิยมสามานย์ที่ติดการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีออกสื่อตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เบื้องหลังหลอกลวงผู้บริโภคมาตลอด แบบสารคดี food inc (มีในเน็ตฟลิกแต่ติดโซนอเมริกาไม่มีซับไทย) ซึ่งโอคจาก็ทำมาคล้ายกัน ประเด็นเดียวกัน
ด้านเอฟเฟค
CG ตัวหมูยักษ์โอคจาเองก็ออกมาน่ารักน่าฟัด ดูสมจริงผสมกลมกลืนไปกับฉากต่างๆ ทั้งในป่าในเมืองได้เก็บรายละเอียดได้เนี๊ยบมาก แถมนักแสดงเด็กในเรื่องได้ก็เล่นคู่กับโอคจา CG ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติสมจริง จนเป็นหนังแนวสัตว์ประหลาดน่ารักที่ดูไปลุ้นไปไม่ให้มันต้องตกเป็นเหยื่อของวงการอาหารที่มีเบื้องหลังโหดร้ายทารุณมากแต่อย่างที่บอกไปนี่ไม่ใช่หนังใสๆ ตัวหนังเดินเรื่องไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งสมจริงกดดันคนดูมากขึ้นๆ มันไม่ใช่หนังที่จะดูแล้วแฮปปี้ได้นัก เพราะช่วงหลังคือการตีแผ่ความจริงที่แม้เราจะเห็นใจเจ้าหมูยักษ์นี้มาก แต่เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนความจริงของโลกใบนี้ได้ ในเรื่องนี้ไม่มีตัวร้ายที่สมบูรณ์แบบ และก็ไม่มีคนดีสมบูรณ์พร้อมในเรื่องนี้
รวมถึงแม้แต่ตัวเราเองก็เถอะที่ก็หนีไม่พ้นเป็นผู้สนับสนุนหลักให้มีการทารุณกรรมสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารอยู่ดี ซึ่งหนังตีแสกหน้าคนดูได้อย่างจัง แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะหดหู่จนดูไม่ได้ ยิ่งเป็นคนรักสัตว์ดูจบยิ่งรักหนังเรื่องนี้เข้าไปอีก แม้ว่าเราเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เราก็ช่วยกันแก้ไขทำให้โลกดีขึ้นได้ หนังแสดงให้เห็นมิตรภาพกับสัตว์ที่เป็นยิ่งกว่าคน แค่เขาพูดไม่ได้ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความรู้สึกเหมือนเราครับ
ประเด็นใหญ่ที่ไม่แตะไม่ได้คืออุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแม้ในหนังจะเป็นหมูยักษ์ที่ไม่ได้มีอยู่จริงในปัจจุบัน แต่สถานการณ์นั้นใกล้เคียงมากๆ ในเรื่องนี้เราจะได้เห็นความโหดร้ายทารุณของสัตว์ที่ต้องเผชิญชะตากรรมในห้องทดลองและโรงเชือด ที่พอดูแล้วอาจทำให้หลายคนไม่อยากกินเนื้อสัตว์อีกเลย หนังหยิบประเด็นนี้ขึ้นฉายให้เห็นกันชัดๆ จริงๆ และมันก็อดเจ็บใจไม่ได้เลยว่านี่เป็นภาพสะท้อนจากความจริง มีสัตว์อีกหลายชีวิตที่ต้องเผชิญความโหดร้ายแบบนี้จริงๆ ทั้งๆ ที่สัตว์แต่ละตัวก็มีความรู้สึก สุขได้ทุกข์ได้ แต่ก็ต้องมาเจออะไรแบบนี้ คิดแล้วหดหู่มากนอกจากเรื่องสภาวะไม่น่าอภิรมย์ของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ยังมีประเด็นเรื่องของลัทธิทุนนิยมและผลประโยชน์ทางธุรกิจด้วย แม้ว่าผู้บริโภคดูหนัง HDจะต่อต้าน GMO แต่ผู้บริโภคก็ยังโหยหาอาหารอร่อยๆ ราคาถูกอยู่ ความต้องการนี้บีบบังคับให้บริษัทจำต้องหาวิธีมาสนองอุปสงค์ดังกล่าว อย่างลูซี่ที่สร้างแคมเปญหลอกตาคนว่าหมูยักษ์เหล่านี้มาจากธรรมชาติ แท้จริงแล้วหมูยักษ์ก็มาจากห้องทดลองนั่นแหละ แต่ถ้าผู้บริโภครู้ ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อยอดขายของบริษัท ลูซี่จึงต้องเล่นละครฉากใหญ่ยาวนานถึง 10 ปี ให้ผู้คนเข้าใจไปเองว่านี่ไม่ใช่ผลพวงจากการทดลอง แต่เป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงตามธรรมชาติ
เสียดสีจิกกัดวงการสร้างอาหารของมนุษย์
โลกนี้มิใช่ของมนุษย์หรอก แต่มนุษย์ถือตนเป็นสัตว์ประเสริฐทรงภูมิปัญญามากกว่าสัตว์ชนิดใดบนโลก แม้ส่วนใหญ่จะบอกว่าตนนับถือพระเจ้า แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเล่นบทพระเจ้าเสียเองเช่นในกรณีนี้ มิรานโดลวงโลกว่าไม่ได้สร้างอาหารจีเอ็มโอที่ถูกผู้บริโภคตั้งข้อรังเกียจ แต่เป็นสัตว์สปีชีส์ใหม่ที่เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารในอนาคตอันใกล้ Super Pig หรือซูเปอร์หมูที่เตรียมแจกจ่ายหนังถ่ายทอดสดไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงหมูทั่วโลก ไม่ได้จิกแค่วงการคนสร้างอาหาร
แต่ยังพาลจิกไปถึงผู้บริโภคด้วย ขนาดนักชิมก็ไม่เว้น
ในขณะที่ตัวละครฝั่งคนเลี้ยงโอคจากลับกลายเป็นคนที่ดูปกติที่สุด พวกเขามีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ พยายามเลี้ยงดูโอคจา ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ธรรมชาติให้ดูธรรมชาติมากที่สุด มีจาเป็นสาวน้อยที่ไม่ได้รู้อะไรเลยว่าวันนึง โอคจาจะต้องกลับคือสู่เจ้าของเพื่อแปรเป็นอาหารให้กับมนุษยชาติ
หนังมีช่วงเวลาของฉากแอ็คชั่นในช่วงกลางเรื่องค่อนข้างเยอะพอสมควร สลับไปกับการจิกกัดวงการอาหารโลก ในระหว่างนั้น ภาพความเขียวขจีของธรรมชาติจะหดหายไป ไม่น่าเชื่อหนังพาเราไปสู่ความเศร้าซึมได้ในที่สุด น้ำตาซึมให้กับฉากสั้นๆ ที่ส่งความหดหู่ให้กับจิตใจของมนุษย์ผู้ชมหนังเรื่องนี้ได้อย่างประหลาด
เราเป็นทั้งผู้บริโภค ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราก็กินหมู เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ต้องขุนหมูให้โตขึ้นมาเพื่อให้มันกลายเป็นอาหารแก่เรา จนธุรกิจนี้ต้องเติบโตให้มากพอจะผลิตมันให้เท่ากับที่ชาวโลกต้องการ เราลืมธรรมชาติไป เพราะเราเชื่อว่าเราเจริญจนสร้างสิ่งที่เราเรียกว่าอาหารเองได้ แม้จะผ่านการตัดต่อพันธุกรรมแต่ถ้าราคามันถูก พวกเราก็ยินดีจะซื้อหามันมาบริโภคอยู่ดี
สรุป
นี่เป็นหนึ่งในหนังน้ำดีของผู้กำกับ Bong Joon Ho ที่งานค่อนข้างเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งในเรื่องความแมสในเรื่องราวที่ดูง่าย แต่มีประเด็นสอดแทรกให้คิดได้หลายชั้น แม้ว่าอาจจะไม่ได้ดีที่สุดถึงขั้นได้รางวัลแบบ Parasite แต่จากคะแนนเฉลี่ย 7.3 ในเว็บ IMDB กับเว็บมะเขือ 80% ขึ้น ก็ยืนยันได้ว่านี่เป็นหนัง Original Netflix ที่ควรค่าแก่การดูมากOkja จึงกลายเป็นหนังที่นอกจากความสนุกในเส้นเรื่องฝั่งการผจญภัยแล้ว ก็ยังสามารถทำให้ดูแล้วน้ำตาซึม และตะลึงในความมาไกลของหนัง จากช่วงต้นๆ ที่ซีนเป็นธรรมชาติ มีจาและโอคจาใช้ชีวิตอย่างรื่นรมย์ หนังพาตัวละครทั้งคู่ไปพบเจอเหตุการณ์ระทึกและโหดร้ายต่างๆ มากมาย ชนิดที่ว่ามีจาในตอนแรกก็คงไม่คิดเหมือนกันว่าตัวเองจะไปได้สุดขนาดนั้น แสดงให้เห็นเลยว่า แม้จะต่างสายพันธุ์ แต่ก็สามารถเกิดมิตรภาพที่แข็งแกร่งได้จริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น